กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย : แนวคิดเรื่องการสืบสรรค์กับการสร้างงานของกวี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติความสัมพันธ์ของการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยของกวีไทยกับแนวคิดเรื่องการสืบสรรค์ (creative perpetuation) และกระบวนการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ของกวีร่วมสมัยที่สืบรากฐานสำคัญมาจากขนบวรรณศิลป์ไทยแต่อดีต โดยศึกษาจากผลงานของกวีไทยร่วมสมัยช่วงปี 2516 ถึงปี 2561 เป็นตัวแทนของยุคสมัย ผลการศึกษาพบว่ากวีไทยร่วมสมัยสร้างสรรค์ผลงานจากการผ่านการเรียนรู้ และสั่งสมปรากฏเป็นปฏิบัติการทางวรรณศิลป์ที่มีมิติความสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องการสืบสรรค์ โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ด้วยการนำขนบวรรณศิลป์ของไทยมาเป็นรากฐานในการสร้างงานหลากหลายมิติ เช่น การนำฉันทลักษณ์มาสืบสรรค์เป็นตัวบทใหม่ ซึ่งมีทั้งการสืบทอดฉันทลักษณ์เดิม การสร้างสรรค์ฉันทลักษณ์ขี้นใหม่ และการนำฉันทลักษณ์เดิมมาปรับใช้ใหม่ การนำเนื้อหาหรือเหตุการณ์จากวรรณคดีหรือตัวละครมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ การดัดแปลง การปรับเปลี่ยน การล้อเลียน การปะติดความ การตีความใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างสรรค์ในกระบวนการสืบทอดหรือการสืบสรรค์จากการนำขนบวรรณศิลป์มาปรับใช้หรือสร้างเป็นตัวบทใหม่เพื่อสื่อความคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับบริบทใหม่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กานติ ณ ศรัทธา. (2541). ลิลิตหล้ากำสรวล. แพรวสำนักพิมพ์.
คมทวน คันธนู. (2524). นาฏกรรมบนลานกว้าง. ดอกหญ้า.
คมทวน คันธนู. (2526). กำสรวลโกสินทร์. อาทิตย์.
เชษฐภัทร วิสัยจร. (2548). บนหมอนรองรางรถไฟฟ้า. นานมีบุคส์.
เชษฐภัทร วิสัยจร. (2549). สงครามศักดิ์สิทธิ์. นานมีบุ๊ค.
เชษฐภัทร วิสัยจร. (2556). กวีนิราศแฟนตาเซีย. 340.
โชคชัย บัณฑิต (2558). บ้านเก่า (พิมพ์ครั้งที่ 10). 340.
นิตยา แก้วคัลณา. (2561). การสืบสรรค์ในกวีนิพนธ์ไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2523). เพียงความเคลื่อนไหว (พิมพ์ครั้งที่ 2). เรือนแก้วการพิมพ์.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). คำหยาด (พิมพ์ครั้งที่ 4). ก. ไก่.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2530). ชักม้าชมเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). การเวก.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2520). หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า, กรมพระ. (2514). ลิลิตตะเลงพ่าย. บรรณาคาร.
ประชุมสุภาษิตสอนหญิง. (2555). กรมศิลปากร.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2535). ฤดีกาล. ประพันธ์สาส์น.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2548). ม้าก้านกล้วย (พิมพ์ครั้งที่ 22). แพรวสำนักพิมพ์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (บรรณาธิการ). (2554). 80 ปี อังคาร กัลยาณพงศ์. ชมนาด.
แรคำ ประโดยคำ. (2533). ลานชเล. ต้นอ้อ.
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ. (2535). มือนั้นสีขาว (พิมพ์ครั้งที่ 2). ย่ามหนังสือ.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2528). เสภาเบ็ดเตล็ด. ศิลปวัฒนธรรม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กลอนกัมปนาท. ศิลปวัฒนธรรม.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2513). กวีนิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศึกษิตสยาม.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2521). บางกอกแก้วกำศรวลหรือนิราศนครศรีธรรมราช. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2535). ราชสดุดี มิ่งขวัญประชาธิปไตย. กองทุนเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ร่วมกับกองทุนโครงการรวมทุนน้ำใจไทย.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2542). กวีศรีอยุธยา. เคล็ดไทย.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2547). ลำนำภูกระดึง (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศยาม.
อังคาร จันทาทิพย์. (2554). วิมานลงแดง. ดับเบิ้ลนายน์.