มหาพนคำฉันท์: กลวิธีนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับความหมายทางการเมือง

Main Article Content

อรรถ ดีที่สุด
ธนบัตร ใจอินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับความหมายทางการเมืองในมหาพนคำฉันท์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฉบับปริวรรตโดยนายเตือน พรหมเมศและต้นฉบับตัวเขียนจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ในด้านเนื้อหาของวรรณคดี กวีแปลแต่งมหาพนคำฉันท์จากอรรถกถาเวสสันตรชาดก มหาวนวรรณนาโดยเพิ่มชนิดของพืช สัตว์ และอมนุษย์ให้มากขึ้น สอดคล้องกับพระราชกรณียกิจสำคัญด้านการฟื้นฟูเวชศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนในด้านรูปแบบของวรรณคดี กวีใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างหลากหลาย คือ เสียง คำ และภาพพจน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพพจน์อุปมาเดี่ยว อุปมาร่วมกับอติพจน์ และอุปมาร่วมกับบุคลาธิษฐาน ทั้งนี้ กวีสร้างสรรค์ทั้งเนื้อหาและรูปแบบของมหาพนคำฉันท์อย่างประณีตเพื่อนำเสนอความความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสังคมเกษตรกรรม เป็นการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ว่าทรงเปี่ยมด้วย พระบารมีเช่นเดียวกับพระเวสสันดรตามคติพุทธราชาและธรรมราชา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ดีที่สุด อ., & ใจอินทร์ ธ. . (2021). มหาพนคำฉันท์: กลวิธีนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับความหมายทางการเมือง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 355–378. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.30
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2552). บูรพาจารย์และผู้มีคุณูปการต่อการแพทย์แผนไทย ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมศิลปากร. (2539). กุมารคำฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2554). ราชสกุลวงศ์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป.). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ/เล่มที่ 17/ เรื่องที่ 1 ช้างเผือก. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=17&chap=1&page=t17-1-infodetail01.html

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2547). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2540). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2541). สุนทรียภาพในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศยาม.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2459). คำนำ. ตำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2. (น. ก-ช). โสภณพิพรรฒนากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2509). คำนำ. มัทรีคำฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไม่มีเลขหน้า. พระจันทร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2540). อธิบายเรื่องหนังสือ มหาชาติ. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 497-498). กรมศิลปากร.

เตือน พรหมเมศ. (2548). มหาพนคำฉันท์. ใน ชวน เพชรแก้ว (บก.). วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 13 (น. 60-92). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2508). ตำนานเทศน์มหาชาติ. ประยูรวงศ์.

ธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท), พระมหา. (2543). ไตรภูมิพระร่วง (พิมพ์ครั้งที่ 8). จักรานุกูลการพิมพ์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. นาคร.

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2559). เส้นทางวรรณกรรมไทยในฝรั่งเศส. ใน รัตนพล ชื่นค้า (บก.). สหวิทยาการ วิศาลศิลป์ (น. 141-152). ภาควิชาวรรณคดีและคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พลูหลวง (นามแฝง). (2540). คติสยาม. เมืองโบราณ.

พิพาดา ยังเจริญ, และสุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา. (2529). การศึกษาและผลกระทบต่อสังคมไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2394). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑา, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง, และอุบล, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2539). กุมารคำฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมศิลปากร.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2554). พระราชา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 11-26.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2530). พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 3. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2548). มหาพนคำฉันท์. วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 13. (น. 60-92). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554: เฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบัณฑิตยสถาน.

วราภรณ์ บำรุงกุล. (2537). ร้อยกรอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ต้นอ้อ.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2540). มหาชาติคำหลวง: ความหมายทางการเมือง. บทพิจารณ์ว่าด้วยวรรณกรรมการเมืองและประวัติศาสตร์. คบไฟ.

สมบูรณ์ สุพรรณวัฒนกุลม, พระ. (2540). การศึกษาเชิงเปรียบรายชื่อพืชในมหาเวสสันดรชาดกสำนวนต่าง ๆ และการใช้เป็นพืชสมุนไพรในศิลาจารึก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามวรมหาวิหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย เปรมจิตต์. (2544). มหาเวสสันดรชาดก วิเคราะห์ทางสังคมและวัฒนธรรม. มิ่งเมือง.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). มหาพนคำฉันท์. (สมุดข่อย อักษรไทย ภาษาไทย เลขทะเบียน 17063 ได้ต้นฉบับจากนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ สำรวจโดยนายสนั่น ธรรมธิ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2534)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). มหาพนคำฉันท์. (สมุดข่อย อักษรไทย ภาษาไทย เลขทะเบียน 17167 ได้ต้นฉบับจากนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ สำรวจโดยนายสนั่น ธรรมธิ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). มัทรีคำฉันท์. (สมุดข่อย อักษรไทย ภาษาไทย เลขทะเบียน 17061 ได้ต้นฉบับจากนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ สำรวจโดยนายสนั่น ธรรมธิ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2534)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). สักกบรรพคำฉันท์. (สมุดข่อย อักษรไทย ภาษาไทย เลขทะเบียน 17002 ได้ต้นฉบับจากนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ สำรวจโดยนายสนั่น ธรรมธิ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534)

สิญจนา จิระเกียรติ. (2531). การศึกษามหาชาติฉบับเมืองเพชรบุรี กัณฑ์มหาพน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2548). มหาราชคำฉันท์. ใน ชวน เพชรแก้ว (บก.). วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 13. (น. 94-145). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุนีรัตน์ วงศ์พานิช. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คำเรียกชื่อธรรมชาติในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์จุลพนและกัณฑ์มหาพน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสยย์ เกิดเจริญ. (2543). วรรณกรรมมหาพนคำฉันท์ ‘เพชรน้ำหนึ่งของวัดเกาะ’. ใน บุญมี พิบูลย์สมบัติ (บก.). วัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี (น. 129-142). เพชรภูมิการพิมพ์.

อรรถพร ดีที่สุด. (2557). กลวิธีการใช้ภาพพจน์ในกุมารคำฉันท์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 117-132.