หมอมอใบไม้ในอุบลราชธานี : บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมพยากรณ์ดวงชะตาต่อสังคมอีสานร่วมสมัย

Main Article Content

วรธนิก โพธิจักร

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์บทบาททางคติชนวิทยาของพิธีกรรมพยากรณ์ดวงชะตาโดยหมอมอใบไม้ ผู้เขียนใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ เก็บข้อมูลปฏิสัมพันธ์และภาษาในพิธีกรรมโดยจดบันทึกข้อมูลภาคสนามจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและการสัมภาษณ์หมอมอใบไม้ 2 ท่าน และผู้รับการทำนาย   ดวงชะตาที่สมัครใจให้ข้อมูลอีก 9 คน จากนั้นวิเคราะห์บทบาทคติชนวิทยาตามแนวคิดของ Bascom (1965) และศิราพร ณ ถลาง (2548) ผลการศึกษาพบว่า หน้าที่แรก พิธีกรรมนี้ทำหน้าที่ให้ที่มาและเหตุผลของการมีพิธีกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประการสำคัญ คือ หนึ่งเป็นการสืบความเชื่อและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนที่มีรากเหง้าของการนับถือ “ผี” บรรพบุรุษและครูอาจารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านการทำบุญอุทิศให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการไหว้ครู ใส่ขันครู และสองเป็นการสอนหลักธรรมและวิถีปฏิบัติในพุทธศาสนา ซึ่งเห็นได้จากการบอกพื้นดวงบนพื้นฐานความเชื่อเรื่องชาติภพและกรรมเก่า การทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และการทำบุญเกื้อกูลมวลมนุษย์ ส่วนหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ ให้การศึกษาต่อคนในชุมชน รักษามาตรฐานและแบบแผนทางสังคม และให้ความเพลิดเพลินและระบายความคับข้องใจ นอกจากนี้ สังเกตได้ว่า พิธีกรรมนี้มีบทบาทหน้าที่โดดเด่นในการลดทอนความทุกข์ด้านต่าง ๆ ที่ปัจเจกชนกำลังเผชิญอยู่ จึงสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจให้แก่คนในสังคมอีสานร่วมสมัยในจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โพธิจักร ว. (2023). หมอมอใบไม้ในอุบลราชธานี : บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมพยากรณ์ดวงชะตาต่อสังคมอีสานร่วมสมัย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 249–277. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

ชนกพร พัวพัฒนกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมการพยากรณ์ดวงชะตา: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยุตรา สุโขยะไชย. (2560). โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคำสูดขวัญของชาวไทยเลย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรี แก้วผลึก. (2561). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องฤกษ์ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยที่มีผลต่อพุทธศาสนิกชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ณัชชา ชินธิป. (2548). โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2559). พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 33(3), 115-134.

ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา (บรรณาธิการ). (2549). พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เจียรสุวรรณ์. (2548). การศึกษาวิเคราะห์บททำขวัญและพิธีทำขวัญของกลุ่มคนไทย ไทยพวน และไทยเขมรที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน สุกัญญา สุจจฉายา (บรรณาธิการ), พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 163-204). โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Bascom, W. R. (1965). Four functions of folklore. In Alan Dundes (Ed.), The study of folklore (pp. 279-298). Prentice Hall.

Dundes, A. (1965). The study of folklore. Pearson College Div.