กระบวนจินตภาพในความเรียงของนิ้วกลม

Main Article Content

รุ่งฤดี แผลงศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนจินตภาพ ได้แก่  จินตภาพการเห็น จินตภาพการได้ยิน จินตภาพการได้กลิ่น จินตภาพ  การลิ้มรส และจินตภาพการสัมผัสในงานเขียนประเภทความเรียงของนิ้วกลม โดยศึกษาจากหนังสือรวมเล่มงานเขียนประเภท “ความเรียง” ของนิ้วกลม ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 เล่ม รวม 215 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนจินตภาพในความเรียงของนิ้วกลมแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กระบวนจินตภาพที่เกิดขึ้นทางกายพบการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ กระบวนจินตภาพการเห็นมี 4 ลักษณะ คือ กระบวนจินตภาพแสดงอาการ กระบวนจินตภาพแสดงสภาพ กระบวนจินตภาพแสง และกระบวนจินตภาพสี กระบวนจินตภาพการได้ยินมี 3 ลักษณะ คือ การได้ยินเสียงธรรมชาติ เสียงหัวเราะ และเสียงไพเราะ กระบวนจินตภาพการได้กลิ่นมี 2 ลักษณะ คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น กระบวนจินตภาพการรับรสมี 3 ลักษณะ คือ รสหวาน รสขม และรสจืด และกระบวนจินตภาพการสัมผัสมี 4 ลักษณะ คือ สัมผัสความสบาย สัมผัสความอบอุ่น สัมผัสความหนาว และสัมผัสความเหนื่อย ส่วนกระบวนจินตภาพที่เกิดขึ้นทางใจมี 3 ประเภท คือ กระบวนจินตภาพความสุข กระบวนจินตภาพการความมุ่งมั่น และกระบวนจินตภาพความทุกข์ ส่วนการใช้ภาษาสร้างกระบวนจินตภาพในความเรียงของนิ้วกลมพบ 3 ประเภท ได้แก่ การเล่นคำมี 3 ลักษณะ คือ การซ้ำคำคำเดียว การซ้ำกลุ่มคำ และการเล่นคำตรงข้าม การเล่นเสียงมีการเล่นเสียงสัมผัสเสียงพยัญชนะกับเสียงสระ และการใช้ภาพพจน์มี 5 ลักษณะ คือ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต อติพจน์ และการเลียนเสียงธรรมชาติ กระบวนจินตภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า นิ้วกลมสามารถเลือกใช้ถ้อยคำสื่อความหมายง่าย ๆ ได้อย่างเหมาะสมและให้ข้อคิด จึงทำให้ความเรียงของนิ้วกลมน่าติดตามอ่านอย่างยิ่ง  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แผลงศร ร. (2021). กระบวนจินตภาพในความเรียงของนิ้วกลม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 144–172. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.6
บท
บทความวิจัย

References

กันยารัตน์ ผ่องสุข. (2553). เนื้อหาและกลวิธีทางภาษาในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของ “นิ้วกลม” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เก๋ แดงสกุล, และชนกพร พัวพันฒนกุล. (2561). เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การเขียนความเรียง. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://la.mahidol.ac.th/course/lath100/wp-content/uploads/2016/09/essay01.pdf

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2536). สุนทรียภาพในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ชนะ เวชกุล. (2524). การเขียนสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

โชษิตา มณีใส. (2553) การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2545). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและอาชีพ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

นิตยา แก้วคัลณา. (2556). สืบสรรค์ขนบวรรณศิลป์: การสร้างสุนทรียภาพในกวีนิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิ้วกลม. (2553). สิ่งมหัศจรรย์ธรรมดา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิ้วกลม. (2555). อาจารย์ในร้านคุ้กกี้ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิ้วกลม. (2556). แอ่งน้ำกลางทะเลทราย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิ้วกลม. (2559). วิชา ภูผา ชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คู้บ.

นิ้วกลม. (2560). ความสุขโดยสังเกต (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: คู้บ.

นิ้วกลม. (2561). แล้วชีวิตก็บอกกับเราว่า (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คู้บ.

ปกป้อง จันทวิทย์. (2555). ตรวจภายใน ‘นิ้วกลม’ (แบบไม่คลำ เพราะไม่นิยมคลำ). ใน ตรวจภายใน. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เปลื้อง ณ นคร. (2507). คำบรรยายวิชาการประพันธ์และหนังสือพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เปลื้อง ณ นคร. (2541). ศิลปะการประพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ยุวพาส์ (ประทีปะเสน) ชัยศิลป์วัฒนา. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม: ภาพพจน์ โวหาร และกลการประพันธ์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2562). กระบวนจินตภาพในความเรียงของนิ้วกลม (รายงานการวิจัย). สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วสรัญดา โตทัพ. (2561). การศึกษา รูปแบบ ภาษา และเนื้อหากวีนิพนธ์รูปแบบใหม่ของนิ้วกลม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 “Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 80 th Anniversary.” สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/1131

ศิรดา ทองกลัด. (2561). แนวคิดในสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง “ความฝันที่มั่นสุดท้าย” ของ นิ้วกลม.

วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 4(2), 278-295. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/wh/article/view/89329/70309

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สายน้ำใจ.

สิทธา พินิจภูวดล และคณะ. (2516). การเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.