จาก จนกว่าเราจะพบกันอีก ถึง แลไปข้างหน้า : การศึกษาการพัฒนาศิลปะการสร้างนวนิยายเพื่อชีวิตของศรีบูรพา

Main Article Content

เซิ่งหยาง อู๋

บทคัดย่อ

ท่ามกลางพายุร้ายของการเมืองเผด็จการในช่วงทศวรรษ 2490 ศรีบูรพาปรับเปลี่ยนแนวการสร้างนวนิยายเป็นแนววรรณกรรมเพื่อชีวิต การศึกษาในออสเตรเลียทำให้เขาตระหนักว่า การประยุกต์ใช้ปรัชญามาร์กซิสต์ในการปฏิรูปสังคมเป็นทางออกของไทย การสร้างนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง จนกว่าเราจะพบกันอีก ถือได้ว่าเป็นการชูทฤษฎีก่อน เพื่อถ่ายทอดความคิดมาร์กซิสต์อย่างเป็นขั้นตอนให้แก่ผู้อ่านที่มีการศึกษาระดับหนึ่งแล้ว โดยประยุกต์ใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคคลของนักข่าว กล่าวคือ ผู้แต่งให้โกเมศ ตัวเอกชาย ซึ่งแสดงบทบาทเป็นตัวแทนของผู้แต่งมาเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ และโดโรที ตัวเอกหญิงซึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้อ่านนวนิยายไทยมาเป็นผู้สัมภาษณ์ หลังจากศรีบูรพากลับจากออสเตรเลีย การปฏิบัติตามปรัชญามาร์กซิสต์อย่างต่อเนื่องและแข็งขันทำให้ศรีบูรพาถูกจับกุม แลไปข้างหน้า ถือกำเนิดในคุก เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ตอบโต้ สี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งประสบความสำเร็จในการสะท้อนภาพที่งดงามของสังคมจารีตประเพณีที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง โดยผ่านการเล่าเรื่องชีวิตครอบครัวชนชั้นสูง และด้วยวิธีหวนรำลึกถึงความหลัง ศรีบูรพาใช้วิธีทบทวนชีวิตของเขาโดยนำเสนอภาพชีวิตทางสังคมในวงกว้าง ทั้งชื่นชมคุณูปการการเมืองระบบเก่าได้สร้างไว้ ยอมรับความเป็นจริงทางสังคมซึ่งยังคงเป็นสังคมจารีตประเพณี และที่สำคัญคือ เน้นการมองไปข้างหน้า ส่งเสริมให้คนที่มีความรู้ความสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน ตัวละครหลาย ๆ ตัวในเรื่องมีบุคลิกลักษณะคล้ายกับผู้ประพันธ์ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ศรีบูรพาประยุกต์ใช้ความรู้มาร์กซิสต์ในการสร้างงานเป็นอย่างดี จนเป็นการผลักดันศิลปะการสร้าง นวนิยาย “เพื่อชีวิต” ของเขาไปสู่จุดสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อู๋ เ. (2023). จาก จนกว่าเราจะพบกันอีก ถึง แลไปข้างหน้า : การศึกษาการพัฒนาศิลปะการสร้างนวนิยายเพื่อชีวิตของศรีบูรพา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 222–250. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.39
บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ สายประดิษฐ์. (2545). เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475. มิ่งมิตร.

เจตนา นาควัชระ. (2514). วรรณคดีวิจารณ์และการศึกษาวรรณคดี. โครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2549). ประวัติการเมืองไทย 2475-2500. เรือนแก้ว.

ชููศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). บันไดแห่งความรัก: เธอลิขิตชีวิตบนหลุมศพสมบูรณาญาสิทธิราชย์. ใน สันต์ เทวรักษ์ (บรรณาธิการ), อ่าน-อาลัย (น. 106-135). อ่าน.

ชููศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2545). อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

เซิ่งหยาง อู๋. (2565). อ่านใหม่ ข้างหลังภาพ: โศกนาฏกรรมแบบไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 24-42.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2548). “ศรีบูรพา” กับพัฒนาการนวนิยายไทย. ใน ตรีศิลป์ บุญขจร (บรรณาธิการ), คืออิสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา รำลึก 100 ปีชาตกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 290-317). สำนักงานคณะอนุกรรมการฝ่ายประสานงานโครงการ 100 ปี กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา).

ศรีบูรพา. (2492). สงครามชีวิต. สุภาพบุรุษ.

ศรีบูรพา. (2517). แลไปข้างหน้า ภาคปฐมวัย. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย.

ศรีบูรพา. (2548). จนกว่าเราจะพบกันอีก. ดอกหญ้า.

สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ. (2550). “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2. โอเพ่นโซไซตี้.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2549). สี่แผ่นดิน: “ความเป็นไทย” และความหมายทางการเมือง. ในธเนศ วงศ์ยานนาวา (บรรณาธิการ), จักรวาลวิทยา: บทความเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 118-119). มติชน.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2561). วรรณคดีศึกษา : จากพื้นผิว ถึงโครงสร้าง สู่อุดมการณ์. ภาพพิมพ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2516). กลับไปอ่านนวนิยายของศรีบูรพา. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 11(7), 68-72.

Smyth, D. (2019). Kulap Saiphradit (‘Siburapha’) journalist & writer in early 20th century Siam. White Lotus.

Smyth, D. (2004). Khang Lang Phap and the critics: Thai readings of a classic novel. ENGGARA, 47/48, 172-182.

Gong, H. 龚浩群. (2019). Buddhism an its Others: A study of religion and society in Modern Thailand [佛与他者: 当代泰国宗教与社会研究]. Socail Science Academic Press.

Luan, W. 栾文华. (1998). History of Thai Literature [泰国文学史]. Socail Science Academic Press.

Siburapha 西巫拉帕. (1998). Look Forward (Q. Senjie, Y. Youli, & Er. Dong, Trans.). Translation Publishing House. (Original work published 1955).

Vatikiotis, M. 瓦提裘提斯 迈克尔. (2021). Blood and silk: Power and conflict in modern Southeast Asia [季风吹拂的土地: 现代东南亚的碎裂与重生] (X. Zhang, Trans.). Shang Hai People Press. (Original work published 2017).