ขุนช้าง: ตัวละครผู้สร้างอารมณ์ขันในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

Main Article Content

วีรกุล เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งที่จะศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครขุนช้าง จากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนในด้านการสร้างอารมณ์ขันที่ผู้ประพันธ์วรรณคดีนำเสนอผ่านตัวละครขุนช้าง ซึ่งเป็นตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์และยังเป็นตัวละครตลกที่สำคัญของเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์ใช้วิธีการสร้างอารมณ์ขันผ่านตัวละครขุนช้าง 4 ประเภท ได้แก่ 1) การสร้างตัวละครที่น่าขบขัน 2) การใช้สัตว์และสิ่งของมาประกอบให้เกิดความขบขัน 3) การสร้างเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความขบขัน และ 4) การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดความขบขัน ซึ่งการสร้างอารมณ์ขันนี้เองที่ส่งผลให้ขุนช้างเป็นตัวละครที่มีเสน่ห์ แม้ว่าจะเป็นตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังรังเกียจ อีกทั้งยังเป็นตัวละครที่สร้างอรรถรสให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เจริญสุข ว. (2019). ขุนช้าง: ตัวละครผู้สร้างอารมณ์ขันในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 182–198. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.17
บท
บทความวิชาการ

References

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2522). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เจตนา นาควัชระ. (2542). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.

นงลักษณ์ แช่มโชติ. (2521). หาสยรสในวรรณกรรมร้อยกรองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2475 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2508). นามานุกรม ขุนช้าง - ขุนแผน. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2544). อารมณ์ขันในวรรณคดี. วารสารภาษาและหนังสือ, 32, 37-44.

______.(2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ณ เพชร สำนักพิมพ์.

วีณา วุฒิจำนงค์. (2562). กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการจำอวดหน้าจอ. ใน กุสุมา รักษมณี (บรรณาธิการ). ภาษาสรร วรรณกรรมสาร: เนื่องในวาระ 50 ปี ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (น. 103-118). นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2517). คุณค่าเชิงวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุธา ศาสตรี. (2526). โครงสร้างของการเสนอความตลกในบทละครนอก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สุนันท์ จันทร์วิเมลือง, และมิ่งขวัญ ทองพรมราช. (2543). ขุนช้าง: ชายรูปชั่ว-ผู้มั่นรัก. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (2555). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.