จาก “อีสป” ถึง “อีสัส” : นิทานกับการสร้างสรรค์วรรณกรรมแนวสาระบันเทิงชุดนิทานอีสัส

Main Article Content

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวรรณกรรมชุดนิทานอีสัสของจ่าพิชิต ขจัดพาลชน จำนวน 4 เล่ม รวม 36 เรื่อง ในด้านการนำนิทานมาสร้างสรรค์วรรณกรรม อันทำให้วรรณกรรมชุดนี้มีลักษณะเป็นวรรณกรรมแนวสาระบันเทิงที่สื่อสารความรู้ด้านสุขภาพและให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ผลการวิจัยพบว่าการนำนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมทั้งของไทยและนานาชาติมาสร้างสรรค์เป็นการ์ตูนนิทานมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ 1) การดำเนินเรื่องตามโครงเรื่องเดิมแต่เปลี่ยนรายละเอียด 2) การนำโครงเรื่องเดิมบางส่วนมาสร้างสรรค์ใหม่โดยการเปลี่ยนรายละเอียด การเพิ่มเหตุการณ์และตัวละคร 3) การผนวกโครงเรื่องเดิมกับโครงเรื่องใหม่ 4) การนำเฉพาะอนุภาคเด่นมาสร้างเรื่องใหม่ 5) การเพิ่มอนุภาคตัวละครเพื่อเน้นการสื่อสารด้านสุขภาพ และ    6) การตัดอนุภาคของนิทานที่ไม่สัมพันธ์กับการสื่อสารเนื้อหาด้านการแพทย์และสุขภาพ วรรณกรรมชุดนี้มีการเชื่อมโยงระหว่างนิทานกับการนำเสนอความรู้ด้านสุขภาพผ่านการ์ตูนนิทานและอรรถาธิบาย รวมถึงการใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบนิทาน ทั้งยังแสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของคติชนในการสร้างสรรค์วรรณกรรม ได้แก่ ด้านการเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสร้างสรรค์เนื้อหา รูปแบบของนิทานกับวิธีการเล่าเรื่อง รวมถึงคุณสมบัติของความเป็นนิทานที่เอื้อต่อการนำมาเป็นเครื่องมือสื่อสารปัญหาด้านสุขภาพในสังคม ทำให้วรรณกรรมชุดนิทานอีสัสเป็นนิทานสอนใจสมัยใหม่ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้คนในสังคมร่วมสมัย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ดิษฐป้าน ว. (2023). จาก “อีสป” ถึง “อีสัส” : นิทานกับการสร้างสรรค์วรรณกรรมแนวสาระบันเทิงชุดนิทานอีสัส . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 31–68. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.2
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

จ่าพิชิต ขจัดพาลชน. (2558). นิทานอีสัส. ต้นมะนาว.

จ่าพิชิต ขจัดพาลชน. (2559). นิยายอีสั้ส. ต้นมะนาว.

จ่าพิชิต ขจัดพาลชน. (2560). นิทานอีสัส 2. ต้นมะนาว.

จ่าพิชิต ขจัดพาลชน. (2561). นิทานอีสัส 3. ต้นมะนาว.

จิรศุภา ปล่องทอง. (2550). การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.”. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.2007.102

เฉลิม มากนวล. (2518). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบนิทานชาดกกับนิทานอีสป. เอกสารนิเทศการศึกษาฉบับที่ 167. กรมการฝึกหัดครู, หน่วยศึกษานิเทศก์.

ชญาตี เงารังษี. (2560). การ์ตูนนิทานเวตาลในฐานะสื่อการสอนคุณธรรมจริยธรรม. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 1-18.

ชญานุช วีรสาร. (2562). ภาษาภาพการ์ตูน: จินตนาการในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(24), 130-139.

ซีเอ็ด. (17 กรกฎาคม 2565). นิทานอีสัส. https://m.se-ed.com/Detail/นิทานอีสัส/9786167793191

เทพศักดิ์ ใครอุบล, นิตยา จีนะวุฒิ, และ เสทื้อน อินทะประเสริฐ. (2552). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องนิทานอีสป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่าดอกคำวิทยาคม อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. Thai Digital Collection.

น้องออย หญีตน้อย. (20 มิถุนายน 2559). นิทานอีสัสเรื่องนางเงือกน้อย [วีดิโอ]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=5J9a98myJnM

นาตยา สาคร. (2556). การพัฒนาทักษะการสะกดคำที่มีตัวสะกดตามมาตราแม่กนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานอีสป [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่]. Thai Digital Collection.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2553). พัฒนาการของนิทานอีสป. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(2), 1-12.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2542). หน่วยที่ 2 นิทานพื้นบ้านในภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู) (พิมพ์ครั้งที่ 4, น. 53-211). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2545). นิทานพื้นบ้านศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 โดยใช้นิทานอีสปและใช้วิธีการบันทึกแบบคอร์เนลล์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์. คลังปัญญาจุฬาฯ.

พริมรตา จันทรโชติกุล. (2553). หนุมานในหนังสือการ์ตูนไทยปัจจุบัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

มาณิษา พิศาลบุตร. (2533). การสื่อความหมายในนิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะฉบับกระเป๋า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

รีวิวเรื่องบวก ๆ สัพเพเหระ และหนังสือแบบสบาย ๆ. (6 กรกฎาคม 2564). รีวิว หนังสือการ์ตูน นิยายอีสัส [วิดีโอ]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=PNbDjzHtD1s

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2549). แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง: การแพร่กระจายและความหลายหลาก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2560). ขายหัวเราะ-มหาสนุกฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9: การ์ตูนกับการเทิดพระเกียรติและการแสดงความอาลัย. วรรณวิทัศน์, 17, 84-131.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). “คติชนสร้างสรรค์”: บทสังเคราะห์และทฤษฎี. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

ศิราพร ณ ถลาง. (2562). “คติชนสร้างสรรค์”: บทสังเคราะห์และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2556). นิทานในหนังสือนิทานแนว edutainment ภาษาไทย: การศึกษาพลวัตของนิทานในปริบทสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารอักษรศาสตร์ ฉบับพิเศษ “คติชนสร้างสรรค์”, 42(2), 259-303.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2558). การผสมผสานวัฒนธรรมในหนังสือนิทานแนว edutainment (สาระบันเทิง) ภาษาไทย ใน ศิราพร ณ ถลาง (บรรณาธิการ), เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง (น. 156-215). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์. (2562). พลวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบัน. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 69-96.

สุดารัตน์ มาศวรรณา. (2553). การเปลี่ยนแปลงของนิทานสู่หนังสือการ์ตูนนิทานไทย. วารสารช่อพะยอม, 21, 82-94.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2550). ความซับซ้อนของการเล่าเรื่อง: ลักษณะหลังสมัยใหม่ในบันเทิงคดีร่วมสมัยของไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

อัญมาศ ภู่เพชร. (2560). นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ร่วมสมัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

อ่านไรดี Read-Rai-De. (19 พฤศจิกายน 2558). [รีวิว] นิทานอีสัส [วิดีโอ]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=lCMH6a97ldg

อีศปปกรณัม วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย. (2562). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

BabyInk. (17 เมษายน 2561). นิทานอีสัส : การ์ตูนดีมีสาระ [Web blog message]. Bloggang. https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=babyink&month=11-2015&date=13&group=6&gblog=9

Daboss. (2013, 1 December). The goose with the golden eggs. Fableofaesop. https://fablesofaesop.com/the-goose-with-the-golden-eggs.html

The farmer and the snake. (2022, 3 July). Americanliterature. https://americanliterature.com/author/aesop/short-story/the-farmer-and-the-snake

The ugly duckling. (2022, 3 September). Anderson. https://andersen.sdu.dk/vaerk/hersholt/TheUglyDuckling_e.html