การวิเคราะห์ระบบตัวอักษรเบรลล์ไทย

Main Article Content

วีรชัย อำพรไพบูลย์
วิโรจน์ อรุณมานะกุล

บทคัดย่อ

อักษรเบรลล์ เป็นระบบตัวเขียนที่ใช้สื่อสารในกลุ่มคนตาบอด ประกอบด้วยเซลล์ต่างๆ เรียงต่อกันโดยที่แต่ละเซลล์มีจุดนูนไม่เกิน 6 จุด การปรากฏของจุดในตำแหน่งต่างกันจะใช้แทนอักขระต่างกัน เนื่องจากอักษรเบรลล์ในภาษาอื่นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษได้มีผู้วิเคราะห์ไว้แล้วอย่างเป็นระบบ แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ระบบอักษรเบรลล์ไทย งานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ระบบตัวอักษรเบรลล์ไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับอิทธิพลจากอักษรเบรลล์อังกฤษและอักษรเบรลล์ญี่ปุ่น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สระในเบรลล์ไทยและเบรลล์ญี่ปุ่นมีรูปเหมือนกันและมีเสียงใกล้เคียงกัน 5 รูป ในขณะที่เบรลล์ไทยและเบรลล์อังกฤษมีพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันและมีเสียงคล้ายคลึงกัน 15 รูป รูปเบรลล์เหล่านี้จัดเป็นรูปเบรลล์ไทยพื้นฐานซึ่งสามารถนำไปขยายเป็นอักษรเบรลล์ไทยเพิ่มเติม โดยการปรับเปลี่ยนจุดเบรลล์ภายในเซลล์ หรือการเพิ่มเซลล์ที่มีรูปแบบตายตัวหน้าหรือหลังตัวอักษรฐาน อักษรเบรลล์ส่วนใหญ่ถูกกำหนดขึ้นมาแทนอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กรณีสระหนึ่งเสียงแต่เขียนเป็นรูปซับซ้อนโดยใช้มากกว่าหนึ่งตัวอักษรก็จะถูกแทนด้วยเบรลล์หนึ่งตัวเช่นกัน ส่วนอักขรวิธีในเบรลล์ไทย พบว่ายึดตามการประสมอักษรไทย ยกเว้นกรณีรูปสระซับซ้อนที่จะเขียนเป็นเบรลล์ตัวเดียวหลังพยัญชนะต้น การอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ยังคงยึดหลักไตรยางค์ภาษาไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อำพรไพบูลย์ ว., & อรุณมานะกุล ว. (2017). การวิเคราะห์ระบบตัวอักษรเบรลล์ไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 17(2), 35–58. https://doi.org/10.14456/lartstu.2017.9
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กองพัฒนานักศึกษา. (2555). คู่มือการอ่าน การเขียน และการผลิตเอกสารอักษรเบรลล์ขั้นพื้นฐาน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โยชิโกะ สึโระ. (2545). ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์ 1 ระดับต้น-กลาง. (บัณฑิต ลิมเพชรา, ผู้แปล). สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม.

วลัยนุช ธรรมนิตกุล. (2552). ระบบการแปลเอกสารอักษรเบรลล์สำหรับภาษาไทย-ภาษาอังกฤษเป็นอักษรปกติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2551). ระบบการถอดอักษรสำหรับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ: แนวทางและการพัฒนา. คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมทรง พันธ์ุสุวรรณ. (2538). การอ่าน เขียน และพิมพ์อักษรเบรลล์. กรุงเทพ. จงเจริญการพิมพ์.

อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. (2553). ท่ามือการสะกดนิ้วมือไทยสัมพันธ์กับอักษรไทยอย่างไร?. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 6(1), 34-45.

Caulfied, G. (1960). The Kingdom Within. New York. Harper and Brother.

Englebretson, R. (2009). An Overview of IPA Braille: An Updated Tactile Representation of the International Phonetic Alphabet. Journal of the International Phonetic Associaton, 39(1), 67-86.

Lauenstein, C. (2007). On the Compatibility of the Braille Code and Universal Grammar. Ph.D. Dissertation. Institute of English Linguistics. Stuttgart University.

Petzold, C. (2000). The Hidden Language of Computer Hardware and Software.Washington. Microsoft Press.

Tiengkaddawong, M. & Robertson, L. Mary. (1986). The Thai Braille Writing System.An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies, 3(1), 134-153.

Unger, J. Marshall. (1984). Japanese Braille. Visible Language XVIII (3).