“ราโชมอน” และ “จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล” : วรรณกรรมแปล ที่ทรงพลังของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

Main Article Content

Truong Thi Hang

บทคัดย่อ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักปราชญ์ของเมืองไทยที่มีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ทั้งในการเป็นนักธนาคาร นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในฐานะที่เป็นนักเขียน ผลงานประพันธ์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีจำนวนมากและเป็นที่ยอมรับว่าเขาประสบความสำเร็จในวรรณกรรมทุกประเภทที่เขียน สำหรับผลงานด้านการแปลนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แปลวรรณกรรมไว้สองเรื่องคือ “ราโชมอน” และ “จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล” บทความชิ้นนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวคิดและปรัชญาชีวิตที่แฝงซ่อนอยู่ในวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งประเล้าประโลมใจที่ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แปลผลงานทั้งสองมาเป็นภาษาไทย


บทละครเรื่อง “ราโชมอน” สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซามูไรเคยได้รับทั้งเกียรติ อำนาจ และอภิสิทธิ์เหนือชนชั้นอื่น ๆ ในสังคม แต่เมื่อชนชั้นกลางของญี่ปุ่นเริ่มเติบโตขึ้น ทำให้มีอำนาจทางการเงินและทางสังคมมากขึ้น ชนชั้นซามูไรก็เริ่มเสื่อมอำนาจและด้านมืดของซามูไรก็ค่อย ๆ ถูกเปิดเผยออกมา ตัวละครซามูไรในเรื่องเป็นคนขี้ขลาดและฝีมือในการต่อสู้ก็อยู่ในระดับที่ย่ำแย่ แต่เขากลับชอบแสดงความองอาจ การมีอำนาจเหนือคนอื่น และสนใจแต่การรักษาภาพลักษณ์ทางสังคม วรรณกรรมเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงทวิภาวะซึ่งเป็นหลักสำคัญในการสร้างตัวละครตลอดทั้งเรื่อง ภรรยาซามูไรมีรูปลักษณ์ที่สวยงามและบอบบาง อันสื่อถึงความอ่อนแอและความบริสุทธิ์ของหญิงผู้ดีคนหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเพียงลูกสาวคนครัว และไร้ซึ่งคุณสมบัติของภรรยาที่ดี ตาโจมารุเป็นจอมโจรที่มีแต่ชื่อ เพราะเป็นคนขี้ขลาดและไร้ฝีมือในการสู้รบ คนตัดฟืนแม้จะเป็นคนขี้โกหก เป็นขโมย แต่ก็เป็นคนมีน้ำใจและมีความเมตตา ขณะที่การอ่าน “จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล” ทำให้มีกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองและในการประกอบกิจอันเป็นกุศลแก่เพื่อนร่วมโลก จอนะธัน นกนางนวลที่เป็นตัวละครเอกได้ค้นพบความหมายที่แท้จริงของการดำรงชีพ ทำให้เขาได้สัมผัสกับบรรยากาศใหม่ และประสบการณ์ใหม่ การตระหนักในพลานุภาพของจิตทำให้ตัวละครบังเกิดความปีติและสามารถปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระจากขอบเขตบางอย่างที่คับแคบ วรรณกรรมเรื่องนี้ยังให้บทเรียนเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนจุดสนใจที่จะทำให้มีสมาธิอย่างเต็มที่กับเป้าหมายหลัก ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับคุรุภาวะที่กอปรด้วยความเมตตากรุณา ความอ่อนน้อมถ่อมตน จิตอันเป็นกุศล และที่สำคัญคือบทเรียนที่คุรุที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือคุรุที่อยู่ภายในตัวของแต่ละบุคคล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2544). นิกายเซน. ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2549). บันเทิงเริงรมย์. นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2553). หลายชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 12). ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2561). ฉากญี่ปุ่น (พิมพ์ครั้งที่ 6). ดอกหญ้า 2000.

โจเซฟ แคมพ์เบลล์ และ บิลล์ มอยเยอร์ส. (2551). พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม (พิมพ์ครั้งที่ 2) (บารนี บุญทรง, ผู้แปล). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2516). แนะนำและวิจารณ์หนังสือ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 13(3), 390-391.

บารนี บุญทรง. (2561). ชีวิตและคุณูปการของโจเซฟ แคมพ์เบลล์ ต่อการศึกษาเทพปกรณัม. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประจักษ์ สายแสง และ Truong Thi Hang. (2560). ทวิภาวะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(1), 1-36. https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/589/pdf_222

เพลโต. (2555). เพลโต ซิมโพเซียม (กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ริวโนสุเกะ อากิตางาวะ. (2543). ราโชมอน (คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., ผู้แปล). ดอกหญ้า 2000.

ริชาร์ด บาค. (2544). จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล (คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., ผู้แปล). ดอกหญ้า 2000.

ละครราโชมอน. (13 ตุลาคม 2559). สยามรัฐออนไลน์. https://siamrath.co.th/c/4084

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. มหามกุฎราชวิทยาลัย.

อาทร ฟุ้งธรรมสาร. (2528). วิเคราะห์เรื่อง ‘ในป่าละเมาะ’ ของอากุตางาว่า ริวโนะสุเกะ In The Grove. วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์, 2(5), 81-92.

แอลดัส ฮักสลีย์. (2556). ปรัชญาอมตะ (กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.

Buddhadharm. (3 มกราคม 2524). สิ่งประเล้าประโลมใจในฐานะเป็นปัจจัยที่ห้า โดยพุทธทาส อินฺทปญฺโญ ชุด : ปัญหาแห่งมนุษยภาพ ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ภาคมาฆบูชา 2524 สวนโมกขพลาราม. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=Vt_-O3n50ic