เรียนรู้วิกฤติสาธารณภัยโควิด-19: บันทึกอารมณ์และความคิด ผ่านการสืบสรรค์วรรณศิลป์ในบทเพลงไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อประสบการณ์ทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนในวิกฤตการณ์สาธารณภัยโควิด-19 การสื่อ “สาร” และมุมมองเกี่ยวกับชีวิตและสังคมในสถานการณ์ดังกล่าว โดยศึกษาจากบทเพลงไทยร่วมสมัย ซึ่งปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ www.youtube.com ทั้งหมด 259 เพลง (แนวเพลงลูกทุ่ง เพลงพ๊อพ, เพลงร็อค เพลงแรป ฯลฯ) ระยะเวลาการเก็บข้อมูลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 - เดือนพฤษภาคม 2564 ผลการวิจัยพบว่าบทเพลงไทยร่วมสมัยในสื่อสังคมออนไลน์มีมิติของการสืบสรรค์วรรณศิลป์เพื่อสื่อประสบการณ์ทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนในวิกฤตการณ์สาธารณภัยโควิด-19 ได้แก่ ความหวาดกลัว วิตกกังวล และทุกข์ใจท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ความรัก คิดถึง ห่วงใยในสถานการณ์วิกฤติของโรคโควิด-19 ความเหงา เศร้า เสียใจ และหดหู่ในวิกฤตการณ์ที่เกิดจากโรคโควิด-19 ความรังเกียจโรคร้ายโควิด-19 ความเบื่อหน่ายในบริบทของโควิด-19 และอารมณ์ขันในห้วงเวลาวิกฤติโควิด-19 ส่วนการสื่อ “สาร” ในสังคมไทยในวิกฤตการณ์สาธารณภัยโควิด-19 มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อ “สาร” คือ การป้องกันการติดเชื้อ การให้กำลังใจ การเตือนภัย การยกย่องและขอขอบคุณบุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข และการประชาสัมพันธ์ให้ฉีดวัคซีน ในด้านมุมมองเกี่ยวกับชีวิตและสังคมในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 พบว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคร้ายทำลายและคุกคามมนุษย์ ส่งผลกระทบเป็นปัญหาด้านการงานและการเงิน คนไทยควรร่วมมือกันต้านภัยร้ายและมีจิตสำนึกแบ่งปัน ขอผู้นำบ้านเมืองฟังเสียงความเดือดร้อนของประชาชน วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขับไล่โรคร้ายออกจากชีวิตและสังคมไทย ปัญหาการบริหารจัดการของภาครัฐ การเรียน-สอนออนไลน์สู่วิถีชีวิตปกติใหม่ของครู-นักเรียน ด่านทดสอบชีวิตมนุษย์ และหวังไว้ไทยต้องชนะโรคโควิด-19
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 1. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
แก้ว มดคันไฟ. (7 มกราคม 2564). โควิดปิดเมือง. Youtube. https://youtu.be/RAqZfn_wcSQ
แกะรอยโควิดไทย ระบาดครั้งที่ 3 แล้ว. (18 เมษายน 2564). มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2678087
ไข่ ทองคำ. (30 มีนาคม 2563). หยุดเชื้อเพื่อชาติ. Youtube. https://youtu.be/CANplKU0e5E
จ๊อบ ทูดู. (11 กุมภาพันธ์ 2564). มาไซร (โควิด). Youtube. https://youtu.be/jYw4PxRoD-0
จินตหรา พูนลาภ. (23 มีนาคม 2563). โควิดมาน้ำตาไหล. Youtube. https://youtu.be/UNAWZ_ahNSY
ณกรณ์ ชูรักษ์. (27 มีนาคม 2563). ฝ่าวิกฤตโควิด-19. Youtube. https://youtu.be/1MEfVHCng1Q
แตงกวา นวภรณ์. (11 พฤษภาคม 2564). โควิดมาซ้ำ. Youtube. https://youtu.be/dcSGE6Vx9y0
เทพไท เสนพงศ์. (22 มกราคม 2564). หย๊บ อยู่บ้าน (หลบอยู่บ้าน). Youtube. https://youtu.be/tnGPd7qbC2g
ธนกฤต พานิชวิทย์. (29 เมษายน 2563). วิกฤตพีเดีย. Youtube. https://youtu.be/ApiqOIZZVSY
ธเนศ ศรีสวัสดิ์. (22 มีนาคม 2563). อย่าปล่อยให้โควิดลอยนวล. Youtube. https://youtu.be/QofYadB4RiY
ธวัช เมืองเถิน. (25 มีนาคม 2563). กักตัว. Youtube. https://youtu.be/N7fOHDN20e8
ธีรพัฒน์ อังศุชวาล และชัชฎา กำลังแพทย์. (2563). กลไกการอภิบาลทางสาธารณสุขของไทยในการจัดการโควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 37-76.
นิตยา แก้วคัลณา. (2561). การสืบสรรค์ในกวีนิพนธ์ไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรณ. (24 พฤษภาคม 2563). อยู่บ้านต้านโควิด. Youtube. https://youtu.be/EmmSZpH3Eko
บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช. (20 เมษายน 2563). ถอดบทเรียนวิกฤติโควิด-19 (Lession Learned from COVID-19). มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_297551
บุพเพสันนิวาส แปลง สู้โควิด. (19 มีนาคม 2563). Youtube. https://youtu.be/s3CUxj3oFYk
ปัญจมาสน์ นิวาเวศน์. (28 กุมภาพันธ์ 2563). พักก่อน COVID-19. Youtube. https://youtu.be/mQji8UlTeuw
ปราโมทย์ ปาทาน. (19 มีนาคม 2563). แอบนอยด์. Youtube. https://youtu.be/mA1xqS1-_J8
ปราโมทย์ ปาทาน. (8 พฤษภาคม 2564). เลือก (วัคซีน) ได้ไหม. Youtube. https://youtu.be/A4SafB3m-Ew
พัศศักดิ์ คงตุก. (30 เมษายน 2564). โควิดทำน้อง. Youtube. https://youtu.be/Q4XVBHbkdcU
พี สะเดิด. (6 เมษายน 2563). ไวรัสวายร้าย. Youtube. https://youtu.be/jqi1wniFdK0
เพชรสาคร นครชัย. (29 เมษายน 2564). โควิดติดแล้วช้ำ. Youtube. https://youtu.be/RZMaMhJdgy0
เพลงเกี่ยวกับโควิด - 19 ของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (22 มีนาคม 2563). VOVWORLD. https://vovworld.vn/th-TH/เพลง/เพลงเกี่ยวกับโควิด-19-ของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-836989.vov
ฟิซ วงทับสอง. (29 ธันวาคม 2563). โควิดเอ่ย. Youtube. https://youtu.be/nsHCaZc21HY
แฟนต้า พันธ์ประทุม.(2 เมษายน 2563). โควิด-19. Youtube. https://youtu.be/oxi6Tw40Pa0
ภิญโญ เพชรชุมพร. (15 เมษายน 2564). โควิดชีวิตคนจนเศร้า. Youtube. https://youtu.be/FQbFjWv4fcM
มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร. (29 มีนาคม 2563). นักรบในชุดขาว. Youtube. https://youtu.be/FL4RsKt5qmc
ยายแปน พันบุปผา. (14 เมษายน 2564). ลำกลอนโควิด. Youtube. https://youtu.be/ecdv2ZRsepA
ยายแหลม ลำล่อง. (24 มีนาคม 2563). เตือนภัยโรคระบาด. Youtube. https://youtu.be/IpU4aJvTdE8
วีร์ พวงเพิกศึก. (17 พฤษภาคม 2564). แม่โจ้โพลล์ เผยคนไทยส่วนมากบอกภาครัฐบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ล่าช้า อยากฉีดวัคซีนโควิดของ “ไฟเซอร์” มากสุด. cm108. https://www.cm108.com/w/49761/
ไวรัสโคโรนา: อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็น “การระบาดใหญ่” ทั่วโลก. (12 มีนาคม 2563). BBC NEWS. https://www.bbc.com/thai/international-51838536
สรุปจุดเริ่มต้นโควิดระบาดรอบ 3. (13 เมษายน 2564). ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/main/detail/99304
สมพงศ์ วงลูกคลัก. (21 มีนาคม 2563). โควิด-19 ไวรัสมรณะ. Youtube. https://youtu.be/a-IzOmdDvGQ
สุดารัตน์ พรมสีใหม่. (2563). ‘ดนตรีนั้นคือชีวิต’ เมื่อชาวโลกสร้างเพลงเกี่ยวกับโควิด-19 จนเป็นกระแส pandemic pop. a day. https://adaymagazine.com/covid-music/
สุธิราช วงศ์เทวัญ. (8 เมษายน 2563). โควิด กูจะติดมั๊ย (cover ใจจะขาด). Youtube. https://youtu.be/lDm9atyJA3s
แสน ราชสีห์. (25 เมษายน 2564). ส่งหัวใจไปให้กัน(สู้ภัยโควิด-19). Youtube. https://youtu.be/V9DJmwU3aC8
หนังศักดิ์ เสรีศิลป์. (10 เมษายน 2564). ติดคนรวยซวยคนจน. Youtube. https://youtu.be/R5txrP_wZV0
หนุ่ม กะลา. (12 เมษายน 2563). มีแต่โควิด. Youtube. https://youtu.be/4oqfu6cdpnk
อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์. (13 เมษายน 2563). ความคิดสร้างสรรค์ บันเทิงสารสนเทศในวิกฤตโควิด. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.chula.ac.th/cuinside/29550/
อานนท์ นาคคง. (18 พฤษภาคม 2563). วิกฤติ COVID-19 ผลกระทบต่อสังคมดนตรีของไทย. Bangkok Life News. https://www.bangkoklifenews.com/17195787/วิกฤติ-covid-19-ผลกระทบต่อสังคมดนตรีของไทย-‘อานันท์-นาคคง’
เอ็ดดี้ ตลาดแตก. (21 มีนาคม 2563). โคหวิด อิดใจ. Youtube. https://youtu.be/9gW5KUPCEDI
แอ๊ด คาราบาว. (19 มีนาคม 2563). รวมใจไทยข้ามโควิด-19. Youtube. https://youtu.be/7jkvmq-RZvE
แอมป์ ศิวา. (25 มีนาคม 2563). โควิดเฮ็ดให้คิดฮอด. Youtube. https://youtu.be/F-i038HDaxY
BoydTonG. (7 เมษายน 2563). เธอ. Youtube. https://youtu.be/PHog161kjfU
EARTHLOLLIPOP. (21 มีนาคม 2563). พักก่อน-Parody. Youtube. https://youtu.be/r5qFgEf3HMk
KH Bannaa. (19 เมษายน 2563). เธอคือโควิด. Youtube. https://youtu.be/Y1lqF5usgy8
Kheaw Kheaw. (24 มีนาคม 2563). โควิดอาละวาด. Youtube. https://youtu.be/tOidqheqzYI
Peeranat Chansakoolnee. (9 เมษายน 2564). Britney Spears ผุดไอเดียสุดสร้างสรรค์ แปลงเนื้อเพลงดังของตัวเองตอกย้ำให้คนอยู่บ้านช่วงโควิด-19. VOGUE Thailand. https://vogue.co.th/fashion/article/babyonemoretimecovid19
Polarbearstudios. (11 มกราคม 2563). ขอบคุณค่ะ. Youtube. https://youtu.be/FT0g4GyVnRk
RACHKOOB FT. SAIDEX. (9 พฤศจิกายน 2563). โควิดอาละวาด. Youtube. https://youtu.be/LsO9slBzL7w