เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในลุ่มแม่น้ำแดงตอนบน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

กลุ่มชาติพันธุ์ไทในมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สร้างถิ่นฐานแต่โบราณตามแนวแม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำคง แม่น้ำโขง และแม่น้ำแดง บทความนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติพันธุ์ไทในลุ่มแม่น้ำแดงตอนบนยังอำเภอปกครองตนเองหยวนเจียง ชนชาติพันธุ์ฮานี หยี และไท โดยทำการค้นคว้าสำรวจในพื้นที่เป็นหลักในการศึกษาและการทบทวนเอกสาร อำเภอหยวนเจียงมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาอ้ายลาวและเตี่ยนชางซัน แม่น้ำแดงไหลผ่ากลางหว่างหุบเขา กลุ่มคนไทที่อยู่ในอำเภอหยวนเจียง ประกอบด้วย จ้ง จั้ง หยา เรียกรวมกันว่า ฮัวเยาไท/ไต หรือไทเอวดอกไม้ ซึ่งเรียกตามลักษณะของชุดแต่งกาย และอีกกลุ่มคือ ไทหล้า เอกลักษณ์ของคนไทจำแนกได้เป็น 5 ด้าน คือ (1) การแต่งกาย ชุดของหญิงฮัวเยาไทตกแต่งและปักสีสันสวยงาม ผ้าคาดเอวประดับเงินรูปพวงดอกไม้รอบเอว จึงถูกเรียกจากคนกลุ่มอื่นว่า ไทเอวดอกไม้ สตรีไทหล้าสวมเสื้อตัวใหญ่และกางเกงขายาวทรงหลวม (2) ภาษาชาวฮัวเยาไทพูดภาษาตระกูลไทแต่ไม่มีอักษรเขียน ชาวฮัวเยาไทใช้ภาษาไทในการสื่อสารระหว่างกัน แต่ใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสารกับไทหล้า (3) ศาสนา วิญญาณนิยม เป็นระบบความเชื่อตามศาสนาดั้งเดิม (4) ประเพณี พิธีกรรมการไหว้ผีรักษาหมู่บ้านหรือเสื้อบ้านยังเป็นจารีตปฏิบัติ (5) ลักษณะบ้านเรือน ตัวบ้านทำด้วยอิฐไม่เผาหรือดินเหนียว บ้านรูปทรงกล่องสูง หลังคาตัด คนไทในหยวนเจียงมีการรวมกลุ่มกันได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะฮัวเยาไท และแต่ละกลุ่มยังคงเอกลักษณ์เฉพาะของตนไว้ โดยเฉพาะการพูดภาษาไท ชุดประจำเผ่า และการเคารพเสื้อบ้าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์กาฬสินธุ์ ข. (2023). เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในลุ่มแม่น้ำแดงตอนบน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 809–838. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.61
บท
บทความวิชาการ

References

กอปร กฤตยากีรณ. (2560). ที่ตั้ง ที่มา และการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทและชนชาติข้างเคียง การทำความเข้าใจเบื้องต้นจากข้อมูลภาษาศาสตร์ พันธุศาสตร์ และโบราณคดี. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ อุษา โลหะจรูญ (บรรณาธิการ), ชนชาติไทในประเทศจีน (หน้า 131-177). สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.

ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์. (2564). จิตใต้สำนึกร่วม ขวัญข้าวของคนไท: ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำโขง แม่น้ำแดง. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2544). สืบสานประวัติศาสตร์สังคมละวัฒนธรรมไป่เยว่ การศึกษาเชิงมานุษยวิทยา. สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ อุษา โลหะจรูญ. (2560). ชนชาติไทในประเทศจีน. สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ อุษา โลหะจรูญ. (2564). ความเชื่อโบราณของชนชาติไท จากการศึกษาคัมภีร์ปู่รู้ทั่วและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทเปรียบเทียบ. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (บรรณาธิการ), สังคมและวัฒนธรรมไทโบราณ (หน้า 160-222). ด่านสุธาการพิมพ์.

ไป๋ ฉุน. (2545). ไทศึกษาในจีน. อัลฟ่า พับลิชชิ่ง.

ไป๋ ฉุน. (2547). การศึกษาคนไทในมณฑลยูนนาน: ทัศนะจากนักวิชาการจีน. ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, โครงการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 81 พรรษา เรื่อง ความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน, วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2547.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2554). สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธาณรัฐประชาชนจีน. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะศิลปศาสตร์, ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง.

ยรรยง จิระนคร. (2554). จีนกับสังคม วัฒนธรรม หลากหลายชาติพันธุ์. ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

สุมิตร ปิติพัฒน์. (2547). ความก้าวหน้าของการศึกษาชนชาติไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน: ประเด็นทางวัฒนธรรมกับทฤษฎีถิ่นกำเนิดไทย. ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, โครงการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 81 พรรษา เรื่อง ความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน, วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2547.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2547ก). การตั้งถิ่นฐานของคนไตในภาคตะวันตกของมณฑลยูนนานและภาคเหนือของเวียดนามกับการแพร่กระจายของภาษาและวัฒนธรรมไตสู่เอเชียอาคเนย์. ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, โครงการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 81 พรรษา เรื่อง ความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน, วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2547.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2547ข). “ปรากฏการณ์แม่น้ำแดง” เค้าโครงความคิดเรื่องประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์และภาษาของคนไตในภาคตะวันตกของมณฑลยูนนานและพม่าตอนบน. ใน โครงการสัมมนา เรื่อง ถกทฤษฎีใหม่ เรื่องของคนไตในมณฑลยูนนานและพม่าตอนบน, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2561). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. วนิดาการพิมพ์.

Goodman, J. (2009). Yunnan China South of the Clouds. Odyssey.

National Tourism Geographic. (2020). Honghe in Yunnan: Beautiful Huayao Dai [Picture]. http://m.cntgol.com/pcarticle/247998

Sogou Encyclopedia. (2020). Huayao Dai. https://baike.sogou.com/v7615569.htm

Wu, Q. 吴乔. (2011).宇宙观与生活世界: 花腰傣的亲属制度, 信仰体系和口头传承. 中国社会科学出版社.

Xu, H. 许洪畅. (2010). 元江流域傣族历史源流族称及其流迁状况初考. 自元江哈尼族彝族 傣族自治县傣族协会 (编), 云江哈元江傣族文化 (pp. 71-84). 云南民族出版社.

Zheng X. (2002). The culture of the Huayao Dai and its prospects – comparative research on the cultural characteristics of the Dai people living in the upper reaches of the Red River. Manusya: Journal of Humanities, 5(2), 6-14.