คำแสดงทัศนภาวะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย

Main Article Content

วรรณวนัช อรุณฤกษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำแสดงทัศนภาวะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับคำแสดงทัศนภาวะและคำบอกความเห็นในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ศ. 2564 ที่รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ทุกมาตรา ซึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 323 มาตรา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 468 มาตรา รวมทั้งสิ้น 791 มาตรา ผลการศึกษาพบว่า คำแสดงทัศนภาวะในประมวลกฎหมายทั้งสองฉบับมี 4 คำ ได้แก่ “อาจ” “ต้อง” “ย่อม” และ “ควร” คำแสดงทัศนภาวะเหล่านี้อาจแสดงให้เห็นถึงความสามารถ คำสั่ง โอกาส ความเป็นไปได้ของเนื้อความในตัวบทกฎหมาย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นเงื่อนไข เหตุการณ์ รายละเอียด รวมทั้งยังแสดงถึงหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม การใช้คำแสดงทัศนภาวะจึงอาจทำให้สามารถเข้าใจเนื้อความในกฎหมายได้ดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อรุณฤกษ์ ว. (2023). คำแสดงทัศนภาวะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 1–31. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.31
บท
บทความวิจัย

References

กฤติกา ผลเกิด. (2546). การศึกษาวัจนลีลาของประมวลกฎหมายอาญา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE.

จรินทร์ สุวรรณโชติ. (2537). การศึกษาเปรียบเทียบภาษากฎหมายในกฎหมายตราสามดวงกับกฎหมายปัจจุบัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2558). ทัศนภาวะในวาทกรรมการเงิน: สินเชื่อ บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดจากสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 34(1), 1-17.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2559). การใช้คำแสดงทัศนภาวะจากข่าวความรุนแรงจังหวัดในชายแดนภาคใต้ผ่านหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(1), 27-37.

ชาคริต อนันทราวัน. (2540). การใช้ภาษาในกฎหมายรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534). โอเดียนสโตร์.

ดุลยการณ์ กรณฑ์แสง. (2537). การวิเคราะห์การนิยามคำศัพท์ภาษากฎหมาย: กฎหมายครอบครัวและมรดก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2555). ภาษากฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 11). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาจริน สุขอ้วน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ความเป็นมนุษย์เงินเดือนในแฟนเพจเฟซบุ๊ก Group มนุษย์เงินเดือน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยอุบลราชธานี]. Ubon Ratchathani University Portal site for E-Thesis & E-Research.

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจบ พันธุเมธา. (2514). ลักษณะภาษาไทย. ม.ป.พ.

ประภัสสร ภัทรนาวิก. (2549). ภาษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540: การศึกษาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

ปิยฉัตร บุนนาค. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความในประมวลกฎหมายอาญา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย สุนทรพันธุ์ และ ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร. (2550). หลักกฎหมายเอกชน (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมพา จิตตประสาทศีล. (2548). การศึกษาลักษณะภาษาในกฎหมายไทย: ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

มลุลี พรโชคชัย. (2538). การศึกษาวัจนลีลาของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชฏ เจริญฉ่ำ. (2562). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2546). การศึกษาวิเคราะห์ภาษาในประมวลกฎหมายอาญา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2530). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วินัย ล้ำเลิศ. (2557). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=711251&ext=pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง. https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=570093&ext=pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). อำนาจหน้าที่องค์กร วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะกรรมการกฤษฎีกา. https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/public

สุกัญญา สุวิทยะรัตน์. (2553). ภาษาในกฎหมายลักษณะอาญา กับประมวลกฎหมายอาญา: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบต่างสมัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดา รังกุพันธุ์. (2547). ระบบญาณลักษณะในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวหน้าที่-ปริชาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2538). คำแสดงระดับตรรกในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2548). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 13). ไทยวัฒนาพานิช.

Palmer, F. R. (1986). Mood and modality. Cambridge University Press.