การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนต้นแบบ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 3) ประเมินและยืนยันรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ผลการศึกษาบริบทชุมชนต้นแบบทุกแห่งมีอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี ควรเริ่มจากกลุ่มผู้นำและให้สมาชิกมีส่วนร่วมใน การพัฒนาเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน โดยการเปิดเวทีชาวบ้าน ประชุมสร้างเครือข่ายและประชุมเชิงปฏิบัติการ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มคณะกรรมการการท่องเที่ยว นำไปสู่การแบ่งส่วนงานออกเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายฐาน การเรียนรู้ ฝ่ายมัคคุเทศก์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายอาหารและสินค้าที่ระลึก ฝ่ายที่พักและยานพาหนะ รวมทั้งร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวทำให้เกิดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนขึ้น และประเมินผลการจัดท่องเที่ยวนำร่องเพื่อตรวจยืนยันถึงผลสะท้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งในท้ายสุดได้รูปแบบ NA-MUENSI Model เป็นรูปแบบการจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าตามบริบทของชุมชน เพื่อความยั่งยืนต่อการนำไป ใช้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนนาหมื่นศรี
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว. (2553). คู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. ม.ป.พ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562, จาก http://www.farmdev.doae.go.th/gps/9agrotourism-s.html
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย. http://tourismawards.tourismthailand.org/index.php/th
ครรชิต มาระโภชน์, และ ทักษินาฏ สมบูรณ์. (2559). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการเรียนรู้: กรณีศึกษาตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(2), 23-36.
เจษฎา นกน้อย. (2559). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: แนวคิดและประสบการณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 157-169.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2560). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หน่วยที่ 2 (น. 1-46). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์.
ชัยฤทธิ์ ทองรอด. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 115-131.
ณัฏฐินี ทองดี, และ กนก บุญศักดิ์. (2560). การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำโขง ชี มูล เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(2), 122-137.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ธรรมจักร เล็กบรรจง. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง. Veridian E-Journal, 12(1), 111-132.
นรินทร์ สังข์รักษา, สมบูรณ์ ยืนยงสุวรรณ, และ ญัฐธยาน์ ตั้งถาวรสกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านดงเย็นในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง. Veridian E-Journal, 10(2), 2161-2172.
นาฏสุดา เชมนะสิริ. (2556). การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน: กรณีจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดชลบุรี. วารสารจันทรเกษมสาร, 19(36), 41-50.
นำขวัญ วงศ์ประทุม, มุกตำ นัยวัฒน์, ขวัญฤทัย ครองยุติ, ดวงศิริ ภูมิวิชชุเวช, พรรณิภา ซาวคำ, และ บวรพจน์ หิรัณยรัศมีกุล. (2561). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมู่บ้านวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 132-150.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เพรส แอนด์ ดีไซน์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, และ เพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2560). วางแผนและประเมินผลการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หน่วยที่ 5 (น. 1-46). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์.
บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2560). การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หน่วยที่ 14 (น. 1-60). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์.
ปริวรรต สมนึก. (2561). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนระหว่าง ชุมชนบ้านทรายมูล และชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 70-112.
พิทักษ์ ศิริวงศ์, ธีระวัฒน์ จันทึก, จิตพนธ์ ชุมเกตุ, สุรภัทร์ พิไชยแพทย์, และ ธนพัฒน์ อินทวี. (2561). การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(3), 75-95.
พจนา สวนศรี. (2552). บทบาทของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวธรรมชาติ หน่วยที่ 12 (น. 179-201). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ.
มณีรัตน์ สุขเกษม. (2559). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 10(4), 97-112.
รัญชิดา สังขดวง, และ ธนินทร์ สังขดวง. (2559). ความตั้งใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวมาเลเซียภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่ด่านชายแดนไทย อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 8(2), 261-276.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน: โครงการหลวงปางดะ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 9(1), 19-35.
รัตติยา พรมกัลป์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 13-28.
ราณี อิสิชัยกุล. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หน่วยที่ 1 (น. 1-57). มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตสายไหม. วารสารร่มพฤกษ์, 36(3), 11-44.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (2559). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2561-2564. http://www.osmsouth-w.moi.go.th/submenu.php?page=162&l=th
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). http://www.nameunsri.go.th/news/doc_download/a_260619_151323.pdf
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สามลดา.
Akpinar, N. I., Talay, C. C., & Gundus, S. (2005). Rural Women and Agrotourism in the Context of Sustainable Rural Development: A Case Study from Turkey. Environment Development and Sustainability, 6(4), 473-486.
Coghlan, D., & Brannick, T. (2001). Doing action research in your own organization. Sage.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text (2nd ed.). Hodder Education.
Srithong, S., Suthitakon, N., & Karnjanakit, S. (2019). Participatory Community-based Agrotourism: A Case Study of Bangplakod Community, Nakhonnayok Province, Thailand. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 8(1), 212-220.