การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างแนวปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ของวัด ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐหทัย นิรัติศัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐชยา กำแพงแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สัญญา สดประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเสริมสร้างแนวปฏิบัติ, สังคมสงเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างแนวปฏิบัติในงานสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม 3. พัฒนารูปแบบในการเสริมสร้างแนวปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยข้อมูลเชิงปริมาณมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 210 รูปสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) โดยการเลือกแบบกำหนดโควต้า (Quota Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และข้อมูลเชิงคุณภาพมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา นักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ นักสังคมสงเคราะห์ และผู้แทนภาคประชาชน จำนวน 20 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในด้านขวัญและกำลังใจ ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ด้านการมีจิตสาธารณะ ด้านเครือข่ายองค์กรชุมชน ด้านองค์กรชุมชน และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2. กระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างแนวปฏิบัติในงานสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนดำเนินงานเพื่อการเป็นช่วยเหลือ ติดตามและประเมินผล ซึ่งแต่เดิมคณะสงฆ์และสถาบันทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีกระบวนการปฏิบัติในการสงเคราะห์ประชาชน เช่น การสร้างสถานพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และการเปิดโรงเรียนเพื่อการกุศลแบบองค์กรทางศาสนาอื่น ๆ 3. รูปแบบการเสริมสร้างแนวปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดนครปฐม สามารถพัฒนาเป็นโมเดล EASAC ดังนี้ 1. สำรวจ 2. กิจกรรม 3. สนับสนุน 4. การช่วยเหลือ และ 5. ทุน

References

ประทุม อังกูรโรหิต. (2562). สถาบันทางพระพุทธศาสนากับงานสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18(3), 31-68.

พระครูสมุห์ไพทูรย์ สิริภทฺโท และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 149-159.

พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ (อาทิตย์ อธิปญฺโญ) และปุระวิชญ์ วันตา. (2561). การเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม และคณะ. (2565). ศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 25-34.

พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี และศศิวิมล แรงสิงห์. (2562). บทบาทและความสำคัญของวัดมิ่งเมืองมูล : ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 151-164.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 2821-2841.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม. (2546, 1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอน 94 ก. หน้า 6.

พระวีระศักดิ์ ชยธมโม. (2558). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ 7: กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล สุราษฎร์ธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 98-114.

พศิน สินมา. (2565). การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 28(1), 1-12.

พิรญาณ์ แสงปัญญา. (2565). บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2564. ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้น 15 กันยายน 2564 ,จาก https://shorturl.asia/gYrWq

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14

How to Cite

ชินพุทฺธิสิริ พ. ., นิรัติศัย ณ. ., กำแพงแก้ว ณ. ., ผาทอง เ. ., & สดประเสริฐ ส. . (2024). การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างแนวปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ของวัด ในจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 348–361. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/282957