ชาติและชาติพันธุ์: การอ้างความชอบธรรมเหนือชาวมลายูของสยามในศตวรรษที่ 19

Main Article Content

ธนพงศ์ ลือขจรชัย

บทคัดย่อ

สยามใช้แนวคิดในเรื่องชาติในการอธิบายความชอบธรรมและผูกโยงกลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ ในดินแดนเข้าด้วยกัน แนวคิดในเรื่องชาติถูกพัฒนาขึ้นเป็นแนวคิดเรื่องชาติไทย (กลุ่มชาติพันธุ์เดียว) โดยได้ แบ่งกลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์เข้าสู่สามกลุ่มชนชั้นของชาติไทย กลุ่มแรกคือชาวสยามหรือไทยเดิม กลุ่มที่ สองคือชาวลาวหรือไทยใหญ่ และกลุ่มที่สามคือชาวเขมรหรือมลายูที่แต่งงานกับคนไทย แนวคิดนี้ได้ทำให้ทุกคน ที่อยู่ในดินแดนสยามกลายเป็นคนสัญชาติไทยทั้งหมด ก่อนจะมีการรับรองอย่างเป็นทางการในพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2456


สำหรับชาวปัตตานีมลายู โดยทั่วไปสยามเรียกคนมุสลิมว่า “แขก” สยามจึงเรียกชาวมลายูว่า “แขกมลายู” อย่างไรก็ดีสยามเรียกชาวปัตตานีมลายูว่า“แขกตานี” ต่างจากชาวมลายูกลุ่มอื่นๆ และอธิบายว่าชาวปัตตานี มลายูแท้จริงแล้วเป็นแขกปนสยามเพียงแต่มีการปกครองอย่างแขกเท่านั้น ในกรณีนี้ชาวปัตตานีมลายูจะถูกจัด อยู่ในชนชั้นที่สามของชาติไทย ยิ่งไปกว่านั้นคำว่า “แขกปนสยาม” ยังสะท้อนเจตนาที่แท้จริงของสยามที่จะอ้าง ดินแดนและอ้างความชอบธรรมเหนือปัตตานีเป็นพิเศษกว่าดินแดนมลายูอื่นๆ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ลือขจรชัย ธ. (2018). ชาติและชาติพันธุ์: การอ้างความชอบธรรมเหนือชาวมลายูของสยามในศตวรรษที่ 19. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 18(2), 179–192. https://doi.org/10.14456/lartstu.2018.18
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2485). เพลงดนตรีประวัติเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมลายู. กรุงเทพฯ: ยิ้มศรี.

ไกรฤกษ์ นานา. (2553). ไขปริศนาประเด็นอำพรางในประวัติศาสตร์ไทย.กรุงเทพฯ: มติชน.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชวลีย์ ณ ถลาง. (2541). ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2509). นิทานโบราณ. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม. (2516). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมลายูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร่วมกับ สำนักพิมพ์อ่าน.

ธีรยุทธ บุญมี. (2545). ชาตินิยม และหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สายธาร.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2559). เปิดแผนยึดล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2549). แนวคิดชาติบ้านเมือง: กำเนิด พัฒนาการ และอำนาจการเมือง. วารสารธรรมศาสตร์, 27(2), 2-41.

เบน แอนเดอร์สัน. (2557). ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ประชุมพงศาวดารภาคที่ 1 เล่มที่ 1 “พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ”. (2506). กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า.

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (2512). พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานฉลองครบ 84 ปี มกุฎราชวิทยาลัย 1-5 ตุลาคม 2512. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วีระ สมบูรณ์. (2553). รัฐ-ชาติ ชาติพันธุ์ ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยความเป็นชาติ ความเป็นรัฐ และปัญหาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สมมติ.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). สมเด็จกรมดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2555). “แขก” มุสลิม ในความเป็นไทย. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560 จาก http://www.sujitwongthes.com/2012/06/essay11062555/

________. (2559). “แขก” ปัตตานี ถูกกวาดต้อนเข้ากรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.matichonweekly.com/culture/article_10106

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ม.2.114/74, เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จตรวจราชการ หัวเมืองปักษ์ใต้, (7 ธันวาคม ร.ศ.115).

ศุกรีย์ สะเร็ม. (2555). เราเป็นใครในบ้านเรา. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560 จาก http://halal-lifemag.com/sukree-sarem/

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2538). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีฟีน บินจิ, อ. ลออแมน และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล์. (2550). ปาตานี-ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู. สงขลา: มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้.

Brailey, N. (1968). The origins of the siamese forward movement in Western Laos, 1859-1892 (Master’s thesis). University of London.

Hutchinson, J., & Smith, A. (Eds.). (1994). Nationalism. New York, NY: Oxford University Press.

Rentse, A. (1934). History of Kelantan. Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society XII, 12(2), 59-87.

Smith, A. (2004). Ethnic cores and dominant ethnies. In E. P. Kaufmann (Ed.), Rethinking Ethnicity: Majority Groups and Dominant Minorities (pp.15-26). London: Routledge.

Streckfuss, D. (1987). Creating the “Thai”: The emergence of indigenous nationalism in non-colonial Siam, 1850–1980 (Master’s thesis). University of Wisconsin-Madison.