อ่านใหม่ ข้างหลังภาพ: โศกนาฏกรรมแบบไทย

Main Article Content

เซิ่งหยาง อู๋

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งความสนใจไปที่ศิลปะการสร้างโศกนาฏกรรมของนวนิยายเรื่อง ข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุสำคัญที่ทำให้นวนิยายเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่ซาบซึ้งจับใจและได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก เมื่อใช้แนวคิดการสร้างเรื่องโศกนาฏกรรมของ Aristotle และหลักกรรมในพระพุทธศาสนามาวิเคราะห์ พบว่า ข้างหลังภาพ เป็นเรื่องโศกนาฏกรรมแบบไทย นวนิยายเรื่องนี้มีองค์ประกอบครบถ้วนทั้ง 3 ประการซึ่งเรื่องโศกนาฏกรรมชั้นเอกต้องมี ได้แก่ 1) ตัวละครเอกต้องเป็นคนดี 2) ตัวละครเอกได้รับโทษหรือความทุกข์อันเนื่องจากทำผิดพลาด    3) ตัวละครเอกเป็นผู้มีความรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกับผู้อ่าน ดังจะเห็นว่า หม่อมราชวงศ์กีรติ นางเอกในเรื่องเกิดในราชสกุล เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมดีงาม และมีความคิดก้าวหน้า ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของคนดีในสายตาของคนทั่วไป เธอได้รับความทุกข์เนื่องจากกรรมที่ตัวเองก่อไว้ ซึ่งไม่ใช่กายกรรมหรือวจีกรรม แต่เป็นมโนกรรม ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ ศรีบูรพาประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน 2 ช่วง ช่วงแรก แต่งไปได้เพียง 12 บท เนื้อเรื่องจบลงตอนนางเอกและพระเอกลาจากกันที่ท่าเรือญี่ปุ่น อารมณ์โศกของเรื่องยังไม่เข้มข้นนัก นางเอกซึ่งเป็นคนดีและมีนิสัยเหมือนคนทั่วไปนั้นกลับมีความคิดและความรู้สึกที่ชัดเจน แต่เลือกที่จะเก็บงำไว้กับเธอเพียงผู้เดียว เท่ากับว่าผู้ประพันธ์ได้ปูพื้นฐานโศกนาฏกรรมที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้อย่างดี ช่วงที่สอง ศรีบูรพาแต่งเติมเรื่องจนกลาย เป็นนวนิยายขนาด 19 บท เรื่องจบลงตอนหม่อมราชวงศ์กีรติเสียชีวิต ซึ่งสะท้อนให้เห็นธรรมชาติของมนุษย์ว่า กอปรไปด้วยกิเลสตัณหาและยึดมั่นในอัตตา จนทำให้หม่อมราชวงศ์กีรติประสบโศกนาฏกรรมแห่งความรัก นางเอกเป็นปุถุชนซึ่งไม่รู้แจ้งความจริงแห่งชีวิต ทำให้ผู้อ่านบังเกิดความประทับใจอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง จนทำให้นวนิยายโศกนาฏกรรมเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากผู้อ่านจำนวนมากจากรุ่นสู่รุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อู๋ เ. (2022). อ่านใหม่ ข้างหลังภาพ: โศกนาฏกรรมแบบไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 24–42. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.13
บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ สายประดิษฐ์. (2545). เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475. มิ่งมิตร.

เจตนา นาควัชระ. (2521). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี. ดวงกมล.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2549). ประวัติการเมืองไทย 2475-2500. เรือนแก้ว.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2527). ตามรอย “ข้างหลังภาพ”. ศิลปวัฒนธรรม, 5(3), 40-43.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). บันไดแห่งความรัก: เธอลิขิตชีวิต บนหลุมศพสมบูรณาญาสิทธิราชย์. อ่าน-อาลัย. อ่าน, 106-135.

ปิ่น มาลากุล, หม่อมหลวง. (2521). อธิบายพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. คุรุสภาลาดพร้าว.

ศรีบูรพา. (2543). ข้างหลังภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 35). ดอกหญ้า.

ศรีบูรพา. (2492). สงครามชีวิต. สุภาพบุรุษ.

ศรีบูรพา. (2555). ข้างหลังภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 46). ดอกหญ้า.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2. โอเพ่นโซไซตี้.

เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป. (2542). กามนิต-วาสิฏฐี (คำปรารภ ของ ส.ศิวรักษ์). ศยาม.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2552). ข้างหลังภาพ หม่อมราชวงศ์กีรติ....ผู้อิ่มใจในรัก. นวนิยายนิทัศน์.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Curran, Angela [美]安哥拉•卡兰著. (2003). 布莱希特论亚里士多德的悲剧美学,麦永雄译.马克思主义美学研究, (6), 328-350.

Gong Haoqun 龚浩群. (2011). 佛教与社会:佛使比丘与当代泰国公民-文化身份的重构,世界宗教文化, (1), 68-73.

Harrison, R. (1999). The Son of a Javanese: Translating and Positioning “Luuk Chaai Khon Chawaa” in a Comparative Literary Frame, South East Asia Research, 7(2), 157-188.

Luan Wenhua 栾文华. (1998). 泰国文学史,北京:社会科学文献出版社。

Smyth, D. (2019). Kulap Saiphradit ('Siburapha') Journalist & Writer in early 20th Century Siam. White Lotus.

Smyth, D. (2004). Khang Lang Phap and the Critics: Thai Readings of a Classic Novel. ENGGARA, Vol. 47/48: 172-182.

Visalo, Phra Phaisan. (2006, May 28). The Legacy of Thailand’s Reformist Monk. Bankok Post. p. 5.

Wang Xiangyuan 王向远. (2013). 日本之文与日本之美,北京:新星出版社。