คนจีนโพ้นทะเลกับอัตลักษณ์ชายขอบในกวีนิพนธ์ขนาดสั้นของเจิงซิน

Main Article Content

รัชกฤช วงษ์วิลาศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาอัตลักษณ์ของชาวจีนโพ้นทะเลที่ถูกนำเสนอผ่านกวีนิพนธ์ขนาดสั้นของเจิงซิน โดยใช้แนวคิดเรื่องคนชายขอบเป็นแนวคิดหลักในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า กวีนิพนธ์ขนาดสั้นของเจิงซินได้ถ่ายทอดให้เห็นอัตลักษณ์ชายขอบของชาวจีนโพ้นทะเลในสังคมไทยหลายประเด็น เช่น ความโหยหารากเหง้า ความเป็นลูกผสม การถูกมองข้ามความสำคัญ ภาวะไร้เสียง และความโหยหาเสรีภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า กวีพยายามจะปลดเปลื้องตนเองออกจากความเป็นชายขอบ ผ่านการแสดงให้เห็นคุณสมบัติร่วมของคนจีนโพ้นทะเลกับค่านิยมกระแสหลักของสังคมไทย ได้แก่ ความเชื่อ ทางพุทธศาสนา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงษ์วิลาศ ร. (2023). คนจีนโพ้นทะเลกับอัตลักษณ์ชายขอบในกวีนิพนธ์ขนาดสั้นของเจิงซิน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 342–371. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.43
บท
บทความวิจัย

References

คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2558). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. มติชน.

ชุติมา ประกาศวุฒิสาร. (2554). ก่อร่างสร้างเรื่อง: เรื่องเล่า อัตลักษณ์ และชุมชนในวรรณกรรมสตรีชายขอบ. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ชุติมา ประกาศวุฒิสาร. (2560). ชายขอบในวรรณกรรม. ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บรรณาธิการ), วรรณคดีทัศนา 1 วรรณกรรมกับสังคม (น. 51-65). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพินกานต์ แสงอนันต์. (2552). การศึกษาวรรณกรรมเรื่องสั้นของเจินซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

เบเนดิก แอนเดอร์สัน. (2552). ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (กษิร ชีพเป็นสุข และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ และ ผู้แปล). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1983)

พิณทิพย์ จึงจำเริญกิจ. (2552). ภาพลักษณ์ของสตรีภายใต้ความหลากหลายและวัฒนธรรมที่กลมกลืนในบทประพันธ์ของเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ภัทรธิดา โลหะวิจิตรานนท์. (2552). ศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องสั้นของซือหม่ากงและเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

วันวิสาข์ มังกรไพบูลย์. (2555). การศึกษาภาพลักษณ์ผู้สูงอายุในเรื่องสั้นขนาดสั้นของเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ศิริวรรณ เจริญธรรมรักษา. (2555). การศึกษาเรื่องสั้นขนาดสั้นเชิงสัจนิยมของเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2555). กบฏจีนจน “บนถนนพลับพลาไชย”. มติชน.

สันติ เล็กสกุล. (2561). ผู้ไร้เสียง: คำยืนยันของ คายตรี จักรวรตี สปีวาก. Illuminations Editions.

สุราช โศจิศิริกุล. (2554). ศึกษากวีนิพนธ์ขนาดเล็กของเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สุริชัย หวันแก้ว. (2546). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

หลูอวี้ฝู. (2556). การศึกษาจินตภาพบทกวีของเจิงซิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Li, M. 李明峰. (2011). 曾心散文研究 [硕士学位论文]. 华侨大学.

Wang, K., & Zeng, X. 王珂, 曾心. (2021). 建设一个享誉世界的小诗社——泰华小诗磨坊成立十五年访问召集人曾心. 世界华文文学论坛, (3), 106-112.

Xu, A. 许爱联. (2012). 曾心文学创作与80年代以来泰华文学思潮 [博士学位论文]. 吉林大学.

Zeng, X. 曾心. (2013). 曾心小诗一百首. 留中大学出版社.