สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540 - 2560)

Main Article Content

พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560) โดยรวบรวมบทคัดย่องานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นในการทำวิจัย และงานตีพิมพ์ในรูปแบบงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ช่วง พ.ศ. 2540-2560 ผลการศึกษาพบว่า มีการนำวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางมาวิจัยจำนวน 63 เรื่อง สถาบันที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางมีทั้งหมด 16 สถาบัน โดยสถาบันที่นำวรรณกรรมท้องถิ่นมาวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ การวิจัยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางพบทั้งในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และกลุ่มนักวิจัย สาขาวิชาที่นิยมวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่น คือ สาขาวิชาภาษาไทย ส่วนประเภทของข้อมูลที่นักวิจัยนำมาใช้พบมากในกลุ่มนิทานและศาสนา และกลุ่มบทร้องพื้นบ้าน สำหรับแนวคิดหรือประเด็นในการวิจัยพบการนำแนวคิดวรรณคดีศึกษามาวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมมากที่สุด ตามด้วยแนวคิดคติชนวิทยา นอกจากนั้นก็ใช้ประเด็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การศึกษาเชิงพุทธปรัชญา คุณธรรม จริยธรรม และการศึกษาเชิงสังคม การศึกษาครั้งนี้พบว่า นักวิจัยนิยมวิจัยเชิงเอกสาร ส่วนใหญ่ยังอิงการเพ่งพินิจตัวบทเป็นสำคัญ ดังนั้น ในอนาคต นักวิจัยอาจใช้เครื่องมือในการวิจัยที่หลากหลายมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จีนนุ่น พ. (2021). สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540 - 2560). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 214–237. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.9
บท
บทความวิจัย

References

กมล บุญเขต และคณะ. (2545). ศึกษาชีวประวัติและผลงานวรรณกรรมเพลงพื้นบ้านของตะเหลี่ยม ภาชนะทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561, สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature.

จรินทร์ แทนคุณ. (2542). การสำรวจและศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นจากสมุดไทยของอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จีรนันท์ คงรักษ์. (2558). การศึกษาค่านิยมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทยพวน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เฉิดฉัน ดอกแก้ว. (2543). การวิเคราะห์เนื้อหาของลิเกลูกบท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชยา วาทะพุกกณะ. (2555). การศึกษาอักษรและภาษาจากวรรณกรรมพื้นบ้านชนิดกลอนสวดเรื่องปลาบู่ทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐกานต์ เกาศล. (2545). การเปรียบเทียบนิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ. (2557). วรรณกรรมนิราศเมืองเพชรบุรี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐา ค้ำชู. (2547). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวด เรื่อง มหาชมพูบดีสูตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณีรนุช แมลงภู่. (2552). อนุภาคการให้รางวัลและการลงโทษในนิทานพื้นบ้านไทย: ลักษณะและความหมายเชิงวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย วินัยรัตน์. (2551). การสร้างความหมายภูมิลักษณ์ท้องถิ่นผ่านนิทานพื้นบ้านเรื่องตาม่องล่าย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนา. (2561). สามทศวรรษแห่งวรรณกรรมล้านนาศึกษา (พ.ศ. 2530-2560). สืบค้นจาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.

ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง. (2544). ศึกษาวิเคราะห์มหาชาติกลอนสวด ฉบับวัดกลางวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

น้ำผึ้ง มโนชัยภักดี. (2554). การแสดงลำตัดคณะหวังเต๊ะ: การศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ในดวงตา ปทุมสูติ. (2553). วรรณศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงพื้นบ้านภาคกลาง และภาพสะท้อนวัฒนธรรมพื้นบ้านในกวีนิพนธ์ของศิวกานท์ ปทุมสูติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุญเดิม พันรอบ. (2558). ตำนานท้องถิ่นภาคตะวันออก: ความสัมพันธ์ระหว่างอดีตและปัจจุบัน (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญสนอง สมวงศ์. (2551). การประยุกต์และบูรณาการสุภาษิตจากวรรณกรรมคำสอนของไทยสำหรับบุคคลและสังคม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2561). ถอดบทเรียนวรรณกรรมอีสานศึกษา: มองเส้นทางจากอดีตสู่อนาคต. สืบค้นจาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.

ประจักษ์ สายแสง. (2527). “การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น”. ใน สัมมนาประวัติศาสตร์ สุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์ และสมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู) หน่วยที่ 10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์. (2547). อนุภาคสมพาสที่ผิดธรรมชาติในนิทานไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปิยณัฐ สุนทรประเสริฐ. (2553). เอกลักษณ์ของภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรินทร์ แจ่มจำรูญ และคณะ. (2550). การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในเพลงพื้นบ้าน: กรณีศึกษาชุมชนถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (รายงานผลการวิจัย). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2562). องค์ความรู้และทิศทางการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560) (รายงานผลการวิจัย). พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องสุวรรณเศียร, อ้อมล้อมต่อมคำ และท้าวหัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูมิจิต เรืองเดช. (2551). การวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนของไทย กัมพูชาและลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

มะลิ จรุงเกียรติ. (2549). การศึกษาวรรณกรรมใบเซียมซีของวัดในจังหวัดภาคกลาง (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมทินี รัษฎารักษ์. (2541). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับอีสาน และฉบับภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธพร นาคสุข. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์สุริยยาตรฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนาและฉบับไทลื้อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รวิพิมพ์ สมจิตร์. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวด เรื่อง "นางโภควดี" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชฎา พุฒิประภาส. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องกฤษณาสอนน้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัฐยา สุนทรกะลัมพ์. (2553). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษานิทานพื้นบ้าน 4 ภาค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ราชันย์ เวียงเพิ่ม. (2550). พระคเณศ: ตำนานและพิธีกรรมในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ริสา แก้วจินดา. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานเรื่องปลาบู่ทองฉบับภาคกลางและฉบับภาคอีสาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลาวัณย์ พิมพันธ์ดี. (2540). จริยธรรมในนิทานพื้นบ้านไทย จากการประกวดเล่านิทานพื้นบ้านไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2537 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิรวิชญ์ มุ่งมูล. (2553). การศึกษาเชิงวิเคราะห์นิทานคำกลอนเรื่องพระคาวุต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาดา เปลี่ยนไทย. (2547). ปริศนาคำทายในอินเทอร์เน็ต: การวิเคราะห์เชิงหน้าที่นิยม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วีระวัชร์ ปิ่นเขียน. (2548). วรรณกรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมรในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.

ศุภมน อาภานันท์. (2554). การแสดงลิเกคณะทวีป - ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ: การศึกษาตามนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมใจ พันธุ์ควนิช. (2541). การวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครในวรรณกรรมพื้นบ้านที่สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สยุมพร คล้ายประเสริฐ. (2540). วิเคราะห์คุณธรรม 4 ประการ ในนิทานพื้นบ้านเขตการศึกษา 7 ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2548). ลักษณะเด่นของตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลางของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริกัญญา จันทร์แปลก. (2552). การศึกษาปริศนาคำทายของชาวตำบลนาแซง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุกัญญา สุจฉายา. (2561). วรรณกรรมท้องถิ่น: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. สืบค้นจาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.

สุจิตรา แซ่ลิ้ม. (2549). ความกำกวมอย่างจงใจในปริศนาคำทายร่วมสมัยของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรา บุญปัญญโรจน์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2560). การวิเคราะห์ด้านมืดของตัวละครในนิทาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุชา พิมศักดิ์. (2550). ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์: โครงสร้างเนื้อหาและบทบาทในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2561). สุนทรียะ ศรัทธา และปัญญาไทย: รากฐานและจิตวิญญาณของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. สืบค้นจาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.

อัจฉราวรรณ ชัยมงคล. (2554). นิทานพื้นบ้านของชาวตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

อำมลา กมลมาลย์. (2553). การศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุไรวรรณ สิงห์ทอง. (2556). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรมเสี่ยงทาย: กรณีศึกษาวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.