การเผยแพร่และการเข้าถึงข้อมูลบริการสาธารณะของชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศญี่ปุ่นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19: บทวิเคราะห์และกระบวนการปฏิบัติเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

สุวัธน์ เรืองศรี
สมเกียรติ เชวงกิจวณิช

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษานโยบาย ช่องทางและรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลบริการสาธารณะ รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลการดูแลสุขภาพของชาวไทยและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลสำรวจพบว่า รัฐบาลญี่ปุ่นใช้ 5 ช่องทางหลักในการเผยแพร่ข้อมูลบริการสาธารณะและความปลอดภัยด้านสุขภาพแก่พลเมืองชาวต่างชาติ ได้แก่ เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย คู่มือสำหรับชาวต่างชาติ ศูนย์ให้คำปรึกษาแก่ชาวต่างชาติ และล่ามทางโทรศัพท์ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวไทยจำนวน 179 คน ที่พำนักในญี่ปุ่นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารเหล่านี้


ผลการวิจัยพบว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการแปลข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาต่างประเทศ การใช้ภาษาญี่ปุ่นแบบง่าย และใช้โปรแกรมแปลภาษาอัตโนมัติ โดยหน่วยงานท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางดังกล่าวในการเผยแพร่ข้อมูลด้านบริการสาธารณะและความปลอดภัย


เกี่ยวกับช่องทางการบริการและสื่อสาร ชาวไทยในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารจากคู่มือสำหรับชาวต่างชาติ เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ และสื่อโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ แม้คนไทยในญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลบริการสาธารณะทั่วไปได้ในระดับหนึ่ง แต่ร้อยละ 31.4 ไม่เคยได้รับข้อมูล


เกี่ยวกับโรคโควิด-19  ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่น โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 50 ที่เข้าใจข้อมูลซึ่งเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น และประมาณร้อยละ 64-65 ที่เข้าใจข้อมูลซึ่งจัดทำด้วยภาษาญี่ปุ่นแบบง่ายและฉบับแปลเป็นภาษาไทย


การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับบริการสาธารณะและการดูแลสุขภาพอย่างรวดเร็วและเข้าใจง่ายเป็นสิ่งจำเป็นต่อความปลอดภัยของบุคคลและชุมชนในช่วงที่มีโรคแพร่ระบาด บทความนี้ได้สรุปข้อเสนอแนะเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐปรับปรุงช่องทางการสื่อสารสาธารณะและข้อมูลที่จัดทำให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เรืองศรี ส., & เชวงกิจวณิช ส. (2022). การเผยแพร่และการเข้าถึงข้อมูลบริการสาธารณะของชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศญี่ปุ่นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19: บทวิเคราะห์และกระบวนการปฏิบัติเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 205–235. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.10
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2021). ความสามารถในการแปลความหมายระดับข้อความของ Google Translate ระบบ Neural Machine Translation จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 21(1), 90-113.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, และไททัศน์ มาลา. (2561). แนวทางการบริการสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการที่ดีแก่ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8, 147-157.

Burns, A., & Kim, M. (2011). Community accessibility of health information and the consequent impact for translation into community languages. Translation and Interpreting, 3, 58-75.

Daniel, T. (2016). Defining ‘Community’ for Community Translation. New Voices in Translation Studies, 14, 190-209.

Di Biase, B. (1987). Translating for the community. Australian Review of Applied Linguistics, 4, 52-65.

Fraser, J. (1993). Public Accounts: Using Verbal Protocols to Investigate Community Translation. Applied Linguistics, 4, 325-43.

Gaikokujin kyousei, shien ni okure, shuyou-shi-ku ni semmon madoguchi nashi 6 wari. (2019, February 8). Nihon Keizai Shimbun. https://www.nikkei.com/article/DGXMZO41050020X00C19A2MM8000 [in Japanese]

Iida, N. (2012). Taijin-bamen no komyunitei tsuuyaku ni okeru itsudatsu koui no bunseki. Core Ethics, 8, 27-39. [in Japanese]

Immigration Services Agency of Japan. (2020). Zairyuu gaikokujin toukei (Kyuu-touroku gaikokujin toukei). https://www.e-stat.go.jp/stat-search/files?page=1&layout=datalist&toukei=00250012&tstat=000001018034&cycle=1&year=20200&month=12040606&tclass1=000001060399&tclass2val=0 [in Japanese]

Ishikawa, H. (2011). Tatewari o tsunagi, kyoudou o tsukuridasu -Kiyose-shi ni okeru koodineitaa no hitsuyousei to shokusei. Series tagengo-tabunka kyodo jissen kenkyu, 14, 107-120. [in Japanese]

Itabashi-ku. (2019). Itabashi-ku tabunka kyousei ni kansuru ishiki chousa houkokusho. Itabashi-ku bunka kokuzai kouryuu-ka. [in Japanese]

Jichi gyousei-kyoku kokusai-shitsu. (2020a). Chiiki ni okeru tabunka kyousei suishin puran kaitei no pointo. Ministry of Internal Affairs and Communications. [in Japanese]

Jichi gyousei-kyoku kokusai-shitsu. (2020b). Chiiki ni okeru tabunka kyousei suishin puran (kaitei). Ministry of Internal Affairs and Communications. [in Japanese]

Jinken Kyoiku Keihatsu Suishin Center. (2017). Heisei 28 nendo houmushou itaku chousa kenkyuu jigyou. Gaikokujin juumin chousa houkokusho (teiseiban). The Center for Human Rights Education and Training, Public Interest Incorporated Foundation. [in Japanese]

Kawaguchi-shi. (2014). Kawaguchi-shi tabunka kyousei shishin kaiteiban. Kawaguchi shiyakusho shimin seikatsu-bu. [in Japanese]

Kawahara, T. (2007). Gaikokujin juumin e no gengo saabisu to wa. In T. Kawahara & H. Noyama (Eds.), Gaikokujin juumin e no gengo saabisu -chiiki shakai, jichitai wa tagengo shakai wo dou mukaeru ka. Akashi Shoten. [in Japanese]

Kim, M. (2008). Readability Analysis of Community Translation: A systemic functional approach. International Journal of Interpretation and Translation, 6, 105-134.

Lesch, H. M. (1999). Community Translation: Right or Privilege?. In M. Erasmus (Ed.), Liaison Interpreting in the Community. Van Schaik.

Lesch, H. M. (2004). Societal Factors and Translation Practice. Perspectives: Studies in Translatology, 12, 256-269.

Mizuno, M., & Naito, Mi. (2018). kominyunitei tsuuyaku tabunka kyousei shakai no komyunikeishon (shinsouban). Misuzu Shobou. [in Japanese]

Niska, H. (2002). Community interpreter training: Past, present, future. In G. Garzone & M. Viezzi (Eds.), Interpreting in the 21st Century. Benjamins.

Sakamoto, M. (2008). Saigaiji no takokuseki juumin shien wa doko made kita no ka- nihon ni okeru gengoken no kakuritsu ni mukete. Fukushima daigaku chiiki souzou, 20(1), 4-15. [in Japanese]

Seki, S. (2009). Gaikokujin Soudan [Tsuuyaku] ni motomerareru jouken to kadai. Shiriizu tagengo tabunka kyoudou jissen kenkyuu bessatsu 2. The Center for Multilingual Multicultural Education and Research, Tokyo University of Foreign Studies. [in Japanese]

Shinjuku-ku tabunka kyousei machi zukuri kaigi. (2020). Shingi kekka houkokusho. Chiiki shinkou-bu tabunka kyousei suishin-ka. [in Japanese]

Shoji, S. (2013). Tagengo seisaku: fukusuu gengo no kyouson wa kanou ka. In Tagengo-ka genshou kenkyuukai (Ed.), Tagengo shakai nihon: sono genjou to kadai. Sangensha. [in Japanese]

Someya, Y. (2020). Tsuuyaku no shigoto no iroiro -kaigi tsuuyaku kara kominyunitei tsuuyaku made. http://someya-net.com/01-Tsuyaku/MiscDataFile/HowToBecomeInterpreter/HowToBecomeInterpreter.html [in Japanese]

Taibi, M. (2011). Public Service Translation. In K. Malmkjaer & K. Windle (Eds.), The Oxford Handbook of Translation Studies. Oxford University Press.

Yamamoto, K. (2011a). Process Based Factors of Language Selection for Multilingual Information. Proceedings of Thailand-Japan International Academic Conference, 4, pp. 107-108.

Yamamoto, K. (2011b). A Study of Thai Translators in Japanese Public Service Translation. Proceedings of the 3rd International Conference on Language and Communication, pp. 428-438.

Yamamoto, K. (2011c). Quality assessment of community translation in Japanese context: Functionalist approaches. Journal of Language and Culture, 30(1), 99-122.

Yamamoto, K. (2012). Minor Language Translators’ Relationships with the Users and Recipients in Public Service Translation. Invitation to Interpreting & Translation Studies, 6, 89-106. [in Japanese]

Yamamoto, K. (2015). Gengo shien ni okeru tagengo-ka no kadai to kongo no tenbou. In M. Mizuno & M. Naiyou (Eds.), Komyunitii tsuuyaku: tabunka kyousei shakai no komyunikeishon. Misuzu Shobo. [in Japanese]

Yokohama-shi Seisaku-kyoku. (2014). Heisei 25 nendo Yokohama-shi gaikokujin ishiki chousa, Chousa kekka houkokusho. Yokohama-shi seisaku-kyoku. [in Japanese]