การวิเคราะห์เชิงเปรียบต่างระหว่าง“กริยารูป teiku” ในภาษาญี่ปุ่น และ “กริยา + ไป” ในภาษาไทย: ข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาการสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนชาวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการวิเคราะห์เปรียบต่างระหว่าง "กริยารูป teiku" ในภาษาญี่ปุ่นและรูป "กริยา + ไป" ในภาษาไทยไปเชื่อมโยงกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะการพัฒนาการเรียนการสอนรูป teiku สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย จากการวิเคราะห์ทำให้ทราบว่ารูป teiku ให้ความสำคัญกับประเด็นว่า "เคลื่อนที่อย่างไร" หรือให้ความสำคัญกับ "กระบวนการ" ในขณะที่ รูป "กริยา + ไป" จะให้ความสำคัญกับประเด็นว่า "(ใคร)อะไรเคลื่อนที่ไปถึงจุดใด" หรือให้ความสำคัญกับ "ผลลัพธ์" ความแตกต่างนี้ส่งผลให้เกิดการสอดคล้องที่ไม่เหมือนกันระหว่างรูปทั้งสอง วิธีใช้ที่ไม่สอดคล้องกันซึ่งเชื่อว่าน่าจะเข้าใจยากสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ได้แก่ วิธีใช้เชิงพื้นที่ keiki วิธีใช้เชิงเวลา keizoku และ takaiteki-keizoku
งานวิจัยนี้เสนอแนะสองประเด็นใหญ่คือ การแบ่งวิธีใช้ใหม่ระหว่างวิธีใช้เชิงพื้นที่ futai และ keiki และการจัดลำดับการสอนใหม่ให้เหมาะสมกับผู้เรียนชาวไทย สำหรับการจัดลำดับการสอนนั้น ในระดับต้นได้เสนอให้สอนวิธีใช้เชิงเวลา keizoku ที่เจ้าของภาษาใช้มาก โดยสอนในรูปของคำศัพท์แทนการสอนรูป tsureteiku เนื่องจากรูป tsureteiku ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนชาวไทยเพราะมีความใกล้เคียงกับภาษาไทย และยังเสนอให้สอนวิธีใช้เชิงพื้นที่ keiki ในลำดับท้ายสุดใน 8 วิธีใช้ เพราะใช้น้อยมาก ประกอบกับเป็นวิธีใช้ที่เข้าใจยากสำหรับผู้เรียนชาวไทย นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ควรคำนึงเมื่อสอนรูป teiku อีกด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2553). หน่วยสร้างกริยาเรียงต้นแบบในภาษาไทย. ใน อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ.), หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น. 66-173). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คลังข้อมูล TNC (Thai National Corpus). คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc/searchtnc
บุษบา บรรจงมณี, วันชัย สีลพัทธ์กุล, ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, ภารดี อึงขจรกุล, เบญจลักษณ์ สว่างเนตร, พัชนี ปิ่นท้วม, . . . Imaeda, A. (ผู้เขียนเดิม). ประภา แสงทองสุข, และ Nakao Y. (ผู้ปรับปรุง). (2560). ภาษาญี่ปุ่น อะกิโกะโตะโทะโมะดะจิ 4 ฉบับปรับปรุง. สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทย-ญี่ปุ่น)
ประภัสสร เสวกุล. (2556). เวลาในขวดแก้ว. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
เมทินี สิงห์เวชกุล และปรีมา มัลลิกะมาส. (2557). การแปลมโนทัศน์ที่สื่อโดยหน่วยสร้างกริยาเรียงที่มีคำว่า "เอา" จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษา เรื่อง หลายชีวิต. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 19(23), 38-62.
Boonyapatipark, T. (1983). A study of aspect in Thai (Doctoral dissertation). University of London, School of Oriental and African Studies.
Lado, R. (1957). Linguistics across cultures: Applied linguistics and language teachers. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Press.
Murata, S. (2018). มนุษย์ร้านสะดวกซื้อ (พรรณวิมล จิตราวิริยะกุล, ผู้แปล). Animag.
Rangkupan, S. (1992). Subsidiary verbs /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ in Thai. (Master’s thesis). Chulalongkorn University.
Sevikul, P. (2015). 瓶の中の時間 (藤野勲, ผู้แปล). Parbpim Printing.
Takahashi, K. (2018). Deictic motion constructions in Japanese and Thai. In P. Pardeshi & T. Kageyama (Eds.), The Handbook of Japanese Contrastive Linguistics (pp. 291-312). Berlin & Boston: De Gruyter Mouton.
Thepkarnjana, K. (1986). Serial verb constructions on Thai (Doctoral dissertation). University of Michigan.
Zobl, H. (1983). Markedness and the projection problem. Language Learning, 33, 293-313.
池上嘉彦 (Ikegami). (2006).「<主観的把握>とは何か―日本語話者における<好まれる言い回し>」『月間言語』35-5, 20-27.
石田プリシラ (Ishida). (2010).「日英対照研究と日本語教育─対照研究の方法と視点─」砂川有里子ほか(編),『日本語教育への招待』(pp.231-249). くろしお出版.
市川保子 (Ichikawa). (1997).『日本語誤用例文小辞典』凡人社.
今仁生美 (Imani). (1990).「VテクルとVテイクについて」『日本語学』9-5, 54-66.
内山潤 (Uchiyama). (2011).「補助動詞『テクル』『テイク』のアスペクトについて」 『金城学院大学論集 人文科学編』7(2), 1-13.
大関浩美 (Ozeki). (2010). 『日本語を教えるための第二言語習得論入門』くろしお出版.
カノックワン・ラオハブラナキット・片桐 (Kanokwan, L. Katagiri). (2013年 5月 27日). 「タイ人日本語学習者の産出データから母語別日本語教育を考える─タイ人日本語学習者のテクル・テイクの使用状況─」第9回データに基づいた日本語教育のための語彙・文法研究会, 国立国語研究所.
カノックワン・ラオハブラナキット・ 片桐 (Kanokwan, L. Katagiri). (2016).「教育現場とのつながりを意識した対照研究の試み─タイ人学習者の『そして』『なんか』の使用問題─」庵功雄・佐藤琢三・中俣尚己(編),『日本語文法研究のフロンティア』(pp. 243-267). くろしお出版.
熊谷智子 (Kumagai). (2002).「『対照研究』と『言語研究』をつなぐために」国立国語研究所(編),『対照研究と日本語教育』(pp. 21-33). くろしお出版.
金水敏・沼田善子・工藤真由美 (Kinsui, Numata, & Kudo). (2000). 『日本語の文法2 時・否定と取り立て』岩波書店.
近藤直子・菅谷有子・中村亜美 (Kondo, Sugaya, & Nakamura). (2018).「理工系学習者への〜テイクの用法提示について─『理工学系話し言葉コーパス』と日本語教材の調査から─『日本語教育』171, 17-30.
国立国語研究所 (Handbook).『基本動詞ハンドブック』Retrieved from https://verbhandbook.ninjal.ac.jp/
坂本比奈子 (Sakamoto). (1988).「日本語の動詞『行く/来る』とタイ語の動詞pay/maaの対照研究」『麗澤大学紀要』47, 41-74.
菅谷奈津恵 (Sugaya). (2002).「日本語学習者によるイク・クル, テイク・テクルの習得研究: プロトタイプ理論の観点から」『言語文化と日本語教育』23, 66-79.
スリーエーネットワーク (編著) (Suriie). (2011). 『みんなの日本語初級Ⅰ 第二版 本冊』スリーエーネットワーク.
張麟声 (Zhang L.). (2011). 『日本語教育のための誤用分析─中国語話者の母語干渉20例─』スリーエーネットワーク.
寺村秀夫 (Teramura). (1990).『外国人学習者の日本語誤用例集』(大阪大学; PDF版 国立国語研究所, 2011年) Retrieved from https://db4.ninjal.ac.jp/teramuradb/
中俣尚己 (Nakamata). (2015). 「生産性から見た文法シラバス」庵功雄・山内博之(編), 『データに基づく文法シラバス』(pp.109-128). くろしお出版.
野田尚史 (Noda). (2005).「コミュニケーションのための日本語教育文法の設計図」野田尚史(編), 『コミュニケーションのための日本語教育文法』(pp.1-20). くろしお出版.
南不二男 (Minami). (1993).『現代日本語文法の輪郭』大修館書店.
宮崎駿 (Miyazaki) (ผู้กำกับ). (1989). 魔女の宅急便 [ภาพยนตร์].日本: スタジオジブリ.
村田沙耶香 (Murata). (2018). 『コンビニ人間(kindle版)』東京都: 文藝春秋.
森田良行 (Morita). (1968). 「『行く・来る』の用法」『国語学』75, 75-87.
森田良行 (Morita). (1989).『基礎日本語辞典』角川書店.
プラシャント・パルデシ (Prashant, P.). (2013). 「日本語学習者用基本動詞用法ハンドブックの作成─研究成果と今後の展望─」『国語研プロジェクトレビュー』4-1, 28-35.
許明子・小川恭平 (Heo & Ogawa). (2016). 「<実践研究>中級日本語学習者の移動動詞『行く』『来る』の習得について:学習者の使用状況に関する調査を通して」『国際日本研究』8, 277-297.
山本裕子 (Yamamoto). (2001).「聞き手とベースを共有することを表す『〜てくる』『〜ていく』について」『日本語教育』110, 52-61.
若山絢子 (Wakayama). (2012).「タイ語の方向動詞が担う意味・機能―動詞と共起する場合―」『思言 : 東京外国語大学記述言語学論集』8, 171-178.