การศึกษารูปแบบความรัก บทบาททางเพศ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัชวาล เทียมถนอม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเด็นความรักและพฤติกรรมทางเพศในวัยรุน โดยเฉพาะกับกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี  ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและสุขภาวะในระดับวิกฤติของชาติปัญหาหนึ่ง  แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรักและพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นกลุ่มนี้อยู่ไม่มากนัก  ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี กับตัวแปรรูปแบบความรัก  และบทบาททางเพศ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และตัวทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศจากตัวแปรรูปแบบความรัก  บทบาททางเพศ และการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท

งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน   โดยในเชิงปริมาณใช้วิธีการสำรวจจากเครื่องมือวัดรูปแบบความรัก   (LAS) ของซี เฮนดริกส์ และเอส  เฮนดริกส์ ปี  ค.ศ. 1990  แบบวัดบทบาททางเพศของนักศึกษาไทย (TSRI) ซึ่งพัฒนาจากแบบสอบวัดบทบาททางเพศของเบ็ม ค.ศ. 1974  และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  (SRBQ) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,093 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1)  กลุ่มที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ จำนวน  490  คน เป็นรักต่างเพศที่เป็นชาย  286 คน หญิง  159 คน  และเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ จำนวน  45 คน   2)กลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน จำนวน 603 คน  เป็นรักต่างเพศที่เป็นชาย 184 คน  หญิง  395  คน  และเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ จำนวน 24  คน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความรักและบทบาททางเพศ มีปฏิสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามว่าตนไม่มีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน ในขณะที่นักศึกษาที่มีประสบการณ์ทางเพศพบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์กันและทั้งตัวแปรรูปแบบความรัก   บทบาททางเพศและการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิทร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้  ทั้งในกลุ่มนักศึกษาที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ  และไม่มีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน

Love and sexual behaviors  among adolescents  have increasingly become critical  issues by  bringing social and  health  problems  to Thailand. However,   few studies have  investigated the  relationships  among these  behaviors, especially   in  undergraduate students. Thus,  the two mains objectives  of  this  study  were 1) to  compare the sexual risk behaviors   of  the undergraduate  Thai  students who differ  in  views on  love styles  and  sexual role  and   2)  to identify  the relationships and  the predictors of  sexual risk  behaviors  by love styles,  sexual roles and the perception  of  sexual  risk  behaviors  in  close  friends.

The  study combined both quantitative (a  survey  using LAS  [C.  Hendrick  and  S.  Hendrick, 1990], TSRI  modified from the  Bem sex  role inventory, 1974  and the SRBQ) and qualitative  methodologies (in-depth interviews). The sample consisted  of  1,093 Thai  undergraduate students in  Bangkok,  separated into two  groups-those who  had sexual experience n = 490 (heterosexual males  n = 286, females  n =159, homosexuals n  =45)  and  those  who had  never had  sexual  experience  n   = 603  (heterosexual males n = 184, females  n =395, homosexuals n = 24.)

The  results of study showed that  for  the students  who  reported  themselves as  never   having had sexual  experience  an  interactive was  indicated between love styles and sexual  roles on  sexual risk behaviors,  which  was  not  found in  the  other group. Moreover,  love  styles, sexual roles  and  the perception of  sexual  risk behaviors  in close friends  together  predicted sexual risk behaviors  in both  groups of  students.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ