อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของการปลูกพืชเศรษฐกิจในจังหวัดปทุมธานี: สู่การเป็นสินค้าจีไอปี 2020
Main Article Content
บทคัดย่อ
การยกร่องปลูกกล้วยหอมทองแบบมีคูน้ำล้อมรอบ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นด้านการจัดการพื้นที่ปลูกที่ถูกระบุเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 (เลขที่ สช 63100136) ที่ทำให้การปลูก “กล้วยหอมทองปทุม” สินค้าจีไอรายการแรกของจังหวัดปทุมธานีมีคุณภาพสูงและแตกต่างจากที่อื่น จากการศึกษาที่มาของการจัดการพื้นที่แบบนี้ พบว่า เกิดจากข้อจำกัดด้านสภาพพื้นที่ประกอบกับความต้องการปลูกส้มเขียวหวานซึ่งมีราคาดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และเปลี่ยนมาปลูกกล้วยหอมทองในเวลาต่อมา กว่า 5 ปีที่ผ่านมา ราคากล้วยหอมทองตกต่ำทำให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน จึงนำมาสู่การศึกษาสถานการณ์การปลูกกล้วยหอมทองในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นแหล่งปลูกอันดับหนึ่งของประเทศด้วยการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลาด้วยสายตาและการสำรวจภาคสนาม ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองในปี พ.ศ. 2560 ของอำเภอหนองเสือมีประมาณ 14,500 ไร่ แต่ต่อมามีการปลูกลดลงและหลายบริเวณปลูกปะปนกับพืชอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากราคากล้วยหอมทองตกต่ำ จากสถานการณ์ข้างต้น พบว่า การปลูกกล้วยหอมทองของเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ศึกษายังไม่ได้คำนึงถึงการผลิตตามมาตรฐานสินค้าจีไอ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าจีไอควรมีการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และมีแผนรองรับเรื่องรายได้ให้แก่เกษตรกรในระหว่างที่ราคากล้วยหอมทองยังตกต่ำ และหาแหล่งรับซื้อใหม่ ๆ เพื่อให้ “กล้วยหอมทองปทุม” สามารถสร้างชื่อเสียงและความมั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดปทุมธานีได้อย่างยั่งยืน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2559). ความรู้เบื้องต้น เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชื้อทางภูมิศาสตร์ กล้วยหอมทอง ทะเบียนเลขที่ สช 63100136 (GI136). http://www.ipthailand.go.th/th/faq/item/ความรู้เบื้องต้น-เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์.html
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2563). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยหอมทอง ทะเบียนเลขที่ สช 63100136 (GI136). https://www.ipthailand.go.th/th/gi011/item/63100136.html
กรมวิชาการเกษตร. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยกล้วย พ.ศ. 2559 - 2563. www.doa.go.th/hortold/images/stories/strategyplanthort/strategybanana.doc
ฉลอง สุนทราวาณิชย์ และคณะ. (2538). ร้อยปีคลองรังสิต โครงการวิจัยนำร่องเฉลิมฉลองวโรกาสกาญจนาภิเษก. สถาบันไทยคดีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.thaiwater.net/web/index.php/knowledge/130-knowledge/718-100yrs-rangsit.html
นิกข์นิภา บุญช่วย. (2560). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกกล้วยน้ำว้า ในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), 1884-1894. https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2558). กล้วยหอมทอง บูมสุดขีดราคาพุ่ง 100% “หนองเสือ” เมืองปทุมอันดับ 1 ป้อนโมเดิร์นเทรด-เซเว่นฯ. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439971262
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2560). ชาวนาแห่ปลูกกล้วยแทนนาปรัง ซัพพลายล้นทุบราคาฮวบลูกละ 80 สตางค์. https://www.prachachat.net/local-economy/news-713
ผู้จัดการออนไลน์. (2560). กลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมทองครวญราคาต่ำ หวังหน้าแล้งพุ่งสูงหวีละ 200 บาท. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000031393
ศิริพร งามเชย. (2551). การวิเคราะห์การตอบสนองอุปทานกล้วยหอมในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2559). บันทึกเหตุการณ์ภัยแล้ง ปี 2558/2559. https://www.thaiwater.net/current/2016/drought59/body.html#top
สุนทรี อาสะไวย์. (2530). ประวัติคลองรังสิต: การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ. 2431 - 2457. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี. (2558). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรจังหวัดปทุมธานี ปี 2557/58. http://www.pathumthani.doae.go.th/datakaset/Data%202557_final_for%20PR.pdf
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี. (2563). ข้อมูลเพื่อการวางแผนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ รายสินค้าของจังหวัดปทุมธานีปี 2563 “กล้วยหอม”. https://www.opsmoac.go.th/pathumthani-dwl-files-421391791163 (น.54-55)
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2552). ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Space Technology and Geo-Informatics). อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2559). มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมกอช 0006-2548 กล้วย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. http://www.acfs.go.th/standard/download/banana.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร: การใช้ที่ดิน ปี 2545 - 2562. สืบค้นล่าสุด 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.oae.go.th/view/1/การใช้ที่ดิน/TH-TH
สำนักงานสถิติปทุมธานี. (2563). รายงานสถิติจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2557 - 2562. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. http://pathumthani.nso.go.th
อรพิมพ์ สุริยา, เฉลิมพล จตุพร, พัฒนา สุขประเสริฐ, และสุวิสา พัฒนเกียรติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 208-218.
อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์. (2553). พัฒนาการความเป็นเมืองในทุ่งรังสิตกับพลวัตพื้นที่สีเขียวชานเมืองกรุงเทพฯ. วารสารวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์, ธันวาคม, 119-130.
InfoQuest Limited. (2562). มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “มาตรการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนและเพิ่มมูลค่าการตลาดของการจำหน่ายสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ไทย”. https://www.ryt9.com/s/cabt/2955976
Natural Resources Canada (NRC). (2015). Elements of Visual Interpretation. https://www.nrcan.gc.ca/node/9291
Tanabe, S. (1977). Historical geography of the canal system in the Chao Phraya Delta from the Ayutthaya period to the fourth reign of the Ratanakosin Dynasty. Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Kyoto. http://www.siameseheritage.org/jsspdf/1971/JSS_065_2d_Tanabe_HistoricalGeographyOfCanalSysemInChaoPhrayaRiverDelta.pdf