ส่งเสียงชวา : การประกอบสร้างเรื่องราวของความเป็นชวาในพื้นที่ดนตรีไทย

Main Article Content

จารุวัฒน์ นวลใย
ชยุติ ทัศนวงศ์วรา

บทคัดย่อ

ดนตรีไทยมีเสียงของชวาปรากฏอยู่ ลักษณะของชวาในดนตรีไทยมีความพิเศษและเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวที่ซับซ้อนและเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการของดนตรีไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบายเรื่องราวของชวาและความเป็นชวาที่อยู่ในดนตรีไทย และอภิปรายกระบวนการประกอบสร้างชวาขึ้นจากองค์ประกอบทางดนตรีและองค์ประกอบแวดล้อมของดนตรี พบว่าระยะการก่อตัวของความเป็นชวาในดนตรีไทยมีลักษณะเป็น 2 ระยะ คือ ระยะดั้งเดิม ที่การรับรู้เรื่องชวาในสังคมดนตรีไทย ผ่านอิทธิพลของมลายูที่ได้รับการปะปนร่วมในพื้นที่ชาติพันธุ์แขก และประกอบขึ้นจากเครื่องดนตรี ปี่ชวา กลองแขก กระทั่งขยายตัวขึ้นไปเป็นวงดนตรี ปี่พาทย์นางหงส์ วงบัวลอย และวงกลองแขกเครื่องใหญ่ และ บทเพลงที่แสดงออกถึงความเป็นแขกชวาได้กำกับด้วยคีตวรรณกรรม กล่าวคือใช้คำร้องจากวรรณคดีอิเหนาซึ่งเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของชวา ระยะต่อมาคือระยะใหม่ หลวงประดิษฐไพเราะคือบุคคลสำคัญในการประกอบสร้างชวาด้วยปัจจัยหลัก คือ เพลงยะวา ซึ่งเป็นทำนองของราดรัง บิมา กูร์ดา และการนำเข้ามาของอังกะลุงได้สร้างการรับรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับชวา อย่างไรก็ตาม ภาพความเป็นชวาชัดขึ้นในระยะใหม่นี้แต่ก็แฝงเคลือบไปด้วยอิทธิพลของมลายูอยู่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญใจ คงถาวร และ สวภา เวชสุรักษ์. (2562). อิเหนา: ละครในของหลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 1-10.

ชยุติ ทัศนวงศ์วรา และ จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2563). แนวคิดเรื่องทาง: เอกลักษณ์ในสังคีตลักษณ์ไทย. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 185-210.

ชัยทัต โสพระขรรค์ และ พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์. (2558). กระบวนการเสียงของโทนรำมะนา. วารสารศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(2), 36-56.

ชัยพงษ์ สำเนียง (2564). ถอดรื้อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชาชาตินิยม บาดแผลและความทรงจำ. https://www.progressivemovement.in.th/article/5476/

ณันทิกา นทีธร และ เทพิกา รอดสการ. (2564). มโนทัศน์การจัดลําดับขั้นกลุ่มชาติพันธุ์ในเพลงไทยสําเนียงภาษา. Journal of Buddhist Education and Research, 7(2), 1-15.

ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. (2517). ความสัมพันธ์ของมุสลิมทางประวัติศาสตร์และวรรณคดี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยาม จากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. อ่าน.

ธีร์จุฑา เมฆิน. (2558). แนวคิดทางการเมืองแบบราชาชาตินิยมที่ปรากฏในนวนิยายของทมยันตี. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1-2), 25-46.

นรินทรเทวี, พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวง, และ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระฯ,(2526).จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310-2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ม.ป.พ.

นิติ ภวัคพันธุ์. (2558). ชวนถกชาติ และชาติพันธุ์. ศยาม.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2546). ดุริยางคศิลป์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันไทยศึกษา.

พลับพลึง คงชนะ. (2538). เจ้าพระยาบวรราชนายก กับ ประวัติศาสตร์สยาม. ศูนย์วัฒนธรรมสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน.

มนตรี ตราโมท และ วิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. โรงพิมพ์ไทยเขษม.

มนตรี ตราโมท. (2507). ศัพท์สังคีต. กรมศิลปากร.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2564). วิวาทะมานุษยวิทยา: วิถีทฤษฎีและวิธีวิทยา. ศยาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สหมิตรพริ้นติ้ง.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2561). ปริทัศน์หนังสือวงศาวิทยาของอิเหนา.งานวิจัยที่ช่วยอุดช่องว่างที่นักวรรณคดีมองข้าม (A Genealogy of Inao). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 10(1), 313-324.

วันชัย เอื้อจิตรเมศ และ พัชราภรณ์ เอื้อจิตรเมศ. (2562). รือบะ: ซอสามสายแห่งชายแดนใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(1), 160-179.

วิวัฒน์ ร้อยศรี และ ฟารุก ขันราม. (2561). มุสลิมชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา: การสำรวจเบื้องต้น. วารสารอยุธยาศึกษา, 13(1), 57-71.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563). ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมในโรงเรียน. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(2), 153-179.

ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (2564). ความเป็นพหุสังคมอยุธยากับวัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ตามรอยเสด็จประพาสต้นพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 179-188.

สงกรานต์ สมจันทร์. (2566). บททดลองเสนอว่าด้วยทฤษฎีดนตรีล้านนา. ใน สัญญา สะสอง (บรรณาธิการ), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3: ล้านนาศึกษา (หน้า 99-115). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

สุพรรณี กาญจนิษฐิติ. (2534). ปริทัศน์หนังสือ ศิลปะและวัฒนธรรมจากดินแดนอาหรับเมื่อแรกเข้าสยาม. วารสารเมืองโบราณ, 14(2), 112-116.

อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2565). เรื่องเล่าเจ้าสยามแห่งบันดุง: การลี้ภัยของราชวงศ์ไทยในอินโดนีเซีย หลังการปฏิวัติ 2475. https://www.the101.world/paribatra-sukhumbandhu-in-bandung

อัษฎาวุธ สาคริก. (2550). เครื่องดนตรีไทย. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

อัษฎาวุธ สาคริก และ อานันท์ นาคคง. (21 มิถุนายน 2562). “อุงคลุง” เครื่องดนตรีชวาที่หลวงประดิษฐไพเราะ พัฒนาเป็น “อังกะลุง”. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_34434

อิ่มทิพย์ ปัดตะโชติ ซูฮาร์โต. (2555). ตามรอย “รัชกาลที่ ๕” เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา.สำนักพิมพ์บัวสรวง.

อิ่มทิพย์ ปัดตะโชติ ซูฮาร์โต. (2558). เรื่องตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเยือนสิงคโปร์ ชวา และบาหลี พ.ศ.2472 ทรงเจริญพระราชไมตรีและทัศนศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ. สถาบันพระปกเกล้า.

อุดร หลักทอง. (2558). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนพหุวัฒนธรรม. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 37-45.

Boomgaard, P. (1992). Forest management and exploitation in Colonial Java, 1677-1897. Forest & Conservation History, 36(1), 4-14.

Dorivan, K., Theara, Y., Lina, Y., & Lenna, N. (1994). Traditional musical instruments of Combodia. UNESCO.

Eriksen, T. H. (2002). Ethnicity and Nationalism. Pluto Press.

Hughes, D. W. (1992). Thai music in Java, Javanese music in Thailand: Two case studies. British Journal of Ethnomusicology, 1(1), 17-30.

Jatuthasri, T.(2018). Inao of King Rama II: The transformation of the Panji stories into a masterpiece of Thai court drama literature. Journal of Archaeology and Fine Arts in Southeast Asia, 2, 1-12. http://dx.doi.org/10.26721/spafajournal.v2i0.576

Keyes, C. (2002). Presidential address: “The peoples of Asia”-Science and politics in the classification of ethnic groups in Thailand, China, and Vietnam. The Journal of Asian Studies, 61(4), 1163-1203.

Matusky, P., & Chopyak, J. (2008). Peninsular Malaysia. In T. E. Miller & S. William (Eds.), The Garland Handbook of Southeast Asian Music (pp. 222-246). Psychology Press.

Moro, P. (2004). Constructions of Nation and the classification of music: Comparative perspectives from Southeast and South Asia. Journal of Southeast Asian Studies, 35(2), 187-211.

Nasuruddin, M. G. (1992). The Malay traditional music. Dewan Bahasa dan Pustaka.

Nasuruddin, M. G. (1995). Malaysia. In R. P. Santos (Ed.), The Music of ASEAN (pp. 101-138). Island Graphic.

Reynolds, E. B. (2004). Phibun Songkhram and Thai nationalism in the fascist era. European Journal of East Asian Studies, 3(1), 99-134.

Wallaschek, R. (1893). Primitive music: An inquiry into the origin and development of music, songs, instrument, dances, and pantomimes of savage races. Longmans, Green, and Company.