การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ การจูงใจตนเอง และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุตำบลเจ็ดริ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

อักษร อยู่วัง
บัวทอง สว่างโสภากุล

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ การจูงใจตนเอง และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุตำบลเจ็ดริ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างการจูงใจตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลเจ็ดริ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 245 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ การจูงใจตนเอง และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง การรับรู้ความ สามารถของตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ การจูงใจตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อยู่วัง อ., & สว่างโสภากุล บ. (2020). การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ การจูงใจตนเอง และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุตำบลเจ็ดริ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(2), 264–281. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.22
บท
บทความวิจัย

References

กัตติกา ธนะขว้าง. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุการวิเคราะห์อภิมาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, สมชาย วิริภิรมย์กูล, ปราณี สุทธิสุคนธ์, และจํารูญ มีขนอน (2554). บทความฟื้นวิชา “คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย”. วารสารควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 37(3), 222-228.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2543). สถานะสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชลธิชา จันทคีรี. (2549). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรม ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิรมล อินทฤทธิ์. (2547). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

บุศรินทร์ พรหมณี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. นนทบุรี: วิกิ.

โสภิดา เมธาวี. (2535). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พุธเมษา หมื่นคําแสน. (2542). ความสามารถในการดูแลตนเองและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุชาวกระเหรี่ยง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ลัชนา สุระรัตน์ชัย. (2552). การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วนิดา คุณกิตติ. (2550). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรรณี ชัชวาลทิพากร. (2542). การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติว่าด้วยผู้สูงอายุสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย วงษ์กระสันต์. (2543). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

สุปรียา ตันสกุล. (2548). ทฤษฎีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์.

อรชร โวทวี. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Bandura, A. (1986). Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1997). Self – efficacy, The exercise of control. New York: W.H. Freeman. and company.

Brook, R. H., J. E. Ware, A. Davies-Avery, A. L. Stewart, C. A. Donald, W. H. Rogers, K. N. Williams, & S. A. Johnston. (1979). “Overview of Adult Health Status Measures Fielded in Rand’s Health Insurance Study.” Medical Care. 17(7), i-131.

Dishman, R. K., W. Ickes, & W. P. Morgan. (1980). Self Motivation and Adherence To Habitual Physical Activity. Journal of Applied Social Psychology, 10(2), 115-132.

Pender, N. J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice (2nd ed.). New York: Appleton Century Crofts.

Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). Stamford, Conn.: Appleton & Lange.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (4th ed.). New Jersey: Upper Saddle River.

Resnick, B. (1999). Motivation To Perform Activity of Daily Living in the Institutionalized Older Adult: Can a Leopard Change Its Sports?. Journal of Advane Nursing.