ชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” : ภาพสะท้อนความคิดเกี่ยวกับบุญในสังคมไทย

Main Article Content

อำนาจ ปักษาสุข

บทคัดย่อ

ความคิดเรื่อง “บุญ” เป็นความคิดสำคัญตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยในปัจจุบันความคิดเรื่องบุญดังกล่าวมีการถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย ทำให้คนในสังคมเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบุญที่หลากหลาย ทั้งนี้หนังสือธรรมะเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้ถ่ายทอดความคิดเรื่องบุญ โดยในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” โดยพิจารณากลวิธีทางภาษาของชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” ตลอดจนศึกษาความคิดเกี่ยวกับบุญที่สะท้อนจากชื่อหนังสือธรรมะเหล่านั้น ข้อมูลที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” ซึ่งรวบรวมจากห้องสมุด ร้านหนังสือ และเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวน 80 ชื่อ ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” 2 กลวิธี คือ การเลือกใช้คำศัพท์และการใช้อุปลักษณ์ กลวิธีทางภาษาดังกล่าวสะท้อนความคิดเกี่ยวกับบุญในสังคมไทย 4 ประการ ได้แก่ 1) บุญเป็นสิ่งที่จับต้องได้ 2) บุญเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายแต่ต้องทำให้ถูกวิธี 3) บุญเป็นสิ่งที่ทำแล้วได้รับผลตอบแทน และ 4) บุญเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นของมีค่า ความคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำบุญของคนในสังคม ทำให้ความคิดเรื่องบุญยังคงสืบทอดและดำรงอยู่ในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปักษาสุข อ. (2023). ชื่อหนังสือธรรมะที่ปรากฏคำว่า “บุญ” : ภาพสะท้อนความคิดเกี่ยวกับบุญในสังคมไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 537–553. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.50
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กิตยา แพทย์ศรีวงษ์, กุลยา ไชยหงษา, นวรัตน์ ทวีผล, และ กนกวรรณ วารีเขตต์. (2564). กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องนวนิยายออนไลน์บนเว็บไซต์ Thai Boys Love พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี, 2(1), 44-53.

แก้ว สุพรรโณ. (2548). อานิสงส์จากการทำบุญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไพลิน.

จรัลวิไล จรูญโรจน์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาษาและภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจากชื่อเล่นของคนไทย. คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาตะวันออก. (2549). พุทธธรรมในพระไตรปิฎก (พิมพ์ครั้งที่ 3). โครงการเอกสารคำสอน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติมา บุญอยู่. (2549). วิเคราะห์โครงสร้างภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยในช่วง 2 ทศวรรษ (พ.ศ.2526-พ.ศ.2545) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ธรรณปพร หงษ์ทอง. (2562). กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์เป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกัน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6), 1729-1740.

ธีรารัตน์ บุญกองแสน. (2543). การศึกษาการตั้งชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์อเมริกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

นันทนา รณเกียรติ. (2556). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 18(20), 9-28.

ประดิษฐ์ จันทร์มั่น. (2550). การตั้งชื่อภาษาไทยของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปัทมา เหมือนสมัย. (2562). การตั้งชื่อสุนัขในประเทศไทย: ภาพสะท้อนสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(2), 316-346.

ปาจรีย์ วิเชียรมณี. (2557). ค่านิยมในการตั้งชื่อเล่นเป็นภาษาอังกฤษของคนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat Digital Collections.

ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

พรทิพย์ ครามจันทึก. (2548). นามสกุลประชาชนจังหวัดนครราชสีมา : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมปิฎก. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์. (2537). กรรม. ใน สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร (บรรณาธิการ), คำ : ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 112-121). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2544). กลวิธีการตั้งชื่อภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์อเมริกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รสริน ดิษฐบรรจง. (2564). การเขียนสารคดีท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

วรางคณา สว่างตระกูล. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อจริงของคนไทยในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat Digital Collections.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (ม.ป.ป.). วิธีสร้างบุญบารมี. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

โสภิตา โสมะเกิด. (2560). การตั้งชื่อวัวชนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Dspace.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.

อภิญญา เคนนาสิงห์. (2560). การตั้งชื่อนวนิยายของนักประพันธ์นามปากกาวัตตราและกานติมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อำนาจ ปักษาสุข. (2559). มโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับบุญในภาษาไทย: กรณีศึกษากลุ่มสาธารณะในเฟซบุ๊ก. ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, คณะวิทยาการจัดการ, การประชุมวิชาการระดับชาติ “SMARTS ครั้งที่ 6 หัวข้ออัตลักษณ์แห่งเอเชีย 2016” (น. 47-57).

อำนาจ ปักษาสุข. (2562). วาทกรรมเกี่ยวกับบุญในสื่อสาธารณะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Dspace.

อำนาจ ปักษาสุข. (2564). โลกทัศน์เกี่ยวกับ “กรรม” ในสังคมไทยที่สะท้อนจากชื่อหนังสือธรรมะ. Journal of Korean Association of Thai Studies, 28(1), 95-114.

De Saussure, F. (1959). Course in general linguistics. The Philosophical Library.

Frake, C. O. (1980). Language and culture description: essays by Charles O. Frake selected and introduced by Anwar S. Dil. Standford University Press.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. The University of Chicago Press.