การส่งเสริมการพำนักระยะยาวของญี่ปุ่น

Main Article Content

ดวงใจ หล่อธนวณิชย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอความเป็นมาของการส่งเสริมการพำนักระยะยาว (long stay visit) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจดี ค่าเงินเยนสูง (ค.ศ. 1986-1989) ที่สร้างทางเลือกใหม่ในการดำเนินชีวิตให้ผู้เกษียณอายุไปพำนักถาวรในต่างแดน จากกระแสคัดค้านโครงการนี้ทั้งในและต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1989 โครงการจึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นไปพำนักระยะยาวแทนการพำนักถาวร เมื่อประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (ค.ศ. 1992) ส่งผลทำให้คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ทำให้วัตถุประสงค์ของการพำนักระยะยาวและนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนไปจากที่เริ่มโครงการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อรัฐบาลประเทศเจ้าบ้านที่คาดหวังรายได้จากการพำนักระยะยาวของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น

This article explores the Japanese government’s project on long stay visit. During the upturn in the economy of Japan (1986-1989), the government encouraged the retired Japanese to live abroad permanently. However, due to reactions against the plan within and outside Japan, the government decide to promote long stay visit as opposed permanent residence. In addition, the recession in 1992 has affected lifestyle of the Japanese, the objective of the project and the expectation of the host countries to make profits from Japanese tourists.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
รายงาน