คำเรียกผีภาษาล้านนา: การดำรงอยู่และโลกทัศน์ของชาวล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
คำเรียกผีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคนได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การดำรงอยู่ของคำเรียกผีภาษาล้านนา และโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่สะท้อนจากคำเรียกผีภาษาล้านนา งานวิจัยเก็บข้อมูลคำเรียกผีภาษาล้านนาจากวิทยานิพนธ์และหนังสือช่วง พ.ศ. 2539-2561 พบคำเรียกผี จำนวน 81 คำ จากนั้นสร้างแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล เพื่อสอบถามบุคลากรในสำนักงานวัฒนธรรม 8 จังหวัดภาคเหนือทางไปรษณีย์พื้นที่ละ 1 คน และสัมภาษณ์ชาวล้านนาในพื้นที่ดังกล่าวพื้นที่ละ 1 คน รวมทั้งหมด 16 คน หลังจากเก็บข้อมูลจึงวิเคราะห์ลักษณะการดำรงอยู่ของคำเรียกผี และโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่สะท้อนจากคำเรียกผีเพื่อพิสูจน์แนวคิดสมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ ผลการวิจัยพบว่า คำเรียกผีภาษาล้านนามีการดำรงอยู่ 5 ลักษณะ คือ เรื่องเล่า ประเพณี พิธีกรรม การทำนาย และการเล่น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) การดำรงอยู่ของคำเรียกผีที่มี 1 ลักษณะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด และ 2) การดำรงอยู่ของคำเรียกผีที่มีหลายลักษณะรวมกัน นอกจากนี้โลกทัศน์ของชาวล้านนาที่สะท้อนจากคำเรียกผียังสอดคล้องกับแนวคิดสมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟอีกด้วย เนื่องจากคำเรียกผีเป็นภาษาที่ชาวล้านนากำหนดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นความคิดและการมองโลกของชาวล้านนาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและสิ่งที่อยู่รอบตัว แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ผีกับศาสนา 2) ผีกับสถานภาพบุคคล 3) ผีกับสถานที่ 4) ผีกับอาชีพ 5) ผีกับเครื่องใช้ และ 6) ผีกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นความเชื่อที่พบมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วรรณกรรมพื้นบ้าน: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
จรัลวิไล จรูญโรจน์, หม่อมหลวง. (2559). ภาษาในปริบทสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุตินิษฐ์ ปานคำ และวนาวัลย์ ดาตี้. (2560). การสืบทอดและการดำรงอยู่ของพิธีกรรมการฟ้อนผีมดผีเม็งลานนาจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 152-167.
ธนันท์ เศรษฐพันธ์. (2536). การใช้เรื่องเล่าผีปู่แสะย่าแสะ: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวบ้านป่าจี้ ๖ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฏิญญา บุญมาเลิศ. (2554). คำเรียกผีและความเชื่อเรื่องผีในภาษาไทยถิ่นเหนือในหมู่บ้านป่าเสร้าหลวง ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผณินทรา ธีรานนท์ (บรรณาธิการ). (2558). พะเยาศึกษา. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์แอนด์มีเดีย.
พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง). (2561). พจนานุกรมภาษาล้านนา-ไทย ปริวรรต (อักษร ก ถึง อักษร ฮ) ฉบับรวมเล่ม. เชียงราย: สยามการพิมพ์.
พิมพ์นภัส จินดาวงค์. (2554). การดำรงอยู่และบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีอารักษ์เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ สาลีรัตน์. (2549). ร้อยเรื่องล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2557). การศึกษาระบบคำเรียกผีและมโนทัศน์เรื่องผีในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัลลิกา คณานุรักษ์. (2550). คติชนวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
มาลา คำจันทร์. (2559). เล่าเรื่องผีล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 1-15. กรุงเทพฯ: สยามเพรส แมเนจเม้นท์.
ยุพิน เข็มมุกด์, ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์, และอุบลพรรณ วรรณสัย (บรรณาธิการ). (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: แสงศิลป์.
วิถี พานิชพันธ์. (2548). วิถีล้านนา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ศุภลักษณ์ ปัญโญ. (2551). การศึกษาบทบาทของผีในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สนั่น ธรรมธิ. (2557). ร้อยสาระ สรรพล้านนาคดี เล่ม 4. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.
สนั่น ธรรมธิ. (2559). ผีในความเชื่อล้านนา. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์แอนด์มีเดีย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สายฝน สุเอียนทรเมธี. (2553). อัตลักษณ์-คนเหนือ-อัตลักษณ์คนเหนือ. ใน พิทยา สุวคันธ์ (บรรณาธิการ). รวมบทความ “มุมมอง: สหวิทยาการ”. น. 61. เชียงใหม่: กู๊ดปริ้นท์ พริ้นท์ติ้ง.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2555). พจนานุกรมยวนล้านนา-ไทยปริวรรต. เชียงราย: ล้อล้านนา.
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์, และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2562). ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทยวนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(1), 79-106.
สุกัญญา สุจฉายา. (2556). วรรณกรรมมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล ดำริห์กุล. (2542). ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พรินท์.
เสฏฐวุฒิ อินทะจักร์. (2562). การเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคมผ่านความเชื่อเรื่องผีและพุทธศาสนาในล้านนา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(1), 265-280.
อนุชิต อินตาวงค์ และศราวุธ หล่อดี. (2560). โลกทัศน์ของชาวล้านนาจากคำนามล้านนาที่ปรากฏในพจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(2), 22-41.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2562). ภาษาไทย ภาษาชาติ: การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวเพื่อธำรงอยู่ในโลกปัจจุบัน. ใน สุภางค์ จันทวานิช, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และสดชื่น ชัยประสาธน์ (บรรณาธิการ). ประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส เล่ม 1. น. 10, 29. กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอลพริ้นท์.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, ประเสริฐ ณ นคร, อยู่เคียง แซ่โค้ว, ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร, ลมูล จันทน์หอม, และพรรณเพ็ญ เครือไทย. (2539). พจนานุกรมศัพท์ล้านนา เฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
อาสา คำภา. (2555). ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 6(2), 99-122.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
Sapir, E. (1949). The status of linguistics as a science. In Mandelbaum, D. G. (Ed.), Culture, Language, and Personality: Selected Essays. p. 69. Berkeley and Los Angeles, California: University of California Press.
Whorf, B. L. (1956). An American Indian model of the universe, The relation of habitual thought and behavior to language. In Carroll, J. B. (Ed.), Language, Thought, and Reality: Selected Writings of Benjamin Lee Whorf. pp. 57-64, 135. Cambridge, Mass.: M.I.T. Press.