กระบวนการเกิดสัณฐานศูนย์กลางของชุมชนตลาดริมน้ำลำพญา ลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ฐปณี รัตนถาวร
พรชัย จิตติวสุรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการค้นหาลักษณะสัณฐานพื้นที่และกระบวนการเกิดสัณฐานศูนย์กลางของชุมชนตลาดริมน้ำลำพญา ลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ในอดีตมีบทบาทสำคัญทางการค้า การเดินทางและการขนส่งสินค้าทางน้ำ เมื่อมีการตัดถนนส่งผลให้ตลาดริมน้ำแห่งนี้ซบเซาลงช่วงเวลาหนึ่ง ภายหลังได้ฟื้นฟูอีกครั้งจากการท่องเที่ยวทางน้ำ การวิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีด้านสัณฐานวิทยาเมืองและเครื่องมือวิเคราะห์เชิงสัณฐานพื้นที่สเปซซินแท็กซ์ ร่วมกับการวิเคราะห์ลักษณะกิจกรรมทางสังคมเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะสัณฐานพื้นที่และกระบวนการเกิดสัณฐานศูนย์กลางเกิดจากปัจจัยเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพของโครงข่ายทางน้ำและทางบก และปัจจัยเชิงสังคมเศรษฐกิจของกิจกรรมการค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับเส้นทางน้ำ ส่งผลให้ศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึงมีระดับสูง นำไปสู่การเป็นพื้นที่สัณฐานศูนย์กลางที่มีชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
รัตนถาวร ฐ., & จิตติวสุรัตน์ พ. (2021). กระบวนการเกิดสัณฐานศูนย์กลางของชุมชนตลาดริมน้ำลำพญา ลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 379–408. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.31
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมการท่องเที่ยว. (ม.ป.ป.). ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสีเขียว รู้จัก สัมผัสจริง กับพื้นที่สีเขียวทั่วไทย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ณรงค์ศักดิ์ เลิศสิทธิ์พันธ์. (18 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์โดยคณะผู้วิจัย. ประวัติความเป็นมา การอยู่อาศัยและค้าขายในชุมชนตลาดริมน้ำลำพญา. กุลนทีโฮมสเตย์.

นุกูล ชมภูนิช. (2540). วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี. โรงพิมพ์การศาสนา.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. เมืองโบราณ.

สุทัศน์ ฟังประเสริฐกุล. (18 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์โดยคณะผู้วิจัย. ประวัติความเป็นมา การอยู่อาศัยและค้าขายในชุมชนตลาดริมน้ำลำพญา. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านภัณฑารักษ์.

เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. (2551). พลวัตของชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี มิติทางนิเวศวัฒนธรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อรศิริ ปาณินท์ และสมคิด จิระทัศนกุล. (2544). เรือนค้าขายพื้นถิ่นในชุมชนเมือง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Conzen, M. R. G. (1981). The morphology of towns in Britain during the industrial era in The Urban Landscape. Historical Development and Management Ed. By Whitehand, J W R, Institute of British Geographers Special Publication 13. Academic Press.

Haocharoen, K., Peerapun, W., & Paksukcharern, K. (2011). The Emergence and Transformation Processes of Waterfront Community Markets in Tha Chin River Basin. Manusya: Journal of Humanities, 14(1), 23-38.

Hillier, B., & Handson, J. (1984). The Social Logic of Space. Cambridge University Press.

Hillier, B. (1996). City As Movement Economics. The Bartlett School of Graduate Studies. University College London.

Hillier, B. (2000). Centrality as a Process: Accounting for Attraction Inequalities in Deformed Grids, Urban Design International, 3(4), 107-127.

Hillier, B., Penn, A., Hanson, J., Grajewski, T., & Xu, J. (1993). Natural movement: or configuration and attraction in urban pedestrian movement. Environment & Planning B: Planning & Design, 20, 29-66.

Jones, A. N., & Larkham, P. J. (1991). Glossary of Urban Form Historical Geography Monograph no. 26. in Geo Books, Norwich: The Institute of British Geographers Historical Geography Research Group.

Rattanathavorn, T., Paksukcharern, K., & Peerapun, W. (2013). Conservation of Spatial Centrality: a Case Study of Markets in Ayutthaya Historic Town. Nakhara: Journal of Environmental Design and Planning, 9, 15-28.

Turner, A. (2007). From Axial to Road-Centre Lines: A New Representation for Space Syntax and a New Model of Route Choice for Transport Network Analysis. Environment and Planning B Planning and Design, 34(3), 539-555.