การปรับตัวด้านศิลปวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนตามสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองสุไหงโกลก

Main Article Content

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์
ปัญญา เทพสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองสุไหงโกลกและศึกษาการปรับตัวเพื่อดำรงรักษาอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนตามสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองสุไหงโกลกทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม มุ่งแสวงหาความจริงด้วยกระบวนทัศน์แนวปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเมืองสุไหงโกลกไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 15 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่เมืองสุไหงโกลก 2 คน กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า 5 คน กลุ่มเยาวชนไทยเชื้อสายจีน เมืองสุไหงโกลก 5 คน รวมทั้งหมด 27 คน ผลการวิจัยพบว่าสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองสุไหงโกลกส่งผลต่อการปรับตัวด้านศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาจีนเพื่อทำการค้าแทนการสื่อสารภายในครอบครัว 2) ประเด็นสังคม มีการปรับเปลี่ยนความเชื่อเดิมในวัตถุมงคลให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม มีการปรับเปลี่ยนช่องทางการประกอบพิธีกรรมผ่านโลกออนไลน์ และมีการลดขั้นตอน รวมถึงเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีกรรมตามสภาพโครงสร้างครอบครัว และ 3) ประเด็นวัฒนธรรม มีการจัดทหารคอยคุ้มกันในการจัดงานประเพณีจีน การจัดเฝ้าเวรยามดูแลความเรียบร้อย และการตั้งจุดตรวจค้นสัมภาระ เหล่านี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างครอบครัวของชาวไทย เชื้อสายจีนในพื้นที่เมืองสุไหงโกลก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จิตวิบูลย์ พ., & เทพสิงห์ ป. (2023). การปรับตัวด้านศิลปวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนตามสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมเมืองสุไหงโกลก . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 169–187. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.7
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวัตร อินทร์ภักดี. (2559). พรานบุญ: การประกอบสร้างความหมายและการกลายมาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(2), 323-341.

เทศบาลเมืองสุไหงโกลก. (2564). ประวัติความเป็นมาเมืองสุไหงโกลก. http://www.kolokcity.go.th

ปัญญา เทพสิงห์, และ เก็ตถวา บุญปราการ. (2560). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษางานสมโภชเจ้าแม่โต๊ะโมะ เมืองสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 36(1), 493-505.

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์. (2559). ประเพณีเช็งเม้ง: คุณค่าต่อสังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองหาดใหญ่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

แพรวา รัตนทยา. (2564). แรงจูงใจและกลวิธีการเรียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 1-9.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2558). กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจการค้าชายแดนที่ประสบความสำเร็จ โครงการจัดทำมาตรการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน. https://www.sme.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2561. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/SYB-2018/index.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2564. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/SYB-2564/index.html

อภิรัฐ บุญศิริ. (2559). วิถีชีวิตของครอบครัวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ ความไม่สงบชายแดนใต้: กรณีศึกษาเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต้จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2557. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 237-254.

Berry, J. W., Kim, U., Minde, T., & Mok, D. (1987). Comparative studies of acculturative stress. International Migration Review, 21, 491-511.

Buakaew, J., & Janjula, J. (2015). Informal Learning of Thai Chinese in Songkhla Province through Qingming Tradition. Asia Social Science, 11(12), 144-154.

Cohen, A. (1969). Political anthropology: The analysis of the symbolism of power relations. Man, 4, 215-235.

Gudykunst, W. B., & Kim, Y. Y. (1988). Theories in intercultural communication. Sage.

Kim, U. (1995). Psychology, Science, and Culture: Cross-Cultural Analysis of National Psychologies. International Journal of Psychology, 30(6), 663-679.

Skinner, G. W. (1957). Chinese Society in Thailand: An Analytical History. Cornell University Press.