5 มัสยิด 5 แลนด์มาร์กในพื้นที่กรุงเทพชั้นใน : กรณีศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวตามแนวทางวิถีใหม่ให้ชุมชน

Main Article Content

สุภัทรา บุญปัญญโรจน์
ดุลยวิทย์ นาคนาวา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมของมัสยิดในเขตกรุงเทพชั้นในและชุมชนรอบมัสยิดทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ (1) มัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (2) มัสยิดเซฟี (ตึกขาว) เขตคลองสาน (3) มัสยิดต้นสน เขตบางกอกใหญ่ (4) มัสยิดจักรพงษ์ เขตบางลำพู และ (5) มัสยิดบางอุทิศ เขตบางคอแหลม ผลการศึกษาสามารถสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนรอบมัสยิด และนำเสนอแนวทางเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวแนวทางวิถีใหม่ให้กับชุมชนรอบมัสยิด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบ คือการสำรวจพื้นที่และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กรอบแนวคิดภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนรอบมัสยิดสามารถใช้เป็นต้นแบบพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ โดยเฉพาะมัสยิดในเขตกรุงเทพชั้นในซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมมุสลิมที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละชุมชน ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งวัฒนธรรมข้างเคียงที่หลากหลายอันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรม และเป็นพื้นที่สังคมชุมชนเมืองที่ได้เปรียบในเรื่องการเดินทางและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สะดวกซึ่งเอื้อต่อการปรับตัวในการท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่า สิ่งสนับสนุนที่สำคัญคือ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารกับผู้คนทั้งในและนอกชุมชนและสร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกชุมชน รวมถึงการสื่อความหมายทั้งในพื้นที่และในสังคมเครือข่ายออนไลน์เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญปัญญโรจน์ ส., & นาคนาวา ด. . (2023). 5 มัสยิด 5 แลนด์มาร์กในพื้นที่กรุงเทพชั้นใน : กรณีศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวตามแนวทางวิถีใหม่ให้ชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 616–639. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.53
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร ใจบุญ, อนงค์รัตน์ ศักดิ์ภักดี, ยุพา เรืองพุ่ม, และ จุลภัสสร พนมวัน ณ.อยุธยา. (2544). โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชน: กรณีศึกษาย่านกุฎีจีน. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. อุษาคเนย์.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2532). ศาสตร์ทางพื้นที่ บทอ่านทางภูมิศาสตร์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมจิตต์ สาราต และ สราวุฒิ ไกรเสม. (2562). ความเป็นพหุภาษาในชุมชนเมือง: กรณีศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์ทางภาษากับธุรกิจการค้าย่านนานาฝั่งเหนือ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(1), 24-40.

เธียรชัย พันธ์คง, ศิริรักษ์ จวงทอง, และ สุชาดา สุวรรณขำ. (2559). การบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา หนังตะลุงนครินทร์ ชาทอง.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(3), 222-240.

นพวรรณ ตรีศิลป และ วรรักษ์ สุเฌอ. (2561). การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษากาดบ้านฮ่อ ชุมชนมุสลิมบ้านฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 36-50.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 18(1), 31-50.

พิชัย แก้วบุตร. (2563). ความพร้อมด้านภาษาจีนของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับ MICE CITY: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 89-104.

รัฐพงศ์ ปิ่นแก้ว และ พัสตราภรณ์ ทิพยโสธร. (2557). การออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมปากคลองสวนหมากเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ใน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, การประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติคร้ังที่ 4 “การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง: กระบวนทัศน์การเรียนรู้สู่อาเซียน”. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.

วรภพ วงค์รอด. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 13-28.

ศิราพร ณ ถลาง. (2556). คติชนสร้างสรรค์: บทปริทัศน์บริบททางสังคมและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง. วารสารอักษรศาสตร์, 42(2), 1-74.

ศรีวราพร คำอ่อง, ชัชชัย สุจริต, และ รดี ธนารักษ์ (2554) รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 1(1), 138-147.

อมรรัตน์ เปี่ยมดนตรี และ ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558) การใช้วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 544-555.

เอม อึ้งจิตรไพศาล. (2556). Guidelines for community conservation and development: The traditional communities of Wat Ket, Chiang Mai province [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

D’Antuono, L. P. (2012). Street foods basic definitions and fact. Traditional food International (TFI 2012) street food seminar session. Cesena, Italy.

Wuttipan, C., Kaewnuch, K., & Chaimongkol, W. (2019). International tourist perceived value in food tourism services: Street food in Bangkok, Thailand. Dusit Thani College Journal, 13(3), 109-126.

Jocuns, A. (2016). Discourses of tourism in Thailand: the nexus of religion, commodification, tourism, and other-ness. Journal of Liberal Arts, 16(2), 219-236.

Wangpusit, K. (2019). A comparison of signboard names between two areas of Banglamphu and Siam Square: An analysis of a linguistic landscape. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Humanities, Social Sciences and Arts, 12(2), 18-37.

Mooney, A., & Evans, B. (2019). Language, society and power: An introduction. Routledge.

Suaykratok, P., & Manosuthikit, A. (2019). Inclusion of the minority language on public signs: Multilingualism in the deep South of Thailand. NIDA Journal of Language and Communication, 24(35), 1-22.

Riesenweber, J. (2008). Landscape preservation and cultural geography in cultural landscapes. In R. Longstreth (Ed.), Cultural landscape: Balancing nature and heritage in preservation practice (pp. 23-34). University of Minnesota Press.

Shohamy, E., Ben-Rafael, E., & Barni, M. (2010). Introduction. In E. Shohamy, E. Ben-Rafael, & M. Barni (Eds.), Linguistic landscape in the city. https://doi.org/10.21832/9781847692993

Taylor, K. (2009). Cultural landscape and Asia: Reconciling international and Southeast and East Asian regional value. Landscape Research, 34(1), 8-13.