การศึกษาตัวละครที่มีความรักในนวนิยายเรื่อง Indiana, Valentine, Lélia และ Leone Leoni ของจอร์จ ซองด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาตัวละครที่มีความรักในนวนิยายเรื่อง Indiana (1832) Valentine (1832) Lélia (1833) และ Leone Leoni (1835) ของจอร์จ ซองด์ (George Sand) โดยศึกษา 4 ด้าน คือ การสร้างสรรค์นวนิยาย สภาพแวดล้อมของตัวละคร รูปแบบของความรัก และแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของตัวละคร
จอร์จ ซองด์ มักสะท้อนภาพชีวิตของเธอในนวนิยายเสมอ ตัวละครจำนวนมากคือผู้คนในชีวิตจริงที่แวดล้อมเธอ เธอรู้จักกับอคติ ความไม่เสมอภาคต่าง ๆ ในสังคมตั้งแต่เกิด เนื่องจากพ่อและแม่ของเธอมาจากชนชั้นที่แตกต่างกันมาก จึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากคนรอบข้างย่าและมารดาเป็นผู้ลิขิตชีวิตของเธอตั้งแต่วัยเยาว์ จนกระทั่วเธอแต่งงาน เธอก็พบกับความล้มเหลวในชีวิตสมรสอีก และหลายครั้งที่เธอพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา จอร์จ ซองด์ สะท้อนชีวิตของเธอผ่านตัวละครได้อย่างมีสีสันในนวนิยายทั้ง 4 เรื่องที่ผู้วิจัยศึกษานี้ จอร์จ ซองด์ เน้นถึงความทุกข์ของชายหญิงโดยเฉพาะของผู้หญิงทั้งในชีวิตสมรสและบนเส้นทางรัก ความทุกข์ของตัวละครมาจากสังคมที่ให้ความสำคัญกับเงินและผลประโยชน์มากกว่าสิ่งอื่น เมื่อมิได้แต่งงานด้วยความรัก พวกเขาจึงแสวงหาความรักนอกชีวิตสมรส ความรักที่ผู้วิจัยศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน คือ ความรักที่ไม่มีการตอบสนอง และความรักที่ได้รับการตอบสนอง ความรักในชีวิตสมรสของแอ็งดีอานา (Indiana) วาลองตีน (Valentine) และอาเตนาอีส (Athénaïs) ความรักอย่างลุ่มหลงของแอ็งดีอานาและฌุเลียต (Juliette) ความรักตนเองของเรย์มง (Raymon) และเลโอนี (Leoni) รวมถึงความรักในอุดมคติของเลลีอา (Lélia) และความรักด้วยตัณหาราคะของสเตนีโอ (Sténio) สะท้อนภาพความรักที่ไม่มีการตอบสนอง ส่วนความรักฉันมิตรของแอ็งอีอานากับราล์ฟ (Ralph) หรือของวาลองตีนกับเบเนดิคต์ (Bénédict) และของอาเตนาอีสกับวาลองแต็ง (Valentin) แสดงถึงความรักแบบที่ได้รับการตอบสนอง เพราะแต่ละคู่มีความรักให้ซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม สังคมไม่ยอมรับความรักที่บริสุทธิ์ของคู่รักเหล่านี้ พวกเขาจึงต้องหาทางออกเพื่อหนีจากบรรทัดฐานต่าง ๆ ที่สังคมสร้างขึ้นโดยเลือกที่จะหนีออกนอกกรอบของสังคมด้วยการเนรเทศตนเองออกไปอยู่เพียงลำพังหรือไม่ก็ด้วยความตาย แอ็งดีอานาและราล์ฟเป็นเพียงคู่เดียวที่อยู่กันอย่างมีความสุขไกลจากผู้คน ส่วนคู่วาลองตีนกับเบเนดิคต์และเลลีอากับสเตนีโอประสบกับโศกนาฏกรรมความตาย
จอร์จ ซองด์ สื่อได้อย่างชัดเจนถึงอิทธิพลของค่านิยม บรรทัดฐานต่าง ๆ ในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตตัวละครของเธอ เธอแสดงความเป็นเลิศในงานประพันธ์ได้อย่างลึกซึ้งกินใจ ซึ่งผลงานของเธอยังคงมีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจอร์จ ซองด์ จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่
This study will examine four aspects of the lovers in George Sand’s Indiana (1832), Valentine (1832), Lélia (1833) and Leone Leoni (1835): the creation of the relationships, the environments in which they take place, the types of love that are involved, and the eventual outcomes of the romances.
George Sand reflects her own life in her novels. Her romantic characters are derived from living persons surrounding her. Sand was the victim of social injustice from birth: her parents came from different backgrounds, and throughout her life she was tyrannized over by her mother and grandmother. Her married life proved to be disappointing. Eventually, she tried to solve her problems through suicide. Sand’s novels retrace these elements in various episodes. In the four novels studied here, Sand presents the tragedies of romantic life with emphasis on the sufferings of women in marriage, which she believes originates from a society ruled by the power of money and interest. They seek their true loves outside of their marriages. Love will be studied in two aspects: unrequited love and reciprocal love. The former exists in the cases of Indiana, Juliette, Raymon, Leoni, Lélia, and Sténio. The latter is illustrated in the friendship between Indiana and Ralph, Valentine and Bénédict, and Athénaïs and Valentin. Society is shown by Sand to reinforce the impossibility of love. The amorous characters try to escape from social prejudice by exile and death: Indiana and Ralph are the only couple who live happily in exile from society, whereas the relationships of Valentine-Bénédict and Lélia-Sténio end in tragic deaths.
George Sand creates a powerful emotion when she describes the impacts of social prejudice on her romantic characters. She expresses infinite genius in her novelistic creations. Due to these qualities, Sand has become one of the greatest French writers of the past centuries.