การเปรียบเทียบแนวคิดของลัทธินมัสการพระเจ้าของหงซิ่วเฉวียนกับหลักคำสอนคริสต์ศาสนา

Main Article Content

ธวัชชัย ชัยชนะกิจพงษ์
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดทางศาสนาของหงซิ่วเฉวียนกับหลักคำสอนศาสนาคริสต์ตามพระคริสตธรรมคัมภีร์  โดยศึกษาจากบันทึกหลักคำสอนศาสนาคริสต์ฉบับแปลภาษาจีน เชวี่ยนซื่อเหลียงเหยียน (劝世良言) บันทึกหยวนเต้าจิ้วซื่อเกอ (原道救世歌) คัมภีร์ซานจื้อจิง ฉบับไท่ผิงเทียนกั๋ว (太平天国三字经)  บันทึกไท่ผิงเทียนรื่อ (太平天日) บันทึกชินติ้งเฉียนอี๋เจ้าเซิ่งซู พระธรรมยอห์นฉบับแรก (钦定前遗诏圣书·约翰上书) และบันทึกไท่ผิงเทียนกั๋วสื่อเลี่ยว (太平天国史料) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด โดยผลการวิจัยสามารถแยกเป็นประเด็นดังนี้ ด้านตรีเอกานุภาพ บันทึกได้กล่าวถึงพระบิดา พระคริสต์ผู้เป็นพี่ชาย และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนศาสนาคริสต์ที่กล่าวถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้า พระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพระจิต ส่วนด้านการมีรูปร่างและไร้รูปร่าง พบว่าความเข้าใจของลัทธินมัสการพระเจ้าได้สร้างพระผู้เป็นเจ้าขึ้นมาเป็นรูปร่างในแบบเทวนิยม ซึ่งจะแตกต่างจากหลักคำสอนทางศาสนาคริสต์โดยบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าวชัดเจนถึงพระผู้เป็นเจ้าได้สนทนากับมนุษย์ผ่านพระสุรเสียงของพระองค์เท่านั้น ทั้งนี้ความแตกต่างนี้มาจากกลุ่มผู้นำที่ตีความพระคัมภีร์คลาดเคลื่อน ซึ่งสาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นได้ตามทฤษฎีการตีความที่เน้นการตีความไปที่ผู้อ่านในพระคัมภีร์ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาความสมบูรณ์แบบได้ในตัวเอง ครั้นเมื่อตีความมากเกินขอบเขต จึงเป็นตัวแปรทำให้ลัทธินมัสการพระเจ้ามีแนวคิดที่แตกต่างไปในช่วงปลายของขบวนการไท่ผิง เพราะกลุ่มผู้นำขบวนการจงใจสร้างบทบาทของตัวเองให้เป็นรูปแบบเทวนิยม เพื่อปกป้องอำนาจของขบวนการเท่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชัยชนะกิจพงษ์ ธ., & นุ่มทอง ก. (2024). การเปรียบเทียบแนวคิดของลัทธินมัสการพระเจ้าของหงซิ่วเฉวียนกับหลักคำสอนคริสต์ศาสนา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(1), 306–324. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267451
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวดี เจนสิริผล. (2563). ไท่ผิง - ทงฮัก: การเคลื่อนไหวของประชาชนในราชวงศ์สุดท้ายของจีนและเกาหลี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University.

พนารัตน์ จันทร์สิทธิเวช. (2559). การวิเคราะห์การตีความหลักพุทธธรรมของเชอเกียม ตรุงปะ, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 154-166.

เพ็ญศรี กาญจโนมัย. (2523). กบฏไถ้ผิง ต้นตระกูลของการปฏิวัติมวลชนโดยพลังชาวนาจีน.วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(6), 30-42.

Ge Fuping 葛夫平. (1979). 近代史资料, 中国社会科学院近代史研究所. 中华书局.

Hu Chenyou, & Cui Zhiqing胡臣友, 崔之清. (1994), 洪秀全评传, 中国思想家评传丛书. 南京大学出版社.

Platt, S. R. (2012). Autumn in the Heavenly Kingdom: China, the West, and the Epic Story of the Taiping Civil War. Vintage.

Tang Weiting 唐玮婷. (2016). 西方传教士的太平天国观 (1853-1864) [硕士学位论文]. 吉林大学.

Wu Tong 吴彤. (2020). 论太平天国拜上帝教的创立. 同方知网 (北京) 技术有限公司. https://doi.org/10.19832/j.cnki.0559-8095.2020.0060

Zhang Guoqiang 张国强. (2019). 太平天国的宗 教传播研究 [硕士学位论文]. 重庆大学.