ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบ รวมทั้งจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนเมืองเชียงตุงในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทขึนจังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย และจัดทำแผนที่ภาษาศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึน ผลการศึกษาพบว่าระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนมีการแปรไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 6 ระบบวรรณยุกต์ และสามารถจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนดังกล่าวโดยใช้เกณฑ์การแยกเสียงรวมเสียงระหว่างวรรณยุกต์ B กับ DL ออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 BDL123-4 กลุ่มที่ 2 BDL1234 และกลุ่มที่ 3 B1234, DL123-4 และใช้เกณฑ์จำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ สามารถจัดระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระบบวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง และระบบวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง รวมทั้งนำเสนอผลการจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนในรูปแผนที่ภาษาศาสตร์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา ติงศภัทิย์. (2540). แผนที่ภาษาศาสตร์กับการศึกษาภาษาไทยถิ่น [เอกสารนำเสนอ]. ผลงานวิจัยแผนที่ภาษาและแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย: อดีต-ปัจจุบัน, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย.
ทวี สว่างปัญญางกูร. (2527). ตำนานเมืองเชียงตุง. ม.ป.ท.
ผณินทรา ธีรานนท์. (2545). เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9.วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 21(1), 32-46.
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วีระชาติ พาจรทิศ. (2553). ประวัติการตั้งบ้าน-วัด-โรงเรียน ของชาวไทเขินบ้านป่าป้อง (พิมพ์ครั้งที่ 8). ม.ป.ท.
ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์. (2555). การปรับค่าความถี่มูลฐานโดยการแปลงค่าเฮิรตซ์เป็นเซมิโทน: แนวทางในการเสนอผลการวิเคราะห์วรรณยุกต์. The Journal: Journal of the Faculty of Arts, 8(2), 19-46.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2543). ภูมิศาสตร์ภาษาไทยถิ่น. มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท.
อเนก ปวงคำ. (2559). เอกสารแนะนำการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไทขึนลุ่มน้ำขาน บ้านต้นแหนน้อย [สำเนา]. ม.ป.ท.
Egerød, S. (1959). Essentials of Khün phonology and script. Acta Orientalia, 24, 123-146.
Falk, J. (1973). Linguistics and Language: A Survey of Basic Concepts and applications. Xerox college Publishing.
Gedney, W. (1972). A checklist for determining tones in Tai dialects. In M. Estellie Smith (Ed.), Studies in Linguistics in Hornor of G L., Trager (pp. 423-437). Mouton. http://sealang.net/sala/archives/pdf8/gedney1989checklist.pdf
Hartmann, J. F. (1980). A model for the alignment of dialects in Southwestern Tai. Journal of Siam Society, 68, 72-86.
Hudak, T. J. (Ed.). (1994). William J. Gedney's Southwestern Tai dialects: Glossary, texts, and translations. Center for South and Southeast Asian Studies, University of Michigan.
Kullavanijaya, P., & L-Thongkum, T. (2000). Linguistic criteria for determining Tai ethnic groups: Case studies on central and south-western Tais. Mahidol University, Institute of Language and Culture for Rural Development.
Li, F. K. (1977). A handbook of comparative Tai. The University of Hawaii Press.
Owen, R. W. (2008). Language Use, Literacy and Phonological Variation in Khuen [Master’s Thesis]. Payap University.
Petsuk, R. (1978). General Characteristics of The Khün Language [Master’s Thesis]. Mahidal University.