องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นถิ่นมอญ ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นถิ่นมอญ ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ใช้วิธีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก ทั้งแบบเจาะจงและแบบสโนบอลล์ จำนวน 15 คน ที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชน และผู้เชี่ยวชาญในการประกอบอาหารมอญ เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การปรุงอาหาร หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อนํามาจัดหมวดหมู่ สรุปตีความ และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพตามวัตถุประสงค์และนำเสนอข้อมูลในรูปของการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นถิ่นมอญในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองนั้นมีการถ่ายทอดกันในครอบครัว เครือญาติ ยังคงมี    การประกอบอาหารพื้นถิ่น โดยเมนูที่ปรุงขึ้นเพื่อรับประทานในชีวิตประจำวัน ได้แก่ แกงส้มผักรวม แกงใบกะเพราปลาย่าง และแกงที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล เช่น แกงมะตาด แกงลูกส้าน ฯ สำหรับอาหารที่ใช้ในงานประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวแช่ อาหารเลี้ยงผี แกงขี้เหล็ก แกงก่ะอะเกร่ ฯลฯ อาหารหวานในงานประเพณีมีขนมทอด กาละแม โดยอาหารพื้นถิ่นมอญที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี คือ แกงใบมะรุมอ่อนกับถั่วเขียว น้ำปลายำ เคล็ดลับภูมิปัญญาที่มีการสืบทอด จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม เช่น การใส่สากหินในหม้อต้มบอน การฝานมะละกอใส่ลงในหม้อต้มถั่วเขียว เป็นต้น โดยผู้วิจัยได้บันทึก รวบรวมข้อมูล และถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นผ่านสื่อประเภทอินโฟกราฟิก และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้จากผลการศึกษา ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรีให้คงอยู่สืบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กิจกาญจนกุล ป. (2023). องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นถิ่นมอญ ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 204–233. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.9
บท
บทความวิจัย

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2545). วัฒนธรรมข้าวในสังคมไทย: การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ ตรีนุมิตร. (2553). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่ [วิทยานิพนธ์ปริญาญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (2550). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวาบ, เคลาส์. (2561). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (ศรวริศา เมฆไพบูลย์, ผู้แปล). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 313-331.

ณิชมน ภมร, และ พัชรี ตันติวิภาวิน. (2563). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 28-44.

นิยพรรณ ผลวัฒนะ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

บุษบา ทองอุปการ. (2554). ภูมิปัญญาอาหารมอญ: อัตลักษณ์ชุมชนมอญสังขละบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ประเวศ วะสี. (2548). การศึกษาชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น: ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท (พิมพ์ครั้งที่ 2). อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. ใน วิภาส ปรัชญาภรณ์ (บรรณาธิการ), วาทกรรมอัตลักษณ์ (น. 31-72). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ปาจรีย์ สุขาภิรมย์. (2561). อาหารพื้นถิ่นไทยมอญในพิธีกรรมเลี้ยงผี: ศึกษากรณีอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ “ถิ่น-โลกนิยมในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ครั้งที่ 12 (น. 478-492). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาจรีย์ สุขาภิรมย์. (2564). บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นมอญในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 54-75.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมมอญ กรณีศึกษาชุมชนบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ยศ สันตสมบัติ. (2548). การทำความเข้าใจ ‘เพศสถานะ’ และ ‘เพศวิถี’ ในสังคมไทย. ใน อมรา พงศาพิชญ์ (บรรณาธิการ). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย (น. 1-40). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชระ ชูสุทธิ์. (2551). การถ่ายทอดวัฒนธรรมการนับถือผีบรรพบุรุษของชาวมอญ (รามัญ): กรณีศึกษาชุมชนชาวมอญบ้านคงคาเหนือ หมู่ที่ 3 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรุดา นิติวรการ. (2557). สำรับอาหารมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(28), 39-58.

สัจจา ไกรศรรัตน์. (2555). โครงการศึกษา แนวทางการนำวัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์ จังหวัดราชบุรีมาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). ชื่อบ้านนามเมือง ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย โครงการหนังสือชุด ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์ บรรจุน. (2557, ตุลาคม 28). กินอยู่อย่างมอญ ตอนที่1 [วิดีโอ]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=xYo8EaPQr74

Albayrak, M., & Gunes, E. (2010). Traditional Foods: Interaction between Local and Global Foods in Tur-key. African Journal of Business Management, 4(4), 555-561.

Cohen, E., & Avieli, N. (2010). Food tourism: Attraction and impediment. Annals of Tourism Research, 31(4), 755-778. https://doi.org/10.1016/j.annals.2004.02.003

Hall, M., Shaples, L., Mitchell, R., Macionis, N., & Cambrourne, B. (2003). Food Tourism Around the World: Developmemt, Management and Markets. Butterworth-Heinemann.

Inamdar, V., Chimmad, B. V., & Naik, R. (2005). Nutrient Composition of Traditional Festival Foods of North Karnataka. Journal of Human Ecology, 18(1), 43-48.

International Culinary Tourism Association. (2006). What is food tourism?. http://www.worldfoodtravel.org/what-is-food-tourism

Ministry of Social Development. (2010). Social Report. Ministry of Social Development.

Orburn, F. W. (1963). Social Change. Mcgraw Hill Book.

Rand, G., Health, E., & Alberts, N. (2003). The role of local and regional food in destination marketing: a South African situation analysis. Journal of Travel and Tourism Marketing, 14(3-4), 97-112.

Viwatpanich, K. (2012). Consumption and Nutritive Values of Traditional Mon Food. ASEAS - Austrian Journal of South-East Asian Studies, 5(1), 152-160.