รูปแบบการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปริวรรต สมนึก
พัชรี ธานี
กันยรัชนิ์ ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งเสนอรูปแบบการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จำนวน 30 คน นักท่องเที่ยวทดลอง 30 คน และนักท่องเที่ยว 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก ได้สร้างขึ้นเป็นแบบผสมผสานที่รวมเอาทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน โดยแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง อีกทั้ง มีกิจกรรมที่หลากหลายที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวได้ 2 รูปแบบ คือ สำหรับ 3 วัน 2 คืน และสำหรับ 1 วัน โดยแบ่งได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) ธรณีสัณฐานจิตวิญญาณแม่น้ำโขง 2) จากแสงแรกแห่งสยามสู่เขตคามไดโนเสาร์ และ 3) ประวัติศาสตร์ผาแต้มสี ธรณีภูพร้าว วัดเรืองแสง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2555). อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก. กรมทรัพยากรธรณี. http://www.dmr.go.th

เฉลิมเกียรติ นวลปาน และ สืบพงศ์ สุขสม. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาอุทยานธรณีสตูล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 327-342.

ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกตำรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ.

ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2546). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ, ฝ่ายตรวจติดตามและประเมินผล. (2564). รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” อุทยานธรณีขอนแก่น (Khon Kaen Geo park). องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

พวงพรภัสสร์ วิริยะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามแนวเส้นทางท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์ค อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 225-243.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิชชุตา ให้เจริญ. (2565). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 4(2), 106-120.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ, ประทีป พืชทองหลาง, สหัทยา วิเศษ, และ ปาณิสรา เทพรักษ์. (2565). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามความเชื่อของวัดท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(3), 500-512.

สุภาวดี ทวีบุรุษ. (2561). ศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงธรณีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณี จังหวัดสตูล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิสริยา เลาหตีรานนท์. (2552). ทรัพยากรการท่องเที่ยว. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. http://legacy.orst.go.th/

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

Eshete, S. K., Teressa, D. K., Wubie, W. K., & Sharma, S. (2020). Influences of marketing mix elements on ecotourism clientele - Jimma Zone, southwest Ethiopia. Journal of Indonesian Tourism and Development Studies, 8(3), 190-198.

Khakim, M. N. L., Insani, N., Anggraeni, R. M., & Lailah, E. T. N. (2020). Review of tourism geography to preservation of Barong Ider Bumi cultures in Banyuwangi regency Indonesia. Journal of Indonesian Tourism and Development Studies, 8(3), 124-130.

Lee, G. H., & Han, H. S. (2019). Clustering of tourist routes for individual tourists using sequential pattern mining. The Journal of Supercomputing, 76, 5364-5381.

Sari, A. N., Bhaskara, C., & Bimantara, A. (2020). The suitability of mangrove ecotourism based on its biophysical condition in Hamadi beach, Jayapura city. Journal of Indonesian Tourism and Development Studies, 8(3), 131-137.

Vu, H. D., Nguyen, N. T. P., Ngo, Y. T. H., & Le, T. D. (2022). Geotourism current state and future prospects: A case study in the Cao Bang Unesco Global Geopark, Vietnam. GeoJournal of Tourism and Geosites, 43(3), 1063-1070.

Wulung, S. R. P., Putra, R. R., Permadi, R. W. A., & Maulana, M. L. (2020). Concentration-dispersal strategies to assist geotourism destination planning: A case study of Ciletuh-Palabuhanratu UNESCO Global Geopark. Journal of Indonesian Tourism and Development Studies, 8(3), 156-164.