“พม่าพลัดถิ่น” : การก่อตัวของชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สมหมาย ชินนาค
กาญจนา ชินนาค

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยที่ก่อให้เกิดชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดเป็นคนพลัดถิ่นประเภทหนึ่ง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสังเกต สนทนากลุ่มย่อย และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าถูกกฏหมายของบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 คน โดยมีล่ามชาวพม่าเป็นผู้แปลภาษา การศึกษาครั้งนี้อาศัยแนวคิดเรื่องชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวและแนวคิดโลกาภิวัตน์กับการเคลื่อนย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า การก่อตัวของชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นผลมาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ ปัจจัยภายนอกก็คือ นับแต่ต้น ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง การลดลงของความขัดแย้งทางอุดมการณ์และสถานการณ์สงคราม การขยายตัวของกระบวนการโลกาภิวัตน์ และการขยายความร่วมมือทางการค้าการลงทุนในระดับภูมิภาคภายใต้วาทกรรมการบูรณาการเป็นภูมิภาคเดียวกัน ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและการเดินทางของผู้คนเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจของประเทศต้นทางที่ผลักดันให้แรงงานต้องแสวงหางานในประเทศเพื่อนบ้านที่ภาวะทางเศรษฐกิจสูงกว่า ขณะที่ปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการจ้างงาน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และการขาดแคลนแรงงานของประเทศปลายทาง รวมทั้งเครือข่ายทางสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชินนาค ส., & ชินนาค ก. (2023). “พม่าพลัดถิ่น” : การก่อตัวของชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 640–665. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.54
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร รัตนสุธีระกุล. (2555). ด่านประเพณี: ระบบ กลไก และเครือข่ายความสัมพันธ์ของท้องถิ่นในการจัดการแรงงานข้ามชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กนกวรรณ มะโนรมย์. (2557). โครงการประสานงานชุดโครงการชายแดนไทยและเพื่อนบ้าน (อีสานตอนล่าง). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กิริยา กุลกลการ. (2557). การบริหารจัดการแรงงานต่างชาติในประเทศไทยและต่างประเทศ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2559). คำนำบรรณาธิการ. ใน วิลาสินี โสภาพล และ จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง (บรรณาธิการ), การก่อร่างทางอัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดขอนแก่น (น. คำนำ). ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรภา โสภณ, สิริรัตน์ ชอบขาย, และ ณัฐาสินี กวีนัฏธยานนท์. (2557). การเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินในเขตพื้นที่ชายแดนอีสานตอนล่าง กรณีศึกษาด่านการค้าชายแดนช่องจอม ช่องสะงำ และช่องเม็ก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์. (2556). การเชื่อม (ข้าม) ถิ่นที่: ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนบนเมืองชายแดนกับการต่อรองความหมายผ่านพื้นที่/ชุมชนทางศาสนาของผู้อพยพข้ามพรมแดนชาวพม่าในจังหวัดระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (17 สิงหาคม 2565). คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา Diasporas. http://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/34

นิสิต พันธมิตร. (2548). ผลกระทบของการค้าชายแดนภาคเหนือจากข้อตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

บัญญัติ สาลี. (2551). การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาและนัยเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนของรัฐไทย กรณีศึกษา: จุดผ่านแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ประเสริฐ แรงกล้า. (2557). การกลับพม่าและการดำรงชีพในสภาวะหลังการพลัดถิ่น: กรณีศึกษาพ่อค้ารายย่อยในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พฤกษ์ เถาถวิล. (2554). MOU การจ้างงานข้ามชาติ: เสรีนิยมใหม่ การคุ้มครองแรงงาน และการปรับยุทธศาสตร์การกำกับควบคุมของรัฐ. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 7(3), 1-26.

พัฒนา กิติอาษา. (2560). คนข้ามแดน ความเรียงว่าด้วยมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา.

มาลี เจษฎาลักษณ์. (2558). กระบวนการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ, วัชรี ศรีคำ, และ จิราภรณ์ สมิธ. (2557). การบุกรุกและการเปลี่ยนมือของที่ดินพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ยศ สันตสมบัติ. (2553). ความทันสมัยกับมายาคติของการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง. ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว (บรรณาธิการ), ทบ-ทวนการพัฒนาจากท้องถิ่นภาคเหนือสู่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (น. 197-219). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ.

ยศ สันตสมบัติ. (2559). คน พรมแดน รัฐชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2553). กลไกรัฐการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และปฏิบัติการของลื้อชายแดน ที่เมืองชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2555). ลื้อข้ามแดน การเดินทางของคนหนุ่มสาวชาวลื้อเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศพม่า. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ.

วันชัย รัตนวงษ์. (2557). การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพของระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการค้าชายแดนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และนำเสนอแบบจำลองทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมการดำเนินการของเอกชนบริเวณจุดผ่านแดนและเขตอุตสาหกรรมส่งออก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วิจิตร ประพงษ์. (2561). การย้ายถิ่นแบบชั่วคราวแต่ยาวนานของแรงงานไทยแบบผิดกฎหมายในฝรั่งเศส. วารสารพัฒนศาสตร์, 1(2), 206-240.

วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมวัฒนธรรมพม่า. มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะมนุษยศาสตร์, ศูนย์พม่าศึกษา.

วิลาสินี โสภาพล. (2559). ชุมชนข้ามถิ่น: การข้ามท้องถิ่นและการก่อร่างทางอัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้บริบทของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

สิทธิพร ภู่นริศ. (2549). ศักยภาพและอุปสรรคการค้าชายแดน: จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สิทธิพร ภู่นริศ. (2550). พัฒนาคน ชุมชน และพื้นที่การค้าชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2554). ทัศนะใหม่ของความเป็นพลเมืองบนพื้นที่ของความเป็นอื่น. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และคณะ (บรรณาธิการ), พลเมืองในโลกไร้พรมแดน (น. 8-36). ภาพพิมพ์.

สุมาลี แซ่ว่อง. (2549). การย้ายถิ่นของแรงงานพม่า และผลกระทบต่อการพัฒนาในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณี จันทะพงษ์, เพรงเพรา สิงหพงษ์, และ กานต์ชนิต เลิศเพียรธรรม. (7 สิงหาคม 2561). กระแสการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ: เข้าใจ เข้าถึง และเป็นธรรม. MPG Economic Review (pp. 1-5). ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_07Aug201.html

โสภี อุ่นทะยา. (2554). การจัดการของชุมชนและการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติบนพื้นที่ชายแดน จังหวัดมุกดาหาร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อดิศร เกิดมงคล. (2555). แรงงานข้ามชาติชาวปะโอจากพม่าในกรุงเทพฯ: ชีวิตข้ามพรมแดนบนพื้นที่ของอำนาจและการต่อรอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

อรเทพ อินทรสกุล. (2560). การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเพื่อการจ้างงานโดยถูกกฎหมาย. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

อรัญญา ศิริผล. (2556). ผู้ค้าจีนในชายแดนลุ่มน้ำโขง: เปิดเบื้องหลังการอพยพของคนจีนรุ่นใหม่เข้าสู่ชายแดนลุ่มน้ำโขง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ.

Anna, A., & Helma, L. (2020). Gender and migration: Transnational and intersectional prospects. Routledge.

Cohen, R. (2008). Global diaspora: An introduction. Routledge.

Hatsukano, N. (2019). Overview of migration in the Mekong subregion. In N. Hatsukano (Ed.), Rethinking migration governance in the Mekong region: From the perspective of the migrant workers and their employers (pp. 1-21). ERIA and IDE-JETRO.

Pirkko, P., Tomoko, H., Kerstin, S., Mustafa, A., & Irudaya, R. (2019). Temporary migration, transformation and development: Evidence from Europe and Asia. Routledge.

Rajan, S. (2006). Global Politics and Institutions (GTI Paper Series No.3). Tellus Institute.

Tony, F. (2016). Asian migrations: Social and geographical mobilities in Southeast, East, and Northeast Asia. Routledge.