เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา: วิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้เกี่ยวกับ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ผ่านแนวทางประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ ผลการศึกษาพบว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้คนจากโลกภายนอกมาเป็นเวลาช้านาน หากแต่การเติบโตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในฐานะสหสาขาวิชาและอาณาบริเวณศึกษา กลับเริ่มก่อตัวขึ้นในสมัยสงครามเย็น ซึ่งเป็นไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ดั่งเห็นได้จากการก่อตัวของหลักสูตรทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเป็นจำนวนมากตามมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น พบว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาล้วนได้รับอิทธิพลจากโลกวิชาการตะวันตกมาอย่างเข้มข้นและสืบเนื่อง หากแต่กำลังเริ่มถูกปรับเปลี่ยนลักษณะให้มีความสอดคล้องกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางการเติบโตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาทั้งในสังคมโลกและสังคมไทยต่างกำลังเคลื่อนตัวเข่าสู่รูปแบบของการผสมผสานระหว่างความเป็น “โลกาภิวัฒน์ศึกษา” กับความเป็น “อาณาบริเวณศึกษา” ซึ่งก็นับเป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองกันต่อไปในอนาคต
This paper aims to explore the evolution of “Southeast Asian Studies” though a historical and interdisciplinary approach. The results show that Southeast Asia has long been of interest to outsiders, however, it clearly emerged and developed as an academic specialty during the Cold War Period in order to serve the United States politico-economic interests. An obvious example related to this is the expansion of Southeast Asia Studies Centers and curricula in many leading universities throughout the United State. Interestingly, in the case of Thai society, Southeast Asian Studies has been strongly and continuously and continuously influenced by western academic patterns but its content status has also been modified for the emergence of ASEAN community. Nevertheless, the direction of Southeast Asian Studies both in the global and the Thai context has been gradually changed through the mixing of knowledge from the disciplines of “Global Studies” and “Area Studies”. This transformation will continue to be of interest in the future.