วาทกรรม “โควิด 19” ในการ์ตูนขายหัวเราะ ชุด “KnowCovid : รู้ทันโควิด”: สื่อเผยแพร่อุดมการณ์รัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาวาทกรรมโรคโควิด 19 ในการ์ตูนขายหัวเราะ ชุด “KnowCovid : รู้ทันโควิด” ที่รัฐเป็นผู้เผยแพร่ โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผู้วิจัยพบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวน 6 วิธี คือ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้รูปแบบประโยค กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ประกอบด้วยอุปลักษณ์ ปฏิพากย์ และใช้คำขวัญ อีกทั้งมีการสื่อมูลบท การสื่อความหมายด้วยภาพ และกลวิธีสร้างมุกตลก 5 วิธี คือ การล้อเลียนสิ่งที่อยู่ในสังคม การสร้างสถานการณ์ที่เกินความเป็นปกติ การพลิกความคาดหมาย การทำผิดขั้นตอน และการเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ผลิตสร้างและเผยแพร่ชุดความคิดหลักสามชุดเพื่อประโยชน์และความมั่นคงของรัฐ ประกอบไปด้วยรัฐมีมาตรการควบคุมโรคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาโรคโควิด 19 จึงต้องมีหน้าที่ร่วมกันแก้ไขตามมาตรการรัฐ และโรคโควิด 19 มีสถานะเป็นศัตรูที่สามารถต่อสู้หรือควบคุมจัดการได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). โรคโควิด19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการ ติดเชื้อ. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
จันทิมา อิงคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์. (2563). สุขภาพและสงครามภายใต้การนำทางของผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข: การประสานกันของชุดความคิดและเครือข่ายตัวแสดงเพื่อการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 77-117.
นันทวรรณ ทองเตี่ยง. (2563). นัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2553). โครงการวาทกรรม “ความเป็นผู้หญิง” ในนิตยสารสุขภาพและความงามภาษาไทย (รายงานการวิจัย). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรษา ภักตรนิกร. (2562). กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออุดมการณ์การเมืองในการ์ตูนตลกรายสัปดาห์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 91-111.
อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และอาทิตย์ ธรรมชาติ (บรรณาธิการ). (2563). KnowCovid : รู้ทันโควิด. ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.
Fairclough, N. (1995). Media Discourse. Arnold.
Halliday, M. (1978). Language as social semiotic. Edward Arnold.
Hymes, D. (1974). Towards Ethhnographies of Communication. In Dell H. (ed.), Foundations in Sociolinguistics (pp. 3-27). University of Pennsylvania.
Van Dijk, Tuen A. (2006). Discourse and Manipulation. Discourse and Society, 17(2), 359-383.
Van Dijk, Tuen A. (2009). Critical Keywords in Literary and Cultural Theory. Palgrave Macmillan.