การวิเคราะห์แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเรื่องสาเหตุความแตกต่างของมนุษย์ด้วยหลักพันธุศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาวิเคราะห์สาเหตุความแตกต่างของมนุษย์ในแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเถรวาทด้วยหลักพันธุศาสตร์ การศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์คำสอนอื่นในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าคำสอนทางพระพุทธศาสนามีการกล่าวถึงสาเหตุความแตกต่างของมนุษย์ ในขณะที่หลักพันธุศาสตร์ได้ค้นพบว่าความแตกต่างของมนุษย์มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เมื่อนำมาวิเคราะห์แล้วพบว่าแนวคิดสาเหตุความแตกต่างของมนุษย์ทางพระพุทธศาสนาสามารถนำมาอธิบายเชื่อมโยงผสมผสานกับสาเหตุความแตกต่างของมนุษย์ตามที่หลักพันธุศาสตร์ค้นพบจากงานวิจัยได้ โดยมีแนวทางไปในทิศทางที่ไม่ขัดแย้งกับหลักพันธุศาสตร์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ. (2508). ตายแล้วไปไหน. ม.ป.พ.
กิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ. (2561). พันธุศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขุนสรรพกิจโกศล. (2518). คู่มือการศึกษารูปสังคหวิภาค พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 6. ศิวพร.
คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2535). จิตวิทยาทั่วไป. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จีรเดช มโนสร้อย, อรัญญา มโนสร้อย, และ ยงยุทธ โรจนสกุล. (2544). การรักษาในระดับยีน. ม.ป.พ.
ฐาปนวัฒน์ คนหลวง. (2537). ที่มาแห่งชีวิต. พิมการการพิมพ์.
พื้นฐานแห่งกายมนุษย์ (ปรียา กุลละวณิชย์ และคณะ, ผู้แปล). (2541). บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1986).
พระไตรปิฎกฉบับสากล วิถีธรรมจากพุทธปัญญา (พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม, สมหวัง แก้วสุฟอง, นัยนา นาควัชระ, และพจนา จันทรสันติ, ผู้แปล). (2561). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เจ้าหน้าที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ผู้แปล). (2539). มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. สหธรรมิก.
พระอาจารย์วัลลภ ชวนปญฺโญ. (2542). กฎแห่งกรรม. สหธรรมิก.
ไพศาล เหล่าสุวรรณ. (2542). พันธุศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช.
มาร์ก เฮนเดอร์สัน. (2009). 50 ข้อสงสัยในความเป็นคน. (วัลลี สุวจิตตานนท์, ผู้แปล). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2526). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ. สัมฤทธิ์การพิมพ์.
วศิน อินทสระ. (2546). หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด. เรือนธรรม.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พุทธศาสนาเถรวาท. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช, และสรรใจ แสงวิเชียร. (2518). มนุษย์พันธุศาสตร์. กรุงสยามการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2562). เหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท และกรรม. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
อนุทิช ชูอรรถ. (2551). เกิดจากกรรมหรือDNA. เม็กกูรู.
อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี (พระคันธสาราภิวงศ์, ผู้แปล). (2546). ไทยรายวันการพิมพ์.
ฮิโรมิ ชินยะ. (2556). อยู่ร้อยปีไม่มีป่วย (กาญจนา ประสพเนตร, ผู้แปล). สำนักพิมพ์ไลฟ์พลัส. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2005).
โอบจุฬ ตราชู. (22 พฤษภาคม 2562). แต่งงานในเครือญาติ อาจทำลูกเสี่ยง. สมิติเวช. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/แต่งงานในเครือญาติ
Benyamin, B., & Visscher, P. (2014, September 9). Intelligence inheritance–three genes that add to your IQ score. The Conversation. https://theconversation.com/intelligence-inheritance-three-genes-that-add-to-your-iq-score-31397
Galbraith, A. (2016, August 12). Can genetics explain the success of East African distance runners?. The Conversation. https://theconversation.com/can-genetics-explain-the-success-of-east-african-distance-runners-62586
Graves, J. (2014, June 2). Born this way? An evolutionary view of ‘gay genes’. The Conversation. https://theconversation.com/born-this-way-an-evolutionary-view-of-gay-genes-26051
Panda, S. (2018, August 31). Time-restricted eating can overcome the bad effects of faulty genes and unhealthy diet. The Conversation. https://theconversation.com/time-restricted-eating-can-overcome-the-bad-effects-of-faulty-genes-and-unhealthy-diet-102308
Pepper, S. M. (2015, October 9). Explainer: Mother Nature’s answer to our DNA’s infidelity and the discovery of DNA repair. The Conversation. https://theconversation.com/explainer-mother-natures-answer-to-our-dnas-infidelity-and-the-discovery-of-dna-repair-48801
Zadik, D. (2015, June 11). Ancient DNA reveals how Europeans developed light skin and lactose tolerance. The Conversation. https://theconversation.com/ancient-dna-reveals-how-europeans-developed-light-skin-and-lactose-tolerance-43078