แนวการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: การสอนแบบ แม่สอนลูก

Main Article Content

สุมนทิพย์ วัฒนา
ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
มยุรี ถาวรพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระการเรียนรู้ แนวการสอน และ  การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนวิชาภาษาไทยระดับสูง ในโครงการจัดการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย เน้นการแปล ไทย-จีน สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์ในชั้นเรียนภาษาไทยระดับสูง และสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบประจำรายวิชา ผลการศึกษา พบว่า 1) รายวิชาภาษาไทยระดับสูงมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ภาษาแบบเจ้าของภาษาและสามารถสื่อสารกับคนไทยได้ตามวัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้กำหนดให้เนื้อหาในบทเรียนสัมพันธ์กับภาษาที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรมไทย จัดเรียงเนื้อหาจากง่ายไปหายาก 2) ด้านแนวการสอนแบบแม่สอนลูก (Mother-Child Teaching Approach) เป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวคิดการสอนภาษาแม่กับการสอนภาษาต่างประเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ ได้แก่ การพูดซ้ำ ๆ การทำบ่อย ๆ การคอยสังเกต การแก้ไข การให้ความรัก การปกป้องด้วยเมตตา และการไม่ทำร้าย เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการสอนและด้านจิตวิทยามารวมกันเพื่อเป็นแนวทางในการสอนภาษาไทยสำหรับ  ชาวต่างประเทศ และ 3) ด้าน การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนจะแบ่งการสอนออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1) การนำเข้าสู่บทเรียน 2) การสอนและกิจกรรมระหว่างเรียน และ 3) สรุปบทเรียน ซึ่งผู้สอนจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามได้ตลอดเวลาที่ทำการสอน ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาแนวทางและวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วัฒนา ส., อึ้งสิทธิพูนพร ศ., & ถาวรพัฒน์ ม. (2020). แนวการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: การสอนแบบ แม่สอนลูก. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(2), 204–233. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.20
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2561). กลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารศิลปศาสตร์, 18(2), 164-178.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2545). สถานภาพการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างประเทศ ในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับเยาวชนไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน ศิริรัตน์ นีละคุปต์ อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ และณัฐมน โรจนกุล (บรรณาธิการ), การจัดการศึกษาแบบทวิภาษา-พหุภาษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (น. 42-77). นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัชดา ลาภใหญ่. (2559). แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาจีนอย่างมีประสิทธิผล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย รังสิต, 12, 37-48.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2561ก). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2561ข). หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(2), 1-13.

วิษณุ วงศ์สินศิริกุล. (2559, 20 พฤษภาคม). One belt one road กับโอกาสของไทย. ประชาชาติ ธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1463636522.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2548). การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, 5, 215-261.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุมนทิพย์ วัฒนา. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและกลวิธีการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาปริญญาตรีชาวจีนในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์. (2554). การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 127-140.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. (2552). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

Anderson, R. C. (1994). Role of the reader's schema in comprehension, learning, and memory. In R. B. Ruddell, M. R. Ruddell, & H. Singer (Eds.). Theoretical models and processes of reading (pp. 469-482). Newark, DE, US: International Reading Association.

Asher, J. J. (1983). Learning another language through actions: the complete teacher's guidebook. Los Gatos, Calif: Sky Oaks Productions.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals. New York: David McKay.

Chimprabha, M. (2015, June 14). Thai the language of choice for Chinese students in Yunnan. The Nation. Retrieved from http://www.nationmultimedia.com/national/Thai-the-language-of-choice-for-Chinesestudents-i-30 262309.html.

Chomsky, N. (1959). Review of Skinner’s Verbal Behavior. Language, 35(1), 26-58.

Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Oxford: Pergamon Press.

Piaget, J. (1976). Piaget’s theory. In B. Inhelder, H. H. Chipman & C. Zwingmann (Eds.), Piaget and his school: A reader in developmental psychology (pp. 11-23). New York: Springer-Verlag.

Skinner, B. F. (1957). Verbal behavior. New York: Appleton-Century-Crofts.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Massachusetts: Harvard University Press.

Yin, H., Ruangkanjanases, A., & Chen, C. (2015). Factors affecting Chinese students' decision making toward Thai universities. International Journal of Information and Education Technology, 5(3), 189-195.

Zhang, H. (2017, September 20). More Chinese students turning to Belt and Road countries. Global Times. Retrieved from http://www.globaltimes.cn/content/1067361.shtml.