สถานภาพการศึกษาวรรณคดีจีนเรื่อง ความฝันในหอแดง《红楼梦》ในวงวิชาการไทยและจีน

Main Article Content

ภูเทพ ประภากร
กนกพร นุ่มทอง
ศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาสถานภาพการศึกษาวรรณคดีเรื่อง ความฝันในหอแดง ในวงวิชาการของประเทศไทยและประเทศจีนในช่วงสองทศวรรษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 - 2564 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและแหล่งข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่รวบรวมผลงานวิจัย บทความวิชาการและวิทยานิพนธ์ของทั้งสองประเทศ (Documentary Research) แหล่งสารสนเทศในประเทศไทยรวบรวมจากเว็บไซต์ ThaiJo และแหล่งสารสนเทศรวบรวมวิทยานิพนธ์ ThaiLIS สำหรับแหล่งสารสนเทศในประเทศจีน รวบรวมจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่รวบรวมงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความทางวิชาการที่ใช้อย่างแพร่หลาย คือ ฐานข้อมูล CNKI (中国知网) ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านประวัติผู้ประพันธ์และผู้เขียนคำวิจารณ์ 2. ด้านการวิเคราะห์ตัวบทวรรณคดี 3. ด้านการวิเคราะห์การสร้างตัวละคร 4. ด้านการแปลหรือดัดแปลงวรรณคดีข้ามศาสตร์สาขาอื่น 5. ด้านศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง จากนั้นรวบรวมสถิตินำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางหรือแผนภูมิภาพ ผลการศึกษาพบว่าสถานภาพการศึกษาเรื่อง ความฝันในหอแดง ในวงวิชาการจีนและไทยมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านปริมาณและความหลากหลายของขอบเขตการศึกษาวิจัยโดยพบว่าในวงวิชาการจีนมีการต่อยอดการศึกษาวิจัยเรื่อง ความฝันในหอแดง ออกไปหลากหลายศาสตร์สาขา ทั้งยังนำแนวคิดการวิเคราะห์วรรณกรรมของตะวันตกมาใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม อนึ่ง ในวงวิชาการจีนปรากฏขอบเขตการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ประวัติผู้ประพันธ์และผู้เขียน คำวิจารณ์ ตัวบทวรรณคดี ตัวละคร องค์ประกอบอื่น พร้อมทั้งมีการรายงานผลการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานภาพของเรื่อง ความฝันในหอแดง ในวงวรรณกรรมและวงวิชาการจีนมีความมั่นคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะวรรณคดีเอกของชาวจีน สำหรับวงวิชาการไทย พบว่า มีจำนวนผลงานเกี่ยวกับเรื่อง ความฝันในหอแดง น้อยมาก เนื่องจากฉบับแปลภาษาไทยที่มีความสมบูรณ์มีเพียงฉบับเดียว อีกทั้งการศึกษาเรื่อง ความฝันในหอแดง ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมายังจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของผู้สนใจซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก รวมทั้งขอบเขตการศึกษายังจำกัดเนื้อหาเฉพาะด้านตัวละครสตรีที่สำคัญเท่านั้น ในวงวิชาการไทยยังมีเนื้อหาอีกหลายแง่มุมที่นักวิชาการไทยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ เช่น ด้านการแปลเป็นภาษาไทย ด้านวัฒนธรรมประเพณี หรือด้านการดัดแปลงข้ามศาสตร์ ซึ่งผู้สนใจหรือนักวิชาการไทยยังจะสามารถศึกษาวิจัยประเด็นดังกล่าว เพื่อให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ประภากร ภ., นุ่มทอง ก., & ลิขิตเจริญธรรม ศ. . (2023). สถานภาพการศึกษาวรรณคดีจีนเรื่อง ความฝันในหอแดง《红楼梦》ในวงวิชาการไทยและจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 283–317. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.41
บท
บทความวิจัย

References

จังกั๋วเฟิง 张国风. (2021). โครงเรื่องของความฝันในหอแดง. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (6), 162-175.

เจิงชิ่งอี่ว์ 曾庆雨. (2021). การวิเคราะห์โครงเรื่องและแนวคิดของตัวบทวรรณคดีเรื่องความฝันในหอแดง. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (5), 94-110.

โจวหรู่ชัง 周汝昌. (2018). โจวหรู่ชังอรรถาธิบายบันทึกของศิลา [周汝昌校订批点石头记]. อี้หลิน.

เฉาเสวี่ยฉิน และ เกาเอ้อ 曹雪芹、高鹗. (2019). ความฝันในหอแดง. ฉือไต้เหวินอี้.

เฉาลี่ปัว 曹立波. (2017). วิจารณ์สิบสองดรุณีแห่งความฝันในหอแดง [《红楼十二钗评传》]. เหรินหมินเหวินเซวีย.

ชิวซูหลุน. (2551). แนวคิดหลักอมตะวรรณคดีจีนความฝันในหอแดง. วารสารจีนวิทยา, 2, 50-59.

เชียน เหริน. (2555). ผู้หญิงใน “อุดมคติ” จากมุมมองทางวัฒนธรรมไทยกับจีน การศึกษาเปรียบเทียบนางเอกในวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน และ ความฝันในหอแดง[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

ต้วนเจียงลี่ 段江丽. (2017). การศึกษางานวิจัยในศาสตร์หอแดงวิทยา [《红学研究论辩》]. เหลียวหนิงเหรินหมิน.

เติ้งน่า 邓娜. (2009). เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมจีนและตะวันตกระหว่าง ตัวละครสตรีเอกหลินไต้อี้ว์ในความฝันในหอแดงและเจน แอร์จากนวนิยายเรื่อง ความรักของเจน แอร์ [《简•爱》与《红楼梦》女主人公形象的比较研究——中西文化互观中的简•爱与林黛玉]. มหาวิทยาลัยครุศาสตร์หูหนัน.

เถาเหว่ย, หวังฮุ่ย, และ หม่าซือชง 陶玮、王慧、马思聪. (2021). รายงานการศึกษาการพัฒนาหอแดงวิทยาในประเทศจีนประจำปี ค.ศ. 2020 [2020年度中国红学发展研究报告]. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊). (2), 1-35.

ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์. (2555). เมี่ยวอี้ว์: หนึ่งในสิบสองดรุณีแห่งจินหลิงในความคิดของ เฉาเสวี่ยฉิน. ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บรรณาธิการ), เหตุเกิดในราชวงศ์ชิง (หน้า 159-195). ชวนอ่าน.

ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์. (2560). หวังซีเฟิ่ง ดาวร้ายในสิบสองดรุณีแห่งจินหลิง ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บรรณาธิการ), ดาวร้ายในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน (หน้า 54-107). ชวนอ่าน.

ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์. (2565). วิเคราะห์กรอบจารีต “สามคล้อยตามสี่คุณธรรม” ผ่านตัวละคร “จย่าอิ๋งชุน”. ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หัวข้อ สตรีในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน (หน้า 138-180). ศูนย์จีนศึกษาและศูนย์การเรียนรู้ศึกษาบรมราชกุมารี สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส. (2561). ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดงและนวนิยายของมั่วเหยียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

พัชนี ตั้งยืนยง. (2555). ความรู้ที่ถูกจองจำ: หนังสือต้องห้ามในราชวงศ์ชิง. ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บรรณาธิการ), เหตุเกิดในราชวงศ์ชิง (หน้า 134-157). ชวนอ่าน.

ภูเทพ ประภากร. (2564a). ความฝันในหอแดง ภาพสะท้อนการรักษาสถานภาพและบทบาทของสตรีจีนในสังคมศักดินา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 8(1), 97-110.

ภูเทพ ประภากร. (2564b). คุณค่าสตรีตามแนวคิดปิตาธิปไตยในสังคมศักดินาจีนจากวรรณคดีเรื่อง ความฝันในหอแดง. วารสารอักษรศาสตร์, 50(1), 17-41.

ภูเทพ ประภากร. (2565). จย่าทั่นชุน: สตรีนักปฏิรูปภายใต้สังคมชายเป็นใหญ่ในวรรณคดีเรื่องความฝันในหอแดง. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 9(1), 249-278.

มู่ไจ 木斋. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างเฉาเสวี่ยฉินกับความฝันในหอแดง [论曹雪芹与《红楼梦》的关系]. Journal of Shanxi University (Philosophy & Social Science), 42(3), 34-44.

ยศไกร ส.ตันสกุล. (2564). ความฝันในหอแดง. แสงดาว.

วินัย สุกใส. (2553). วิวัฒนาการวรรณกรรมจีนในภาษาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2411-2475 (ตอนที่ 1). วารสารจีนศึกษา, 3(3), 212-240.

เว่ยอิ่ง 魏颖. (2019). การสะท้อนภาพลักษณ์เฉาเสวี่ยฉินและการบรรยายภาพสะท้อนผ่านตัวละครของเรื่องความฝันในหอแดง. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (2), 185-200.

หวังลี่เหวิน 王丽文. (2005). จือเยี่ยนไจวิจารณ์ความฝันในหอแดง [《脂砚斋批评本红楼梦》]. เย่ว์ลู่.

หวังเวินจิง 王文婧. (2021). วิเคราะห์การแปลบทกวีในวรรณคดีเรื่องความฝันในหอแดงเป็นภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดสุนทรียศาสตร์ [从翻译美学角度浅谈《红楼梦》中诗歌的英译]. Journal of Chifeng University (Soc.Sci.), 42(2), 78-81.

หวังฮุ่ย 王慧. (2005). การศึกษาผลการวิจัยสวนต้ากวนหยวน [大观园研究综述]. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (2), 278-311.

หลี่หวาเหวย 李华维. (2021). การศึกษาสุนทรียศาสตร์ด้านการแปลตัวบทความฝันในหอแดงเป็นภาษาไทย [《红楼梦》泰译本回目翻译美学研究]. Journal of Chengdu University (Social Sciences), (5), 116-128.

หานจินรุ่ย และ จย่าเหวินจง 贾文忠、韩金瑞. (2007). หนังสือรวมตัวละครในวรรณคดีความฝันในหอแดง [红楼梦人物大全]. สำนักพิมพ์ธุรกิจนานาชาติ.

หลิวซินอู่ 刘心武. (2016). หลิวซินอู่ไขปริศนาหงโหลวเมิ่ง [刘心武揭秘红楼梦]. อี้หลิน.

หลี่หงยวน 李鸿渊. (2011ก). การศึกษาเปรียบเทียบตัวละครความฝันในหอแดง [红楼梦人物对比研究]. มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง.

หลี่หงยวน 李鸿渊. (2011ข). การสรุปข้อวิจารณ์ช่วงสิบห้าปีภายใต้แนวคิดสตรีนิยมของวรรณคดีเรื่องความฝันในหอแดง [近十五年来红楼梦之女性主义批评综述]. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (1), 167-188.

หลิวหย่งเหลียง 刘永良. (2007). เฉาเสวี่ยฉินและความฝันในหอแดงในมุมมองของเหมาตุ้นการวิเคราะห์บทนำความฝันในหอแดงฉบับตัดทอนและหนังสือประวัติเฉาเสวี่ยฉิน [矛盾眼中的曹雪芹和《红楼梦》]. วารสารความฝันในหอแดง (红楼梦学刊), (6), 1-19.

หูเหวินปิน 胡文彬. (1991). การศึกษาการเผยแพร่ความฝันในหอแดงในประเทศไทย [梦在红楼传佛国——《红楼梦》在泰国的流传和研究]. Chinese Literature and History (文史知识), (1), 100-105.

หยวนสิงเผ่ย 袁行霈. (2014). ประวัติวรรณคดีจีน (เล่มที่ 3). การศึกษาอุดมศึกษา.

โหวจวินไฉ และ อู๋อวิ้นเจ๋อ 侯钧才、吴蕴泽. (2021). การสังเคราะห์ผลการศึกษาข้ามวัฒนธรรมของวรรณคดีเรื่องความฝันในหอแดง. การศึกษาประวัติเฉาเสวี่ยฉิน. (1), 178-185.

อันผิงชิว และ จังเผยเหิง安平秋、章培恒. (1988). A Complete Introduction of Chinese Banned Books [中国禁书大观]. วัฒนธรรมเซี่ยงไฮ้.

อู๋อี้ว์สยา และ เหยาเสี่ยวเฟย吴玉霞、姚晓菲. (2006). สังเคราะห์งานวิจัยความสำเร็จในการสร้าง ตัวละครความฝันในหอแดง [红楼梦人物形象描写成就研究综述]. Journal of Henan Institute of Education (Philosophy and Social Sciences), 25(2), 33-38.