รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสมุห์ประจิรักษ์ มหาปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, ทรัพย์สินของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. สังเคราะห์นโยบายและกลยุทธ์ในการจัดการทรัพย์สินของวัดในประเทศไทย 2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักจัดการทรัพย์สินพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 3. พัฒนาระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลทรัพย์สินของวัดในประเทศไทย 4. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัย 4 ประเภท คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายสำคัญในการจัดการทรัพย์สินของวัดประกอบด้วย การกำหนดมาตรการการบันทึกและตรวจสอบการเงินอย่างโปร่งใส การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การจัดตั้งคณะกรรมการวัดเพื่อบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการ โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 8 ประการ 2. มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักจัดการทรัพย์สินพระพุทธศาสนา ในด้านกฎหมาย การบริหาร และความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยพัฒนาการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดให้เป็นระบบและมีมาตรฐาน 3. ระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลทรัพย์สินของวัดที่พัฒนาขึ้นมีระบบย่อย 3 โมดูล โดยมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก และความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4. รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในประเทศไทยควรเป็นการผสมผสานระหว่างหลักพุทธธรรม หลักกฎหมายคณะสงฆ์และบ้านเมือง และหลักการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยมีคณะสงฆ์ ภาครัฐ และประชาสังคมร่วมมือกัน ภายใต้แนวปฏิบัติในการจัดการการเงิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ศาสนสมบัติ และการหารายได้ที่ชัดเจน

References

ณดา จันทร์สม. (2555). การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระครูสุนทรวัชรกิจ (บุญธรรม ธมฺมิโก). (2557). กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีรณัฏฐ์ ยาทิพย์ และกรรณิการ์ จะกอ. (2554). การจัดทำบัญชีของพระอารามหลวงในเขตพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. (2556). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-28

How to Cite

ฉัตรช่อฟ้า อ., (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) พ., พุทฺธิสาโร พ., & มหาปญฺโญ พ. (2024). รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 362–373. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/282492