กลวิธีการแปลคำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในนวนิยาย : กรณีศึกษา เรื่อง A Single Thread ของ Tracy Chevalier

Main Article Content

ณัฐวดี ก้อนทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาคำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาในนวนิยาย เรื่อง A Single Thread กลวิธีการแปล และความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการแปลกับการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาในสังคมไทย การแบ่งประเภทคำทางศาสนาปรับใช้แนวคิดของ Newmark (1988) และ Inphen (2020) ส่วนกลวิธีการแปลใช้แนวคิดของ Newmark (1988) และ Baker (2018) ผลการวิจัยพบคำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา 4 ประเภท ได้แก่ วัตถุ สถานที่ พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา และบุคคล ด้านกลวิธีการแปลพบ 9 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำแปลที่ได้รับการยอมรับ การแปลตรงตัว การใช้คำยืมหรือคำทับศัพท์และเพิ่มคำอธิบาย การใช้คำยืมหรือคำทับศัพท์ การอธิบายความ การใช้คำที่มีความหมายกว้าง การใช้คำเทียบเคียงทางวัฒนธรรม การละไม่แปล และการใช้กลวิธีการแปลผสมกัน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการแปลกับการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาในสังคมไทย พบว่าการใช้คำแปลที่ได้รับการยอมรับสอดคล้องกับคำที่  ใช้จริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชน ส่วนคำที่มีความคล้ายคลึงหรือเหลื่อมทางวัฒนธรรมหรือเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทย ใช้กลวิธีการแปลตรงตัว การอธิบายความ การใช้คำที่มีความหมายกว้าง การใช้คำยืมหรือคำทับศัพท์ และการใช้คำเทียบเคียงทางวัฒนธรรม ในขณะที่คำที่กล่าวถึงรายละเอียดชี้เฉพาะจะใช้คำยืมหรือคำทับศัพท์และเพิ่มคำอธิบาย ในการแปลคำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในนวนิยาย ผู้แปลควรศึกษาว่ามีคำแปลที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ และพิจารณาความคล้ายคลึงหรือเหลื่อมทางวัฒนธรรมของสังคมที่ใช้ภาษาต้นฉบับและฉบับแปลเพื่อเลือกใช้กลวิธีการแปลอย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ก้อนทอง ณ. (2023). กลวิธีการแปลคำที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในนวนิยาย : กรณีศึกษา เรื่อง A Single Thread ของ Tracy Chevalier . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 435–463. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.19
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เชวาเลียร์, ที. (2564). เพียงหนึ่งไจเดียว (รสวรรณ พึ่งสุจริต, ผู้แปล). ไลบรารี่ เฮ้าส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2020).

แดงต้อย มาลาสิทธิ์. (2549). อิทธิพลของพระคัมภีร์ไบเบิลต่อภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปศาสตร์, 6(2), 15-36.

ปวิช เรียงศิริ. (2562). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมประเภทคำนามและนามวลีจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาเรื่อง สิบปีในสวนโมกข์ แต่งโดย พุทธทาสภิกขุ. ใน มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน, รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 10 วิจัยและนวัตกรรม นำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (น. 172-180). มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (ม.ป.ป.). ทำไมชาวคาทอลิกจึงใช้น้ำเสก. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566, จาก http://www.kamsonbkk.com/catholic-catechism/2012-02-15-07-27-46/419-2012-04-04-02-37-42

แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (ม.ป.ป.). ทำไมจึงมีการใส่ถุงทานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566, จากhttp://www.kamsonbkk.com/interesting-catechism/2012-02-15-07-27-46/2472-007

พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. (2555). การแปลสิ่งทดแทนทางวัฒนธรรมจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรรณี ภาระโภชน์. (2555). การแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมในนวนิยายเรื่อง “Memoirs of a Geisha”. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 31(1), 5-17.

วราพัชร ชาลีกุล, และ สานุช เสกขุนทด ณ ถลาง (2562). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. วารสารวจนะ, 7(1), 1-20.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565, จาก https://coined-word.orst.go.th/

ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสถิติ: เครือข่ายศาสนสถาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566, จาก https://e-service.dra.go.th/chart_place_page/search-place-province?province=0&religion=3

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2548). พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย-อังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

สิทธา พินิจภูวดล. (2564). คู่มือนักแปลอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2549). การแปลขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2561). แปลผิด แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล: ไทย-อังกฤษ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัค โห้พึงจู. (2557). การแปลตัวบทที่แฝงนัยทางวัฒนธรรมในบทละครเรื่อง คน็อก ของฌูลส์ โรแมงส์. วารสารศิลปศาสตร์, 14(2), 63-84.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลวัด และ พระทั่วประเทศ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566, จาก https://www.onab.go.th/th/page/item/index/id/1

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/religion/SurveyOnConditions/2018/Full%20Report.pdf

เสมียนอารีย์. (12 กันยายน 2565). ย้อนอดีตการตีระฆังของพระสงฆ์ และมูลเหตุการทำระฆังเล็กถวายวัด มีที่มาจากไหน? ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_74014

Aungsuwan, W. (2017). Translation Strategies and Thai Identities in the English Translated Versions of Thai Buddhist Books: The Case Study of Good Kids Stories with V. Vachiramedhi. SSRN Electronic Journal. http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2980639

Baker, M. (2005). In Other Words: A Coursebook on translation. Routledge.

Baker, M. (2011). In Other Words: A Coursebook on translation (2nd ed.). Routledge.

Baker, M. (2018). In Other Words: A Coursebook on translation (3rd ed.). Routledge.

Chevalier, T. (2020). A Single Thread. HarperCollins.

Garcia, N. C. (2021). Cultural Practices as Forms of Resilience and Agency in Tracy Chevalier’s “A Single Thread”. OCEANIDE, 14, 33-40.

Inphen, W. (2020). A dominant global translation strategy in Thai translated novels: The translations of religious markers in Dan Brown’s thriller novels. Manusya: Journal of Humanities, 23, 286-304.

Jocuns, A. (2016). Discourses of tourism in Thailand: The nexus of religion, commodification, tourism, and “other-ness”. Journal of Liberal Arts, 16(2), 219-236.

Larson, M. (1984). Meaning-Based Translation: A guide to cross-language equivalence. University Press of America.

Maasoum, S. M. H., & Davtalab, H. (2011). An Analysis of Culture-specific Items in the Persian Translation of "Dubliners" Based on Newmark's Model. Theory and Practice in Language Studies, 1(12), 1767-1779.

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. Prentice Hall.

Newmark, P. (1995). A Textbook of Translation. Phoenix ELT.

Nida, E. A, (1964). Toward a Science of Translating. E. J. Brill.

Oxford Learner’s Dictionaries. (n.d.). Oxford Learner’s Dictionaries. Retrieved November 15, 2022, from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/

Wongseree, T. (2021). Translation of Thai Culture-Specific Words Into English in Digital Environment: Translators’ Strategies and Use of Technology. rEFLections, 28(3), 334-356.

Tiwiyanti, L., & Retnomurti, A. B. (2016). Loss and Gain in Translation of Culture-Specific Items in Ahmad Tohari's Lintang Kemukus: A Semantic Study. Lingua Cultura, 11(1). 1-6. http://dx.doi.org/10.21512/lc.v1li1.1820