บทบาทชาวพุทธในเรื่องทิศทั้ง 6 : การศึกษาเปรียบเทียบพระสูตรบาลีและพระสูตรภาษาจีน

Main Article Content

วิไลพร สุจริตธรรมกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์พระพุทธศาสนาคู่ขนาน เป็นแนวงานวิจัยที่วิจัยมากขึ้นในปัจจุบัน โดยคัมภีร์คู่ขนาน ประกอบด้วยคัมภีร์สันสกฤต คัมภีร์บาลี และคัมภีร์จีน ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันแต่ถูกถ่ายทอดผ่านต้นฉบับซึ่งมาจากนิกายที่ต่างกัน ในบทความนี้ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาสิงคาลกสูตรอันเป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นพระสูตรที่สำคัญมีผู้สนใจได้แปลในหลายยุคและมีฉบับแปลภาษาต่าง ๆ ประมาณ 25 ฉบับ ซึ่งเป็นพระสูตรที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย การศึกษาสิงคาลกสูตรในส่วนของบทบาทชาวพุทธในเรื่องทิศ 6 ครั้งนี้เป็นการวิจัยคัมภีร์ (documentary research) ที่เปรียบเทียบเฉพาะพระสูตรบาลีและพระสูตรภาษาจีน รวม 5 ฉบับ ได้แก่ 1) ฉบับทีฆนิกาย สิงคาลกสูตร 2) ฉบับทีรฆาคมะ ซ่านเซิงสูตร 3) ฉบับมัธยาคมะ ซ่านเซิงสูตร 4) ฉบับทีรฆาคมะ ที่เป็นฉบับแปลเอกเทศที่ 16 ซื่อเจียหลัวเยฺว่ลิ่วฟางหลี่สูตร หรือพระสูตรว่าด้วยการนอบน้อมทิศ 6 ของสิงคาลก 5) ฉบับทีรฆาคมะที่เป็นฉบับแปลเอกเทศที่ 17 ซ่านเซิงจื่อสูตร ผลการวิจัยพบว่า การเรียงลำดับหัวข้อของแต่ทิศทั้ง 6 มีความเหมือนกัน ในด้านจำนวนข้อของข้อปฏิบัติในแต่ละทิศ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะส่วนของข้อปฏิบัติที่ภรรยาพึงมีต่อสามีและข้อปฏิบัติที่ผู้ใต้ลูกจ้างพึงมีต่อนายจ้าง ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจเป็นผลมาจากการเพิ่มเนื้อหาตามความเข้าใจในพระสูตรอื่นที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน หรือตามแนวคิดและความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้แปล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สุจริตธรรมกุล ว. (2023). บทบาทชาวพุทธในเรื่องทิศทั้ง 6 : การศึกษาเปรียบเทียบพระสูตรบาลีและพระสูตรภาษาจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 515–536. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.49
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มะซึดะ คะซึโนบุ. (2560). “มัธยมอาคมะ” ฉบับสันสกฤตในชิ้นส่วนคัมภีร์ใบลานที่กาฐมาณฑุ. วารสารธรรมธารา, 3(2), 145-171.

พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว). (2543). แม่แบบคนดี: ขุมทรัพย์จากพระไตรปิฎก สิงคาลกสูตร. มูลนิธิธรรมกาย.

วิไลพร สุจริตธรรมกุล. (2564). การวิเคราะห์เปรียบเทียบสายคัมภีร์พระพุทธศาสนาจีนและบาลีของสิงคาลกสูตร. วารสารธรรมธารา, 7(2), 55-101.

Akanuma, C. (1929). The Comparative Catalogue of Chinese Āgama & Pāli Nikāya. Hajinkaku-Shobō.

Anālayo, B. (2011). A Comparative Study of the Majjhima-Nikāya (Dharma Drum Buddhist College Research Series Book 3). Dharma Drum Publishing.

Anālayo, B., Bingenheimer, M., & Bucknell, R. S. (Eds.). (2013).The Madhyama Āgama (Middle-Length Discourses) Vol.1. Numata Center for Buddhist Translation and Research.

Bingenheimer, M., Anālayo, B., Bucknell, R. S. (Eds.). (2013). The Madhyama Āgama (middle-length discourses) volume I. Numata Center for Buddhist Translation and Research.

Hartmann, J.-U. & Wille, K. (2006). A Version of the Śikhālakasūtra/ SingālovādaSutta, Buddhist Manuscript Volume III. Hermes publishing.

Choong, M.-K. (2000).The Fundamental Teachings of Early Buddhism: A Comparative Study Based on the Sutranga Portion of the Pali Samyutta-Nikaya and the Chinese Samyuktagama. Otto Harrassowitz Verlag.

Phrakru Athonkiccaphirak (Chatrchumpho), Phrapraphaspannacamo, & PhrakrasadaKhantiko. (2018). An analytical study of the concept of amiability (COA) in Singkalaka Sutta. Journal of Buddhist Education and Research, 4(2), 1-5.

Taisho Tripitaka Publication Association. (1962). Taishō Shinshū Daizōkyō大正新修大藏经 (Revised Tripiṭaka). Taishō Issaikyō Kankōkai.

Thich, B. M. C. (2009). The Chinese Madhyama Āgama and the Pāli Majjhima Nikāya. Motilal Banarsidas Publishers.

Fan, J. 范晶晶 (2003). 中国古代佛经汉译一场研究——从公元179至1082年. [学博士研究生学位论文]. 北京大.

Ming, H. 明海. (2006).《善生经》导读. 法音, 9, 46-50.

Wang, K. 王开府. (2000).善生经的伦理思想──兼论儒家佛伦理思想之异同. 世界中国哲学学报, 1(1), 57-92.

Shu, D. 舒大刚. (2014). 中华 “国学” 体系构建雏议. 西华大学学报 (哲学社会科学版), 33(5), 1-9.

Zhang, Y. 张宇娴. (2018). 面向人间的伦理—《善生经》佛教人伦思想研究. 云南大学.