การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 3 ของญี่ปุ่น

Main Article Content

วรินทร วูวงศ์

บทคัดย่อ

ญี่ปุ่นได้ทำการปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 3 ครั้ง คือ

1. การปฏิรูปการศึกษาในสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868)

2. การปฏิรูปการศึกษาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

3. การปฏิรูปการศึกษาหลังปี 1980 เป็นต้นมา

การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 3 นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างคนญี่ปุ่นให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ให้ความสำคัญกับความสามารถของแต่ละบุคคลเป็นหลักโดยพยายามไม่เน้นการพัฒนาคนให้เป็นรูปแบบเดียวกันอย่างในอดีต ญี่ปุ่นตระหนักดีว่าถ้าไม่พัฒนาคนให้เป็นในรูปแบบดังกล่าว ญี่ปุ่นจะไม่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ทั้งในเรื่องอุตสาหกรรมและการค้าที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่จากการที่ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำให้ความสำคัญในการผลิต high talent man power ทำให้เกิดบรรยากาศของการแข่งขันทางการศึกษาและส่งผลให้เกิดปัญหาทางการศึกษาต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นเพื่อผ่อนคลายบรรยากาศการแข่งขันและเสริมสร้างคนญี่ปุ่นให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รัฐบาลจึงได้ปฏิรูปหลักสูตรครั้งใหญ่และประกาศใช้ในปี 2002 หลักสูตรดังกล่าวเน้นการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายดังกล่าว แต่หลังจากที่ได้มีการใช้หลักสูตรใหม่มา 1 ปี ปรากฏว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต่างเกิดความกังวลว่าระดับความรู้ของเด็กจะตกต่ำ ผู้ปกครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีจึงส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนแทนซึ่งมีเนื้อหาการเรียนการสอนที่เข้มข้นและมีโอกาสสูงในการเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ซึ่งแนวโน้มการส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนนี้มีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดเป็นปัญหาใหม่ตามมาคือสังคมญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันเกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในรูปแบบใหม่มากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อดูความสามารถทางวิชาการของเด็กญี่ปุ่นในระดับนานาชาติ ปรากฏว่าอยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด หลายฝ่ายจึงจับตามองว่านโยบายการศึกษาแบบผ่อนคลายปี 2002 ที่เน้นการเรียนแบบผ่อนคลายจะเป็นอุปสรรคทำให้ความสามารถทางวิชาการของเด็กญี่ปุ่นตกต่ำลงจริงหรือไม่ หรืออาจจะยิ่งทำให้เด็กญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากยิ่งขึ้นตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้เป็น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป

Japan has reformed her education 3 times:

1. Education Reform during the Meiji era in 1868

2. Education Reform after World War II

3. Education Reform after the year 1980

The aim of the third reform is to enable each individual to develop his or her own characteristics and uniqueness. The reform focuses on developing individuals’ talents and abilities, not developing citizens with similar characteristics, which Japan tried to do in the past. Otherwise, Japan will not be able to compete with other countries in industry and trading, which are getting more competitive. In addition, Japan focused on the importance of producing High Talent Man Power, creating a competitive environtment for the students and causing problems. Therefore, to relax the competitiveness and build a unique Japanese, the government has embarked on a new reform of its curriculum since 2002. Parents are worried that the academic achievement of  their children has been lower since the new curriculum became effective. Parents with high socio-economic background have sent their children to private schools which have more intensive curricula and hence provide a better chance of entering a well-known university. This leads to a new social problem. That is, a new rigid caste structure occurs in Japanese society. Although the academic achievement of Japanese children has been lower, it is relatively higher than that of children in other countries. Therefore, it is questionable and interesting to see whether the new education reform will lead to a downward trend in Japanese children’s academic achievement of yield unique characteristics of their children, as the reform aims at.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ