การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ฐิติมา เวชพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรม เปรียบเทียบผลก่อนและหลังเสริมสร้างแรงจูงใจ และนำเสนอแนวทางการนำกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของครู ไปขยายผลสู่กลุ่มเครือข่าย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายจาก 2 โรงเรียนมีครูสมัครใจ 20 คน ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาฯ 3 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรม มี 6 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์ตนเอง วางแผน ดำเนินกิจกรรม สะท้อนผล ต่อยอดความรู้และถอดประสบการณ์ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการเสริมสร้างแรงจูงใจฯ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของผู้ร่วมวิจัยหลังการเสริมสร้างแรงจูงใจฯ สูงขึ้นโดยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.93 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทำวิจัยเท่ากับ 3.84 และคะแนนเฉลี่ยหลังการทำวิจัย เท่ากับ 4.28 3) แนวทางนำกิจกรรมไปใช้พบว่า เริ่มจากงานที่ปฏิบัติต้องเป็นงานที่ครูมีความสนใจมุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีความก้าวหน้าในการทำงาน ให้การยอมรับนับถือระหว่างกัน และมุ่งความสำเร็จในงาน มีการสนับสนุนจากผู้บริหาร บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานภายนอกโรงเรียน โดยได้ทดลองนำแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานฯ ไปขยายผล พบว่ากิจกรรมสร้างแรงผลักดันให้ครูเห็นความสำคัญจากภายในตนเอง จนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาการทำงานได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เวชพงศ์ ฐ. (2023). การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 141–161. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.36
บท
บทความวิจัย

References

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, พรทิพย์ อ้นเกษม, อภิชาติ อนุกูลเวช, และ ดาวประกาย ระโส. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก : ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1) , 315-329.

ชมชื่น สมประเสริฐ. (2542). รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพยาบาล[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติกาญจน์ สลาหลง. (2563). ความต้องการและความคาดหวังในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา จงดี. (2560). แรงจูงใจตามทฤษฎี ERG และความผูกพันองค์กรของพนักงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา บริษัทผลิตรถเด็กเล่นแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. Intellectual Repository at Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

พงศ์ภัทร์ สุภประเสริฐพง. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดเทศบาลเมืองจังหวัดสระบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

พรศิลป์ ศรีเรืองไร. (2553). การศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ลัดดาวัลย์ ทองดอนจุย. (2562). แรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมชาย ยอดเพชร. (2556). การนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2547). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวคิด และแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). วนิดาการพิมพ์.

ศิริรัตน์ ทองมีศรี. (2556). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ลักษณะงานของครู และแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์, และ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2542). รายงานการวิจัยฉบับที่ 70 การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจภายใน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.

อรพินทร์ ชูชม, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, และ อัจฉรา สุขารมณ์. (2546). รูปแบบการพัฒนาตนเพื่อเพิ่มพลังจูงใจในการทำงาน:กรณีครูประถมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ฉบับปริทัศน์, 9(1), 1-15.

อรพินทร์ ชูชม. (2555). แรงจูงใจใน การทํางาน: ทฤษฎีและการประยุกต์. วารสารจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 2(2), 52-61.

Kemmis, S. (2008). Critical theory and participatory action research. In P. Reason & H. Bradbury (Eds.), The SAGE Handbook of action research (pp. 121-138). SAGE.

Maslow, A. (1954). Motivation and personality. Harper & Row.

Utomo, H. B. (2018). Teacher motivation behavior: The importance of personal expectations, need satisfaction, and work climate. IJPTE International Journal of Pedagogy and Teacher Education, 2(2), 333-341.

Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. Wiley.