การเมืองวัฒนธรรมของ “อุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทย”: ความเป็นไทยที่ (เคย) กดทับ “อาหารเจ๊ก” “อาหารลาว”

Main Article Content

อาสา คำภา

บทคัดย่อ

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทดลองใช้กรอบคิด “การเมืองวัฒนธรรม” ในการวิเคราะห์มิติอาหารไทยร่วมสมัย โดยพิจารณาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า “อุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทย” ผลการศึกษาพบว่า อาหารบางประเภทอย่างอาหารจีน อาหารลาว/อาหารอีสาน ซึ่งเคยถูกตีตรา “ไม่ไทย” ล้วนเคยอยู่ภายใต้กระบวนการเบียดขับและถูกทำให้เป็นชายขอบมาแล้วทั้งสิ้น หากแต่มีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยที่อาหารจีนมีสถานะและเส้นทางเดินในประวัติศาสตร์ในการเผชิญหน้ากับอุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทยที่ราบรื่นกว่าอาหารลาว/อาหารอีสาน ในปัจจุบันทั้งอาหารจีน และอาหารลาว/อาหารอีสาน ได้ถูกผสานรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารไทยที่ทุกชนชั้นในสังคมไทยรับประทานอย่างไม่ประดักประเดิด สิ่งนี้อาจเป็นภาพสะท้อนปรากฏการณ์การกลายเป็นประชาธิปไตยในมิติด้านอาหาร  ในภาพกว้างด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำภา อ. (2021). การเมืองวัฒนธรรมของ “อุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทย”: ความเป็นไทยที่ (เคย) กดทับ “อาหารเจ๊ก” “อาหารลาว” . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 453–471. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.34
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ จ่างกมล. (2545). อาหาร: การสร้างมาตรฐานในการกินกับอัตลักษณ์ทางชนชั้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรณิศ รัตนามหัทธนะ, Cloud of Thoughts ปรุงสำรับชีวิต. https://readthecloud.co/kwantip-devakula/

กานต์ เหมวิหค, และสุปรียา ห้องแซง. (2556). อาหารอีสาน. พิมพ์ดี.

เกษียร เตชะพีระ. (2537ก). จินตนาการชาติที่ไม่เป็นชุมชน: ชนชั้นกลาง ลูกจีนกับชาตินิยมโดยรัฐของไทย. สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมนักข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ.

เกษียร เตชะพีระ. (2537ข). จารึกร่วมสมัยการเมืองไทยในยุคหลีกภัย. ดอกหญ้า.

เกษียร เตชะพีระ. (2537ค). แลลอดลายมังกร: รวมข้อเขียนว่าด้วยความเป็นจีนในสยาม. ผู้จัดการ.

จงจิตรถนอม ดิศกุล, ม.จ.. (2550). บันทึกความทรงจำ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล. ศยาม.

ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, ม.ร.ว.. (2530). กินย้อนหลัง. พี วาทิน พับลิเคชั่น.

แถมสิน รัตนพันธุ์. (2553). เย็นศิระเพราะพระบริบาล กับ ลัดดาซุบซิบ. กรีนปัญญาญาณ.

แถมสุข นุ่มนนท์. (2545). ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475. หอรัตนชัยการพิมพ์.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2545). ความเป็นอนิจจังของอาหารจีนชั้นสูงในกรุงเทพ: การเดินทางสู่เส้นทางของอาหารประชาธิปไตย. จุลสารไทยคดีศึกษา, 19(2), 42-51.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). การเมืองวัฒนธรรมไทย ว่าด้วยความทรงจำ วาทกรรม อำนาจ. ฟ้าเดียวกัน.

ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. (2538). เพ็ชร์ลานนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นอร์ทเทิร์นพริ้นติ้ง.

ปิยชาติ สึงตี. (2556). บทสำรวจประวัติศาสตร์สังคมเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน: ศึกษากรณีการกินข้าวนอกบ้าน. เอกสารสัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทอม 1 ปีการศึกษา 2556.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และคริส เบเคอร์. (2542). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ตรัสวิน.

พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. วิภาษา.

พิมาน แจ่มจรัส. (2554). รักในราชสำนัก (พิมพ์ครั้งที่ 4). สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2559, 25-30 มีนาคม). ผ้าถุงที่ไม่ไทย? On History, มติชนสุดสัปดาห์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2530). เจ๊กปนลาว. เรือนแก้วการพิมพ์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). อาหารไทยมาจากไหน. มติชน.

สุนทรี อาสะไวย์. (2554). กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง ก่อน พ.ศ. 2475. ศิลปวัฒนธรรม, 32(7), 81-101.

Facebook Kasian Tejapira. (2563), RFH: Remembrance from Home หยาดฟ้าภัตตาคารหรือห้อยเทียนเหลา และกินรีนาวา %%%%, สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563

Facebook สำรวจโลก. (2556), ห้อยเทียนเหลา ในอดีตเป็นสัญลักษณ์ของ "FIRST CLASS", สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563

Tejapira, K. (2001). Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927 - 1958. Kyoto University Press and Trans Pacific Press.

Skinner, G. W. (1957). Chinese Society in Thailand: An Analytical History. Cornell University Press.

Wongsurawat, W. (2019). The Crown & the Capitalists: The Ethnic Chinese and the Founding of the Thai Nation. University of Washington Press.