การแปลของทำนองเสียงในประโยคคำถามภาษาไทย

Main Article Content

ธานินทร์ คงอินทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาการแปรของทำนองเสียงในหน่วยคำเสริมท้ายประโยคคำถาม ชนิดต้องการคำตอบรับ/ปฏิเสธเพื่อไต่ถามข้อมูล และเพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยพิจารณาจากสัทลักษณะ 3 ด้าน ได้แก่ ระดับและทิศทางเสียง ความยาว และความดัง ข้อมูลในรูปแบบของการสนทนาได้จากการเก็บรวบรวมโดยใช้กิจกรรมการบอกรายละเอียดแผนที่ภาพจากผู้บอกภาษาเพศหญิงซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่าหน่วยคำเสริมท้ายที่ใช้ในการไต่ถามข้อมูลมีรูปแปร 7 รูปแบบ โดยใช้เกณฑ์ทิศทางเสียงเป็นหลัก ได้แก่ รูปแปรขึ้นต่อเนื่อง รูปแปรตกต่อเนื่อง รูปแปรตกต่อเนื่อง-ขึ้น รูปแปรขึ้นต่อเนื่อง-ตก รูปแปรคงระดับ รูปแปรขึ้น-จบด้วยเสียงคงระดับ และรูปแปรคงระดับ-ขึ้น ส่วนหน่วยคำเสริมท้ายที่ใช้ในการถามเพื่อตรวจสอบข้อมูลพบรูปแปรทั้ง 7 รูปแบบข้างต้น แต่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแปรตก-จบด้วยเสียงคงระดับ และรูปแปรคงระดับ-ตก

The aim of this research is to investigate the intonational variation in yes/no question final particles used for querying and checking in 3 aspects of phonetic features: pitch height and direction, length, and loudness. “Map task” activity is adopted to elicit conversational data from 16 female undergraduates. The 7 variants on pitch direction basis are found in final particle used for querying i.e. continuous rise, continuous fall, continuous fall-rise, continuous rise-fall, level, level-ending rise, and delayed rise. As for final particles used for checking, they also include such 7 variants, bur with other 2 different forms: level-ending fall and delayed fall.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ