การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

Main Article Content

สิรจิตต์ เดชอมรชัย

บทคัดย่อ

กระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เชิงรุก ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่มในรายวิชาภาษาฝรั่งเศสระดับกลาง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสำรวจเจตคติต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศส แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยผู้เรียนและผู้สอน และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน หลังการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีเจตคติต่อ  การเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับดี มีความเห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้น่าสนใจ เป็นประโยชน์ ได้ฝึกฝนการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และการสร้างชิ้นงานร่วมกัน อีกทั้งมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เดชอมรชัย ส. (2019). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 83–101. https://doi.org/10.14456/lartstu.2019.13
บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัทวีพรินท์ (1991).

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.

______. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 260-270.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ลดา กมลศิริธนพงษ์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ ทักษะ และเจตคติการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มาลินี บุณยรัตพันธุ์. (2556). การจัดกิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อุษณีย์ เทพวรชัย. (2543). การเรียนการสอนเชิงรุก. กรุงเทพฯ: บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง.

Ames, C. (1990). Motivation: What teachers need to know. Teachers College Record, 91, 409-421.

Chamberland, G., Lavoie, L., & Marquis, D. (1995). 20 formules pédagogiques. Sainte-Foy: Presses de l’Université du Québec.

Dale, E. (1969). Audio-Visual Materials of Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Lavergne, N. (1996). L’apprentissage coopératif. Québec Français, 103, 26-29.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning. Strategies foe the College classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Prince, M. (2004). Does active learning work? A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-231.

Richards, J. C., & Rodgers, T. (1994). The language teaching matrix. Cambridge: Cambridge University Press.

St-Jean, M. (2001). L’apprentissage actif. Comment des professeurs engagent leurs étudiants dans un apprentissage actif. Bulletin CÉEFES, Université de Montréal, 4, 1-2.

Tudor, I. (1996). Learner-centredness as language education. Cambridge: Cambridge University Press.