การเล่นทางภาษาในบทสนทนามุกตลกชวนขัน

Main Article Content

สุวรรณา งามเหลือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาการเล่นทางภาษาในบทสนทนามุกตลกชวนขัน ในรายการวิทยุ “EFM94 อารมณ์ดี เพลงดีทุกแนว” ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ททบ. คลื่นความถี่ 94 เมกะเฮิร์ต  และระบบออนไลน์ 24 ชั่วโมง  บทสนทนาดังกล่าวมีลักษณะของการเล่นทางภาษาที่เกิดขึ้นในระดับความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาษากับความหมายซึ่งเกิดขึ้นทั้งในระดับเสียง ระดับคำ และระดับโครงสร้างวลีและประโยค เป็นความจงใจเล่นกับความกำกวมของความหมายเพื่อสร้างความสนุกสนาน ด้วยการสนอปมปัญหาผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ที่สอดรับกับทฤษฎีอารมณ์ขัน โดยพาความคิดผู้ฟังให้หลงไปในทางใดทางหนึ่งพร้อมความคาดหมายว่าเรื่องราวเหตุการณ์จะดำเนินไปตามทางที่ตนคาดคิด จากนั้นจึงคลี่คลายปมปัญหาเพื่อจบการสนทนาด้วยการหักมุมหันไปอีกทางหนึ่งอย่างรวดเร็วทันทีทันใดและพลิกไปจากความคาดหมายที่ผู้ฟังคาดคิดไว้ ทำให้เรื่องราวเหตุการณ์เหล่านั้นกลายเป็นความตลก สร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟัง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
งามเหลือ ส. (2021). การเล่นทางภาษาในบทสนทนามุกตลกชวนขัน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 440–458. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.17
บท
บทความวิจัย

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2539). พินิจภาษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วันทนา คันธสร. (2554). ภาษาไทยไปกับครูวันทนา. สืบค้นจาก http://teacherwanthana.Blogspot.com.

วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์. (ม.ป.ป.). พลังพูด พลังเพิ่ม. กรุงเทพฯ: บริษัทสามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด (มหาชน).

ศักดา วิมลจันทร์. (2548). เข้าใจการ์ตูน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2558). อบรมครูภาษาไทย ครั้งที่ 4 “การเล่นทางภาษาในภาษาไทย. สืบค้นจาก https://www.youtube.com

สมโรจน์ วสุพงศ์โสธร. (2560). A-Time Media ไม่ใช่แค่วิทยุ แต่เป็น Completed Music Community. สืบค้นจาก https://marketeeronline.com

สิทธา พินิจภูวดล. (2541). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุกขทัยธรรมาธิราช.

สุนันท์ จันทร์วิเมลือง. (2551). การเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช .

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2536). อารมณ์ขันในสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Americana Coporation. (1977). Encyclopedia Vol14 Connecticut. Danbery.

“EFM 94 อารมณ์ดี เพลงดีทุกแนว” สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ททบ. คลื่นความถี่ 94 เมกะเฮิร์ต.